คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พรรคการเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนพรรคการเมือง: การแก้ไขภาพเครื่องหมายพรรคขัดต่อ พ.ร.บ.ธงฯ หรือไม่ และการร้องซ้ำ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การขอเปลี่ยนภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองหลังจากนายทะเบียนสั่งรับแจ้งหนังสือเชิญชวนแล้ว ไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 กำหนดให้นำคดีขึ้นสู่ศาลได้คณะผู้เริ่มจัดตั้งพรรคปฏิวัติไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยได้ พิพากษายกคำร้อง คดีนี้ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ผู้คัดค้านไม่ยอมรับจดทะเบียนให้อ้างว่าพรรคปฏิวัติมิได้แก้ไขภาพเครื่องหมายพรรคที่มีลักษณะประดิษฐ์ภาพบนแถบสีธงชาติ อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่า การไม่ยอมรับจดทะเบียนพรรคปฏิวัติเป็นไปโดยมิชอบกรณีไม่เป็นร้องซ้ำเพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าภาพเครื่องหมายพรรคปฏิวัติมีลักษณะประดิษฐ์ภาพลงบนแถบธงชาติหรือไม่ ทั้งเหตุที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องคดีหลังเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่
เครื่องหมายพรรคการเมืองของผู้ร้อง เป็นรูปวงกลม 2 วงซ้อนกันโดยวงกลมเล็กอยู่ภายในวงกลมใหญ่ พื้นระหว่างเส้นรอบวงกลมใหญ่กับวงกลมเล็กเป็นสีขาว มีชื่อพรรคปฏิวัติกับข้อความอุดมการณ์ของพรรคลงไว้ ส่วนภายในวงกลมเล็กพื้นส่วนใหญ่ตอนบนเป็นสีฟ้าพื้นตอนล่างเป็นสีเขียวแสดงเป็นผืนนา มีรูปธรรมจักรทับด้วยพานรัฐธรรมนูญอยู่กลางวงกลมเล็กมีแถบสีธงชาติลอยอยู่ข้างรูปธรรมจักรข้างละอันแถบสีธงชาติแต่ละชิ้นโค้งขนานกับวงล้อของธรรมจักรและขนานกับเส้นรอบวงของวงกลมเล็ก ส่วนบนของแถบสีธงชาติแต่ละชิ้นสูงกว่ารูปธรรมจักรเล็กน้อยและส่วนล่างก็ต่ำลงไปกว่ารูปธรรมจักรเล็กน้อย รูปธรรมจักรและแถบสีธงชาติอยู่ในส่วนที่พื้นเป็นสีฟ้า พานรัฐธรรมนูญและซี่ธรรมจักรเป็นสีเหลือง พื้นระหว่างซี่ธรรมจักรเป็นสีขาว ลักษณะเครื่องหมายดังกล่าวของพรรคการเมืองผู้ร้องเป็นการประดิษฐ์รูปธรรมจักรทับด้วยพานรัฐธรรมนูญอยู่ในกรอบสีฟ้าในแถบสีธงชาติต้องห้ามตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมของพรรคการเมืองในคดีเลือกตั้ง: พรรคการเมืองไม่มีสิทธิฟ้องเองได้
พรรคการเมืองสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรไม่ได้ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องร้องของพรรคการเมืองในคดีเลือกตั้ง: พรรคการเมืองไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
พรรคการเมืองสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรไม่ได้ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องเจาะจงตัวบุคคลชัดเจน การกล่าวถึงพรรคการเมืองรวมไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามกฏหมายนั้นถ้อยคำที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยฉะเพาะ
กล่าวความว่า คำโฆษณาของพวกและพรรคประชาธิปัตย์เป็นการหลอกลวงราษฎรให้หลงเชื่อ ดังนี้ แม้โจทก์จะแสดงได้ว่า โจทก์เป็นพรรคประชาธิปัตย์ด้วยคนหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาทเพราะถ้อยคำนั้นมิได้มุ่งหมายถึงโจทก์โดยเฉพาะ
ฟ้องรัฐมนตรีหาว่าใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางทุจจริตและผิด พ.ร.บ.การเลือกตั้งโดยออกคำสั่งกล่าวถึงการกระทำของคณะประชาธิปัตย์บางคนกระทำการไม่ชอบต่างๆ แต่มิได้เจาะจงตัวผู้ใดนั้น ไม่ถือว่าเป็นการเจาะจงตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใดในคณะประชาธิปัตย์ ฉนั้นคนหนึ่งคนใดในคณะนั้น จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องเจาะจงตัวบุคคล คำกล่าวทั่วไปถึงพรรคการเมืองไม่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทต่อสมาชิก
การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามกฎหมายนั้นถ้อยคำที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
กล่าวความว่า คำโฆษณาของพวกและพรรคประชาธิปัตย์เป็นการหลอกลวงราษฎรให้หลงเชื่อ ดังนี้ แม้โจทก์จะแสดงได้ว่าโจทก์เป็นพรรคประชาธิปัตย์ด้วยคนหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาทเพราะถ้อยคำนั้นมิได้มุ่งหมายถึงโจทก์โดยเฉพาะ
ฟ้องรัฐมนตรีหาว่าใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางทุจริตและผิดพระราชบัญญัติการเลือกตั้งโดยออกคำสั่งกล่าวถึงการกระทำของคณะประชาธิปัตย์บางคนกระทำการไม่ชอบต่างๆ แต่มิได้เจาะจงตัวผู้ใดนั้นไม่ถือว่าเป็นการเจาะจงตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใดในคณะประชาธิปัตย์ ฉะนั้นคนหนึ่งคนใดในคณะนั้น จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15232/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ เอื้อประโยชน์พรรคการเมือง คดีถึงที่สุด ศาลฎีกายืนโทษ
คณะกรรมการการเลือกตั้งถูกจัดตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ให้มีหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเป็นองค์กรที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน หากไม่สามารถควบคุมหรือจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมแล้วจะบังเกิดผลทำให้บุคคลที่ไม่สุจริตโกงการเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ย่อมคาดหมายได้ว่าบุคคลจำพวกนี้จะใช้อำนาจหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องยิ่งกว่าประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม อันทำให้ระบบการปกครองที่เรียกว่าประชาธิปไตยผิดเพี้ยนไป ความเสียหายย่อมตกแก่ประชาชน หรือรัฐซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน อันถือเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24 จึงได้บัญญัติเป็นข้อห้ามของกรรมการการเลือกตั้งว่า ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือกระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ และมาตรา 42 บัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่กรรมการการเลือกตั้งผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ไว้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ได้ยื่นคำร้องกล่าวโทษต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามกฎหมาย เพราะก่อนวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค ท. หรือผู้บริหารพรรค ท. กระทำการโดยไม่สุจริตด้วยการจ้างวานหรือใช้ให้พรรค พ. และพรรค ผ. จัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งต่าง ๆ หลายเขตหลายจังหวัดในประเทศเพื่อแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค ท. ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตดังกล่าวนั้น โดยผู้บริหารของพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งปลอมทะเบียนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นเอกสารราชการเก็บรักษาอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยการแก้ไขฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ด้วยการลบชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งที่แท้จริงออกไปแล้วใส่ชื่อผู้ที่จะจัดให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค พ. และพรรค ผ. แทน เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค พ. และพรรค ผ. มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งทำการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าพรรค พ. และพรรค ผ. ได้รับเงินสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของพรรค ท. เพื่อดำเนินการแก้ไขข้อมูลในทะเบียนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและจัดส่งสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 จริง สมควรแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งพันตำรวจโท ท. รักษาการนายกรัฐมนตรีและในฐานะหัวหน้าพรรค ท. จำเลยทั้งสี่กลับดำเนินการบางส่วนแก่พรรค พ. และพรรค ผ. แต่เพิกเฉยไม่ดำเนินการแก่พรรค ท. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวประวิงเวลาเพื่อช่วยเหลือพรรค ท. อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการปฏิบัติต่อโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 136 ถึง มาตรา 148 กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และให้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งอื่น ทั้งมาตรา 147 แห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้กำหนดไว้ด้วยว่า หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ฯลฯ ผู้ใดได้กระทำการโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไปอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงโดยพลันแล้ว เมื่อได้ผลการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องวินิจฉัยสั่งการโดยพลันด้วย การที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกตั้งแต่แรกแล้วว่า พลเอก ธ. รองหัวหน้าพรรค ท. และ พ. รองเลขาธิการพรรค ท. ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อันแสดงให้เห็นได้ว่าคนทั้งสองเป็นกรรมการบริหารของพรรค ท. ที่มีบทบาทสูงจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ คนทั้งสองได้กระทำการอันฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาในเรื่องของการสนับสนุนให้มีการปลอมแปลงเอกสารราชการด้วย แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กลับมิได้วินิจฉัยสั่งการให้ดำเนินคดีแก่คนทั้งสองโดยพลันทั้งนี้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ทราบดีอยู่แล้วว่าการดำเนินคดีแก่พลเอก ธ. และ พ. ย่อมส่งผลกระทบต่อพรรค ท. อย่างรุนแรง เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองย่อมมีหน้าที่แจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรค ท. ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 66 (1) และ (3) การประชุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพื่อพิจารณารายงานการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี น. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2549 และลงมติในส่วนที่เกี่ยวกับพรรค ท. ว่าให้คณะอนุกรรมการฯ สอบสวนพยานเพิ่มเติมจึงมิได้เป็นการวินิจฉัยสั่งการโดยพลันเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณแก่พรรค ท. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก มิได้กระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยรับราชการในตำแหน่งสำคัญและทำคุณความดี ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมายขณะดำรงตำแหน่งหรือในระยะต่อมาจนได้รับการสรรหาและคัดเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับการเชื่อถือว่าเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์โดยผลงาน ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สร้างสมไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่อันสำคัญ ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องดำรงความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นกลางทางการเมืองให้มั่นคงที่สุด แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับกระทำการในลักษณะตรงกันข้าม วินิจฉัยสั่งการโดยมิชอบด้วยหน้าที่เป็นคุณแก่พรรค ท. อันเป็นพรรครัฐบาล อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและคุณธรรม เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมละทิ้งคุณความดี คุณประโยชน์ของตนที่มีมาก่อนจนหมดสิ้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ควรยกคุณความดี คุณประโยชน์ที่เคยทำมากล่าวอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตนได้อีก แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ละคนจะมีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว และมีสุขภาพไม่ดีก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายพรรคการเมืองทำให้กรรมการสาขาพรรคไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 3 (1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น บัญญัติว่า "ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการสาขาพรรคการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้าดำรงตำแหน่งและภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง แต่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดของจำเลยบัญญัติว่า "ให้หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมืองยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพร้อมสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่เข้ารับตำแหน่ง วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ หรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมาในวันยื่นให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง" ดังนั้น ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรรมการสาขาพรรคการเมืองไม่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนตามกฎหมายอีกต่อไป แม้จำเลยซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคการเมืองจะไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป และจำเลยผู้กระทำการนั้นย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินสนับสนุนพรรคการเมือง, ความรับผิดของกรรมการบริหารพรรค, และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
เงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองนั้นเป็นเงินที่มอบให้แก่พรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีสิทธิได้รับนำไปใช้ในการพัฒนาพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงินซึ่งหากใช้ไปโดยชอบและสามารถแสดงหลักฐานการใช้จ่ายต่อโจทก์ทั้งสองได้ พรรคการเมืองนั้นก็ไม่ต้องคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองแก่กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองแต่อย่างใด แต่หากเป็นการใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองก็มีสิทธิเรียกคืนเงินในส่วนที่ใช้ไปโดยไม่ชอบคืนส่งเข้ากองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองได้ สิทธิในการเรียกคืนจึงเกิดมีขึ้นเมื่อมีการใช้เงินโดยมิชอบหรือเมื่อพรรคการเมืองนั้นถูกยุบแล้วแต่กรณี ซึ่งในส่วนเงินสนับสนุนของพรรค ด. ประจำปี 2557 นั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกคืนเงินในส่วนที่ใช้ไปโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 84 ก็ตาม แต่สิทธิในการเรียกคืนเงินดังกล่าวซึ่งเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ โจทก์ชอบที่จะทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ชำระหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ไม่ชำระจึงจะตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์ทั้งสองตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง (เดิม) เมื่อโจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ให้คืนเงินและส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่คืนเงิน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดคือวันถัดจากวันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 นั้น ได้ความจากคำฟ้องและจากหนังสือฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2557 ที่โจทก์ที่ 2 มีไปถึงพรรค ด. ว่า โจทก์ที่ 2 อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 82 ในการทวงถามให้พรรค ด. ส่งมอบเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ซึ่งตามมาตรา 82 บัญญัติให้นำความในมาตรา 42 วรรคสอง ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมาใช้บังคับกับกรณีการฝ่าฝืนมาตรา 82 โดยอนุโลม ต่อมาเมื่อพรรค ด. ไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 42 วรรคสอง ดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรค ด. หลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. เมื่อเป็นกรณีที่พรรค ด. ถูกยุบเพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 82 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ความรับผิดในการคืนเงินสนับสนุนของพรรค ด. จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 85 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาใช้บังคับ ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ด. อยู่ในช่วงปี 2556 จะต้องร่วมรับผิดกับพรรค ด. อย่างลูกหนี้ร่วมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่พรรค ด. ได้รับเงินไปจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. โจทก์ทั้งสองอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติมาตรา 85 ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. คืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่พรรค ด. ได้รับไป เมื่อปี 2556 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ไม่ชำระ โจทก์ทั้งสองก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และที่ 11 ถึงที่ 17 ในฐานะทายาท ท. รับผิดชำระดอกเบี้ยในช่วงเวลาตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. จนถึงวันก่อนวันฟ้องได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 ตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ยื่นคำแก้ฎีกาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับศาลล่างทั้งสอง ซึ่งจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 2