คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พระราชบัญญัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงไม่ใช่เจตนาจัดหางาน ผู้กระทำจึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดดังฟ้องเพราะขาดองค์ประกอบอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยจึงยกขึ้นฎีกาได้ กรณีจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528มาตรา30วรรคหนึ่งนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศแต่ตามฟ้องคดีนี้โจทก์บรรยายว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยจะได้รับค่าจ้างคนละ40,000บาทต่อเดือนซึ่งผู้เสียหายทั้งหกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้จำเลยซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้จากคำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งหกคงมีแต่เจตนาหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกเพื่อที่จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการจากผู้เสียหายทั้งหกเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประเภทอื่นที่ไม่ได้รับการควบคุมตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ผู้เช่าจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
จำเลยเช่าที่ดินทำสวนส้ม เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น ต้องนำมาตรา 63แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาใช้บังคับ เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบการเกษตรกรรมประเภทอื่น จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรตาม พรบ.เช่าที่ดินฯ เหนือกว่าสิทธิผู้ซื้อที่ดินเมื่อผู้ขายแจ้งความจำนงขาย
โจทก์ทราบแล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแม้สัญญาดังกล่าวจะมีข้อตกลงให้จำเลยจัดการให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินพิพาทให้เรียบร้อยก่อนวันโอนกรรมสิทธิ์แต่เมื่อจำเลยแจ้งแก่ผู้เช่าที่ดินพิพาทว่าจะขายที่ดินพิพาทผู้เช่าที่ดินก็แสดงความจำนงจะขอซื้อที่ดินพิพาทย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา53โดยมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์จึงไม่เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์แต่เมื่อโจทก์เองก็มิได้ผิดสัญญาด้วยจำเลยจึงต้องคืนมัดจำให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าบ้านร่วมเล่นพนัน ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าบ้านตาม พ.ร.บ.การพนัน
จำเลยที่18เป็นเจ้าบ้านและเข้าเล่นการพนันไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่18จัดให้มีการเล่นพนันจำเลยที่18จึงมีความผิดฐานเป็นผู้เล่นเท่านั้นการเป็นเจ้าบ้านแต่เพียงอย่างเดียวไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติการพนันฯ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่18ฐานเป็นเจ้าบ้านโดยไม่ชอบแม้จำเลยที่18จะมิได้ฎีกาในปัญญาหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่านาต้องรอคำวินิจฉัย คชก.จังหวัดก่อนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
โจทก์เป็นผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โจทก์อ้างว่าจำเลยที่4ได้บอกเลิกการเช่าโดยมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงร้องเรียนต่อคชก.ตำบลดอนแฝก หลังจากคชก.ตำบลดอนแฝกมีคำวินิจฉัยแล้วโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคชก.จังหวัดนครปฐมโจทก์ต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา57คือให้คชก.จังหวัดนครปฐมมีคำวินิจฉัยก่อนหลังจากคชก.จังหวัดนครปฐมแล้วโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงนำคดีฟ้องร้องต่อศาลได้เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร: การพิจารณาประเภทพืชไร่ตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 21 บัญญัติว่า "ทำนา" หมายความว่าการเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ "พืชไร่" หมายความว่าพืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายในสิบสองเดือน เมื่อจำเลยเช่า ที่ดินทำสวนปลูกฝรั่ง พันธุ์เวียตนาม มะม่วง และมะพร้าวโดยส่วนใหญ่ ปลูกฝรั่ง พันธุ์เวียตนามซึ่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ฉะนั้น แม้ฝรั่ง พันธุ์เวียตนามจะเก็บเกี่ยวผลครั้งแรกได้ภายใน 8 เดือน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพืชไร่ ส่วนมะม่วง มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนนานไม่เป็นพืชไร่เช่นกัน จึงไม่เป็นการเช่าที่ดินที่ได้รับ ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2424

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า พ.ร.บ.เวนคืนไม่มีผลบังคับใช้ ศาลเห็นว่าคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำขอท้ายคำฟ้อง โจทก์บรรยายประสงค์จะให้ศาลพิพากษาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลลี้อำเภอลี้จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2533 เฉพาะที่เวนคืนที่ดินโจทก์ ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายคำฟ้องไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิที่จะเวนคืนที่ดินนั้น เป็นคำขอที่บทกฎหมายดังกล่าว มิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ก็ให้อำนาจเฉพาะบุคคลที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้นที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามคำบรรยายคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ สิทธิของผู้เช่าในการซื้อคืน
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาท พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อคชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน 15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่รู้ว่า พ. โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนใช้บังคับ มิใช่แค่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 1 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติถึงขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 17 มีใจความโดยย่อดังนี้ คือ มาตรา 5 เมื่อรัฐต้องการจะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืน จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ มาตรา 6 บัญญัติว่าข้อความใดบ้างจะต้องระบุในพระราชกฤษฎีกา มาตรา 7 กำหนดให้ปิดประกาศสำเนาพระราชกฤษฎีกาในที่ต่าง ๆ มาตรา 9 เมื่อใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแล้วให้เจ้าหน้าที่สำรวจเพื่อทราบ "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน" แล้วตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และหากจะมีการซื้อขายก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 10ถึงมาตรา 14 ขั้นตอนต่อไปบัญญัติในมาตรา 15 ว่า เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยให้ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีแผนที่หรือแผนผังด้วย และในที่สุดบัญญัติถึงการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 16 ว่า "ให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ" ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนยังไม่มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆตามมาตรา 15 แล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจึงจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับแต่ในกรณีนี้เพียงแต่ปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวางเขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เท่านั้นยังไม่ปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทตามมาตรา 15แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แต่อย่างใด ขณะขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่ ยังไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ การขายทอดตลาดไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด ไม่อาจจะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อกู้ยืมเงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิม
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยขอกู้ยืมเงินผู้เสียหาย โดยจำเลยออกเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายจึงเอาเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมอบให้จำเลย แสดงให้เห็นว่า ก่อนจำเลยออกเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหายนั้นจำเลยกับผู้เสียหายมิได้มีหนี้ต่อกัน การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
of 8