พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัตให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อ พาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง จำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันกรณีดัดแปลงอาคารและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกำหนดระยะเวลาการกระทำความผิดที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองและมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเองจำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 นอกจากนี้การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย ดังนั้น โทษที่จำเลยกระทำจึงมีระวางโทษปรับรายวันวันละไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และไม่เกิน 120,000 บาท สำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร
การลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
การลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารทับแนวเขตผังเมือง-ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน-การปรับรายวัน-ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 417 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ให้ใช้บังคับมีกำหนดอีกห้าปี โดยให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลป่าตอง ฯลฯ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ ได้กำหนดบริเวณซึ่งเป็นถนนโครงการสาย ง.6 ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2532) เปลี่ยนเป็นถนนโครงการประเภทแนวถนนเสนอแนะแบบ ค แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าถนนดังกล่าวเริ่มต้นที่จุดใด ผ่านบริเวณใดบ้าง และจุดสิ้นสุดอยู่บริเวณใด กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะก่อสร้าง หรือขยายเขตทางเมื่อใด อันเป็นการแตกต่างไปจากถนนโครงการสาย ง.6 ซึ่งได้ระบุ รายละเอียดว่าถนนสาย ง.6 กำหนดให้ขยายเขตทางและถนนโครงการกำหนดให้ก่อสร้างใหม่เริ่มต้นจากถนนทวีวงศ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนเดิมจนบรรจบกับถนน 200 ปี ดังนี้ เจตนารมณ์ของการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 417 ส่วนที่เกี่ยวกับถนนโครงการสาย ง.6 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 จึงเปลี่ยนไป เป็นเหตุให้การปลูกสร้างอาคารในแนวถนนโครงการประเภทแนวถนนเสนอแนะแบบ ค ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรกและ 83 วรรคแรก ถือได้ว่าตามบทบัญญัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 417 ที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
เหตุที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 67 ไม่มีผลใช้บังคับแล้วนั้นคงมีผลให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 83 วรรคแรก เท่านั้น หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ เพราะ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ เป็นเรื่องที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร อันเป็นคำสั่งที่ออกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะในขณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้น จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารต่อไปได้เพราะก่อสร้าง ทับแนวถนนผังเมืองสาย ง.6 อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 และกฎกระทรวงฉบับที่ 222 (พ.ศ. 2538) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกำลังก่อสร้างอาคารดังกล่าว เป็นกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการสั่งให้จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและบริวารระงับการกระทำดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (1) การที่อาคารของจำเลยก่อสร้างทับแนวถนนผังเมือง จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ในขณะนั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 และ 66 ทวิ
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ก่อนก่อสร้างอาคารจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออก ใบรับแจ้งให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงจะสามารถเริ่มต้นดำเนินการก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยยังมิได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคแรก หาอาจยกเอาเรื่องที่ทางเทศบาลตำบลป่าตองแนะนำให้จำเลยก่อสร้างอาคารไปก่อนมาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตัวเอง พ้นผิดได้ไม่
การปรับจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารเป็นรายวัน ย่อมปรับได้ ตลอดเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยทำการก่อสร้างอาคารต่อไปจนกระทั่งจำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จ หลังจากที่จำเลย ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก
เหตุที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 67 ไม่มีผลใช้บังคับแล้วนั้นคงมีผลให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 83 วรรคแรก เท่านั้น หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ เพราะ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ เป็นเรื่องที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร อันเป็นคำสั่งที่ออกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะในขณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้น จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารต่อไปได้เพราะก่อสร้าง ทับแนวถนนผังเมืองสาย ง.6 อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 และกฎกระทรวงฉบับที่ 222 (พ.ศ. 2538) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกำลังก่อสร้างอาคารดังกล่าว เป็นกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการสั่งให้จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและบริวารระงับการกระทำดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (1) การที่อาคารของจำเลยก่อสร้างทับแนวถนนผังเมือง จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ในขณะนั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 และ 66 ทวิ
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ก่อนก่อสร้างอาคารจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออก ใบรับแจ้งให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงจะสามารถเริ่มต้นดำเนินการก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยยังมิได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคแรก หาอาจยกเอาเรื่องที่ทางเทศบาลตำบลป่าตองแนะนำให้จำเลยก่อสร้างอาคารไปก่อนมาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตัวเอง พ้นผิดได้ไม่
การปรับจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารเป็นรายวัน ย่อมปรับได้ ตลอดเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยทำการก่อสร้างอาคารต่อไปจนกระทั่งจำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จ หลังจากที่จำเลย ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ลาป่วยเท็จและฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลยืนยันสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
กรณีที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยขอหยุดงานรวม 90 วันนั้น เหตุแห่งการลาป่วยเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในขณะที่โจทก์ยื่นใบลา จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงอนุญาตให้โจทก์หยุดงานไปตามนั้น แต่ต่อมาเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถทำงานตามปกติ และโจทก์หยุดงานไปเพื่อทำธุรกิจส่วนตัวอันเป็นการหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและแจ้งลาป่วยเท็จ ส่วนเหตุเลิกจ้างซึ่งจำเลยได้ออกหนังสือสั่งให้โจทก์ไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงาน อันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลังจากจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยและอยู่ในระหว่างลาหยุดงานเป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกับข้อเท็จจริงในเหตุเลิกจ้างที่จำเลยถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและแจ้งลาป่วยเท็จ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยเหตุของการเลิกจ้างทั้งสองประการดังกล่าวนี้ จึงมิได้ขัดแย้งกัน
หลังจากจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยและหยุดงานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์มิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รายงานตัวกลับเข้าทำงานในตำแหน่งใหม่นั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งดังกล่าวให้โจทก์ทราบและถือปฏิบัติ แสดงว่าเหตุแห่งการลาป่วยที่จำเลยอนุญาตนั้นได้สิ้นไปแล้วและเป็นการยกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาหยุดงานไปในตัว จำเลยหาจำต้องระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่ายกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยไม่ เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์มารายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงาน โจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติทั้ง ๆ ที่จำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหลายครั้ง เป็นการที่จำเลยจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประเด็นที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หลังจากจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยและหยุดงานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์มิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รายงานตัวกลับเข้าทำงานในตำแหน่งใหม่นั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งดังกล่าวให้โจทก์ทราบและถือปฏิบัติ แสดงว่าเหตุแห่งการลาป่วยที่จำเลยอนุญาตนั้นได้สิ้นไปแล้วและเป็นการยกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาหยุดงานไปในตัว จำเลยหาจำต้องระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่ายกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยไม่ เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์มารายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงาน โจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติทั้ง ๆ ที่จำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหลายครั้ง เป็นการที่จำเลยจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประเด็นที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดกฎหมาย, ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน, และอายุความความผิดฐานก่อสร้างผิดแบบ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาต แต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีกและจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ.มาปรับใช้ตามนัยแห่ง ป.อ.มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาทจำเลยอุทธณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาทย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาต แต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีกและจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ.มาปรับใช้ตามนัยแห่ง ป.อ.มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาทจำเลยอุทธณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาทย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคารและการกำหนดโทษปรับรายวันภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร รวมถึงประเด็นอายุความ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่านาตามกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินเพื่อทำนาแล้วไม่ชำระค่าเช่านาในปี2527ถึงปี2530อ. ผู้รับมอบอำนาจผู้ให้เช่านาแจ้งบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและคชก.ตำบลแล้วตามสัญญาเช่านานั้นมีกำหนดเวลาเช่าถึงวันที่31มีนาคม2533จึงเป็นการบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาคชก.ตำบลได้ประชุมและมีมติให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไปอ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคชก.จังหวัดคชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติให้จำเลยเช่าทีนาถึงวันที่31มีนาคม2533ซึ่งสิ้นสุดตามกฎหมายโดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้างมติดังกล่าวเป็นมติที่ได้วินิจฉัยในเรื่องการบอกเลิกการเช่านาและเรื่องให้จำเลยออกจากที่นาที่เช่าด้วยมติของที่ประชุมเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของคู่กรณีดังกล่าวจำเลยเข้าร่วมประชุมและลงชื่อในบันทึกท้ายมติที่ประชุมได้ทราบเรื่องที่ประชุมตลอดจนมติที่ประชุมโดยตลอดแล้วแต่จำเลยไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมติดังกล่าวย่อมถึงที่สุดจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยผู้ให้เช่านาไม่จำต้องบอกเลิกการเช่านาอีกเมื่อครบกำหนดวันที่31มีนาคม2533จำเลยยังทำนาในที่นาที่เช่าอยู่ต่อมาเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคชก.จังหวัดที่ให้จำเลยออกจากนาโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ศาลพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิดและกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
การสอบสวนดำเนินคดีนิติบุคคลจำต้องสอบสวนผ่านทางกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 แม้ไม่ได้ระบุแจ้งชัดว่าได้แจ้งข้อหาและสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ด้วยก็ถือว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว เมื่อจำเลยทำการดัดแปลงอาคารหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22มิใช่เป็นความผิดตามมาตรา 31 ที่เป็นเรื่องการดัดแปลงภายในระยะเวลาตามใบอนุญาต แต่กระทำผิดไปจากแบบรายการที่ได้รับอนุญาต แม้แบบคำสั่งท้ายกฎกระทรวงจะกำหนดให้มีคำว่า "ตราส่วนราชการ"ไว้ และคำสั่งที่เจ้าพนักงานใช้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสองไม่ปรากฏตราส่วนราชการแต่คำสั่งดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนทุกรายการให้จำเลยทั้งสองทราบและเข้าใจคำสั่งแล้ว จึงไม่ทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากคำวินิจฉัยขัดแย้งกันในประเด็นการฝ่าฝืนคำสั่ง และส่งให้พิจารณาใหม่
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาท ข้อ 1 ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่แล้วได้วินิจฉัยในตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วแต่วินิจฉัยในตอนต่อมาว่าการขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณเป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลย คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน จึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ศาลฎีกาจะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายจึงชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือ จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22, 65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง, 67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1 (ข) และ (ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร ตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม 22 วันและเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท. 9009/5082แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16 สิงหาคม 2534ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไร เชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น เชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1 (ข) และ (ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร ตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม 22 วันและเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท. 9009/5082แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16 สิงหาคม 2534ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไร เชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น เชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม