คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานตรวจแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10277-10288/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค่าจ้างควบคู่กับการร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: โจทก์เลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งได้เท่านั้น
โจทก์ทั้งสิบสองคนยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ แม้ไม่ได้ร้องเรียนเรื่องค่าจ้างโดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยจะต้องพิพาทกันด้วยเงินค่าจ้างในระหว่างวันเวลาที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำงาน จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด และประสงค์ให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลย ซึ่งมีมูลคดีสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากเลิกจ้าง: ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือฟ้องศาลแรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตาม มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 123 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 บทบัญญัติตามมาตรา 123 ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือ จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น
โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆ ที่พึงได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิทางกฎหมายแรงงาน: ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือฟ้องศาลแรงงาน - เลือกได้ทางเดียว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียวจะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี อันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แล้ว ถือว่าโจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อปรากฏว่าระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของโจทก์ โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้ไปยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ดังกล่าว
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่เป็นคำสั่ง นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำเตือน
พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนให้นายจ้างจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 77 ซึ่งคำเตือน ดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงมีผลเป็นคำเตือนตามประกาศดังกล่าว ข้อ 77 และใช้บังคับได้ต่อไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166 ทั้งคำเตือนดังกล่าวมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม แต่มีผลเพียงเป็นการชี้แนะเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ถ้านายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้โดยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 146 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนและลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ทั้งนายจ้างมิได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานหรืออธิบดีกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานเป็นจำเลย นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานและขอให้ สั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นเงื่อนไขสำคัญ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทนายจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นนายจ้างไม่พอใจคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แล้วเป็นฝ่ายนำคดีมาฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ก็จะต้องนำเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งของจำเลยมาวางศาล แต่โจทก์ไม่นำเงินมาวางต่อศาลแรงงานภายในเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกฟ้องคดีแรงงาน: ลูกจ้างต้องเลือกระหว่างฟ้องศาลแรงงานหรือร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ไม่สามารถทำทั้งสองอย่างพร้อมกันได้
กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องร้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเสียก่อน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งตาม มาตรา 124 แล้ว หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งจึงนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้ศาลแรงงานพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว กล่าวคือจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็เท่ากับสละสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไปแล้วอยู่ในตัว
การที่ลูกจ้างยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงาน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างที่ค้างพร้อมดอกเบี้ย ถือว่าลูกจ้างเลือกใช้สิทธิที่จะฟ้องต่อศาลแรงงาน ลูกจ้างจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 แล้ว การที่ลูกจ้างได้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอีก ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงาน เพื่อขอให้โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน ไว้แล้วและค่าจ้างในเดือนถัดมาต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับค่าจ้างค้างจ่ายที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องของลูกจ้าง แม้ต่อมาลูกจ้างจะถอนฟ้องคดีไปจากศาล ก็ไม่ทำให้พนักงานตรวจแรงงานกลับมีอำนาจพิจารณาคำร้องนั้นขึ้นมาอีก คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างฟ้องคดีแรงงานแล้ว ไม่อาจยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานในประเด็นเดียวกันได้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็เท่ากับสละสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอยู่ในตัว
การที่ ณ. ลูกจ้างยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างที่ค้างถือว่า ณ. เลือกใช้สิทธิที่จะฟ้องต่อศาลแรงงาน จึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 แล้วเมื่อต่อมา ณ. ได้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอีกในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อขอให้โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วและค่าจ้างในเดือนถัดมาต่อเนื่องกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานตรวจแรงงานจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องของณ. แม้ต่อมา ณ. จะได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าว ก็ไม่ทำให้พนักงานตรวจแรงงานกลับมีอำนาจพิจารณาคำร้องนั้นขึ้นมาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนนายจ้าง: เป็นเพียงการแนะนำ ไม่ใช่คำสั่งทางกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 77 มีความว่า เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจออกคำเตือนให้นายจ้างที่กระทำการฝ่าฝืนนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มิใช่คำสั่งทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 77มีความว่า เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามพนักงานตรวจแรงงาน มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจออกคำเตือนให้นายจ้างที่กระทำการฝ่าฝืนนั้น ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: วางเฉพาะส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่งกำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานจะต้องพิจารณาสั่งคำฟ้องโจทก์ตามรูปคดี
of 6