พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอพิสูจน์สัญชาติไทยตาม พ.ร.ก.คนเข้าเมือง ต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน
เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้พิจารณาและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนมีสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน: การกำหนดคุณสมบัติและการบรรยายฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุ กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขต หรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ. เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ. จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
น. เป็นเพียงปลัดอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่ง ตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชนก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ออกตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ไม่ ดังนั้น น. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยไปยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ น. ซึ่งมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 นายอำเภอมีคำสั่งแต่ง ตั้งให้ น. ปลัดอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชนแทนนายอำเภอ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถือได้ว่ามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งได้จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ มาตรา 267.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานเจ้าหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กำหนดให้เฉพาะแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นเพียงปลัดอำเภอและมิได้เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน อ. ก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวไม่อ. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 แต่การที่อ. ทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่า อ. มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.และอ. จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน, ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, อำนาจฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว5 ราย โดยจำเลยทำสัญญาค้ำประกันเป็นรายฉบับรวม 5 ฉบับ สำหรับลูกประกันแต่ละรายหากจำเลยผิดสัญญายอมให้ปรับรายละ 20,000 บาท ทุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ แม้จะปรับรวมกันมา ก็ถือว่ากำหนดค่าปรับภายในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับไม่เกินฉบับละ 20,000 บาท คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดยใช้ชื่อตำแหน่งของตนได้
จำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่า หากผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งย่อมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 20,000 บาท จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายมิได้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดยใช้ชื่อตำแหน่งของตนได้
จำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่า หากผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งย่อมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 20,000 บาท จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียมก่อน จึงมีสิทธิขอให้ศาลพิจารณา
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57 ได้บัญญัติถึงขั้นตอนของการร้องขอพิสูจน์การมีสัญชาติไทยไว้ว่า ผู้ที่จะขอพิสูจน์ว่าตนมีสัญชาติไทย จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อนต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งประการใดแล้ว ผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะร้องขอให้ศาลพิจารณาก็ได้ ผู้ร้องซึ่งประสงค์จะขอพิสูจน์สัญชาติไทย จึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวเสียก่อน เมื่อผู้ร้องไม่เคยยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียม ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนมีสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน จึงจะสามารถขอให้ศาลพิจารณาได้
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57 ได้บัญญัติถึงขั้นตอนของการร้องขอพิสูจน์การมีสัญชาติไทยไว้ว่า ผู้ที่จะขอพิสูจน์ว่าตนมีสัญชาติไทย จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อนต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งประการใดแล้วผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะร้องขอให้ศาลพิจารณาก็ได้ผู้ร้องซึ่งประสงค์จะขอพิสูจน์สัญชาติไทย จึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวเสียก่อนเมื่อผู้ร้องไม่เคยยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียมผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนมีสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกักตัวคนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 33,38 หาได้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไม่เมื่อคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตพนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ย่อมมีอำนาจฝากกักคนต่างด้าวนั้นไว้ที่สถานีตำรวจภูธรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรม
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย เพราะตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่5) พ.ศ. 2518 มาตรา 19 นั้น การตั้งโรงงานแปรรูปไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้เสมอไป มิฉะนั้นถือเป็นความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เพียงแต่มีการตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ แม้ยังมิได้แปรรูปไม้ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว โรงงานแปรรูปไม้ที่ตั้งขึ้นจะใช้แปรรูปไม้หวงห้ามหรือมิใช่ไม้หวงห้ามจึงไม่เป็นข้อสำคัญ สำหรับ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน 2515 ข้อ 6 นั้น เป็นข้อยกเว้นเฉพาะกรณีการแปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองเท่านั้น ส่วนการตั้งโรงงานแปรรูปไม้หาได้อยู่ในข่ายข้อยกเว้นตามบทมาตราดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีโรงเรือน: การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และการปฏิบัติตามขั้นตอนไต่สวน
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ส. พนักงานเทศบาลสามัญชั้นโทดำรงตำแหน่งพนักงานประเมินภาษีโทและต่อมาโจทก์มีคำสั่งอีกฉบับหนึ่งแต่งตั้งให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานประเมินภาษีโทเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษี เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่า ส. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีตามบทบัญญัติ มาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ส. จึงมีอำนาจที่จะประเมินภาษีโรงเรือนและแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีจากจำเลยได้และเมื่อ ส. ได้ไต่สวนตรวจตราก่อนทำการประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา24 โดยการไปตรวจดูบ้านทั้งสองหลังของจำเลยที่ทำเป็นหอพักและสอบถามจำนวนห้องกับอัตราค่าเช่าพร้อมทั้งมีหนังสือสอบถามไปทางกรมประชาสงเคราะห์ด้วยแล้วจึงทำการประเมินและส่งใบแจ้งการประเมินไปยังจำเลยการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย