พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงซื้อขายก่อนมีพระราชกฤษฎีกา ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401 โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่-แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษและพระราชบัญญัติล้างมลทิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539มาตรา6(3)ประกาศใช้บังคับมีผลให้จำเลยที่1ซึ่งได้รับพักการลงโทษเพื่อคุมประพฤติให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปและต่อมามีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539มาตรา4ประกาศใช้บังคับมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92,93ไม่ได้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล การนำพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายมาใช้โดยมิชอบ
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) ที่บัญญัติให้เงินได้จากการขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิตหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 80 เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในการคำนวณเงินได้ของบุคคลธรรมดา ไม่ใช่กับการคำนวณเงินได้ของนิติบุคคล ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดในประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้นำมาใช้ในการคำนวณเงินได้ของนิติบุคคล และพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวก็เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณค่าใช้จ่ายที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพึงหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ มิใช่เพื่อกำหนดรายได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงนำมาใช้บังคับกับกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยอนุโลมไม่ได้ เพราะการคำนวณหาเงินได้ของนิติบุคคลจะต้องเป็นไปตามมาตรา 65,65 ทวิและ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในส่วนที่กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มีต้นทุนขายร้อยละ 80 โดยนำพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาตรา 8(25) มาใช้บังคับโดยอนุโลมจึงไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะต้องดำเนินการตรวจสอบตามเอกสารหลักฐานทางบัญชีที่โจทก์นำมามอบให้ตรวจสอบ หากไม่เป็นการเพียงพอที่จะตรวจสอบหาเงินได้ของโจทก์ได้ตามมาตรา 65,65 ทวิ และ 65 ตรี แล้วจึงจะใช้วิธีการประเมินตามมาตรา 71(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเวนคืนที่ดินเป็นโมฆะเมื่อทำหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกาและสถานะเจ้าหน้าที่
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร-ลาดพร้าว(บริเวณโรงซ่อมบำรุง)กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่1กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานครตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่พ.ศ.2530ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่953/2534สิ้นสุดลงไปด้วยและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งจำเลยทั้งสองทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้วจึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา10วรรคหนึ่งย่อมไม่มีผลใช้บังคับการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2535มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5777/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เวนคืนเป็นโมฆะเมื่อทำหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกา และเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษฯตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา10วรรคหนึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อขณะทำสัญญาดังกล่าวพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯซึ่งกำหนดให้จำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนได้สิ้นผลบังคับแล้วเพราะหมดอายุฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวย่อมสิ้นผลไปด้วยสัญญาซื้อขายนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การพิจารณาตามสภาพการใช้ประโยชน์ แม้ไม่มีการขึ้นทะเบียนหรือพระราชกฤษฎีกากำหนด
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดสกลนครที่ 2106/2523ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2523 ที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ว่าถ้ามีการเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วจะมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ก็ตาม แต่ต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดสกลนครเป็นคำขอหลัก ส่วนที่โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นผลที่ได้ตามมา จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ประชาชนในหมู่บ้านสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการใช้เลี้ยงสัตว์ ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304
การที่จะพิจารณาว่า ที่ดินแปลงใดเป็นที่สาธารณะหรือไม่ ต้องพิจารณาตามสภาพของที่ดินและการใช้ที่ดินแปลงนั้นว่า เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 หรือไม่ หากโดยสภาพของที่ดินเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แม้ทางราชการจะมิได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นที่หวงห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2497 แล้ว และแม้ทางราชการจะมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ ก็หาทำให้ที่ดินซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่แล้วกลับไม่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ไปได้ไม่
ที่ดินที่ประชาชนในหมู่บ้านสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการใช้เลี้ยงสัตว์ ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304
การที่จะพิจารณาว่า ที่ดินแปลงใดเป็นที่สาธารณะหรือไม่ ต้องพิจารณาตามสภาพของที่ดินและการใช้ที่ดินแปลงนั้นว่า เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 หรือไม่ หากโดยสภาพของที่ดินเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แม้ทางราชการจะมิได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นที่หวงห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2497 แล้ว และแม้ทางราชการจะมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ ก็หาทำให้ที่ดินซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่แล้วกลับไม่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ไปได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายภาษีแผ่นลูกฟูก: การตีความและขอบเขตการจัดเก็บภาษีตามพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่54)พ.ศ.2517เดิมนั้นกำหนดว่าสินค้าตามบัญชีที่1หมวด8(9)ได้แก่"กระดาษทุกชนิดรวมทั้งกระดาษแข็งนอกจากกระดาษ คราฟทและกระดาษ คราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกไม่ว่าจะปิดด้วยแผ่นเรียบหรือไม่ก็ตาม"ส่วนสินค้าตามบัญชีที่3หมวด5(2)เดิมได้แก่"กระดาษคาร์บอนเครื่องใช้เครื่องประดับของเล่นของใช้ใดๆเฉพาะที่ผลิตจากกระดาษทุกชนิดรวมทั้งกระดาษแข็งและหรือกระดาษ คราฟท หรือกระดาษ คราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกไม่ว่าจะปิดด้วยแผ่นเรียบหรือไม่ก็ตามที่ผู้ผลิตมิใช่เป็นผู้ผลิตสินค้าตามหมวด8(9)ของบัญชีที่1ทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักร"จะเห็นได้ว่าก่อนใช้พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่156)พ.ศ.2528แผ่นลูกฟูกอยู่ในบัญชี3หมวด5(2)ไม่จัดอยู่ในบัญชี1หมวด8(9) แต่เมื่อได้ใช้พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่156)พ.ศ.2528ระบุสินค้าในบัญชีที่1หมวด8(9)คือ"กระดาษทุกชนิดรวมทั้งกระดาษแข็งนอกจากกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์"ไม่มีข้อความว่านอกจากกระดาษ คราฟทหรือกระดาษ คราฟทที่ทำเป็นแผ่นลูกฟูกแสดงว่าที่เคยยกเว้นว่าไม่อยู่ในบัญชี1หมวด8(9)แต่ให้อยู่ในบัญชี3หมวด5(2)นั้นเป็นอันยกเลิกไปกล่าวคือกฎหมายต้องการให้แผ่นลูกฟูกเสียภาษีอย่างเดียวกันกับสินค้าในบัญชี1หมวด8(9)เมื่อกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับภาษีในปี2529จึงต้องใช้พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่156)พ.ศ.2528พิจารณา การตีความคำว่า"กระดาษ"โดยใช้ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานความหมายตามทางวิชาการหรือที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมจะนำมาใช้กับกรณีอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีอากรที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามกฎหมายและประกาศคณะปฏิวัติ โดยพิจารณาจากวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 2 บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในวันที่ 19สิงหาคม 2530 โจทก์จึงไม่สามารถอ้างเอาหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทได้ ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ฯพ.ศ.2526 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับ ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงนี้ ได้บัญญัติในข้อ 76 (2) ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯพ.ศ.2517 ใช้บังคับ วันที่ 29 พฤษภาคม 2517 ดังนั้นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจึงต้องถือราคาในวันที่ 29 พฤษภาคม 2517
โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯ พ.ศ.2517 ประกาศใช้แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้
โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯ พ.ศ.2517 ประกาศใช้แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืน และประกาศคณะปฏิวัติ โดยอ้างอิงราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา2บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปและราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในวันที่19สิงหาคม2530โจทก์จึงไม่สามารถอ้างเอาหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทได้ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงนี้ได้บัญญัติในข้อ76(2)ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นใช้บังคับเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ใช้บังคับวันที่29พฤษภาคม2517ดังนั้นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจึงต้องถือราคาในวันที่29พฤษภาคม2517 โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ประกาศใช้แล้วไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ. 2527 มาตรา 5 ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา 5 นี้ เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืน แม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น เป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ นั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใด จึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯ ใช้บังคับประมาณ 3 เดือน อันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ