คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิกัดอัตราอากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้า: อีแวปอเรเตอร์เป็นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เครื่องจักร
การใช้อีแวปอเรเตอร์ที่โจทก์นำเข้ามาในคดีนี้เป็นการนำเอา อีแวปอเรเตอร์เข้าประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรับอากาศที่ติด รถยนต์ทีเดียวจึงเป็นการใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ ถือว่าเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามความใน พิกัดประเภทที่ 84.14 ข. ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเครื่องจักร ตามพิกัดประเภทที่84.17 และการนำเข้าซึ่งส่วนประกอบของ เครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15 ข.ตอนท้ายหาต้องเป็นการ นำเข้าครบชุดไม่
คำว่า เครื่องจักรตามความในหมายเหตุหมวด 16 ข้อ 7นั้นใช้เฉพาะ แก่ข้อความในหมายเหตุเท่านั้นหาได้มีความหมายว่าสินค้าตาม พิกัดประเภทที่ 84.01 ถึง 84.65ทุกชนิด เป็นเครื่องจักรตาม พิกัดประเภทหนึ่ง 84.17 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับเครื่องอีวาปอเรเตอร์: ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องจักร?
โจทก์สั่งเครื่องอีวาปอเรเตอร์เข้ามาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศรถยนต์โดยเฉพาะ หาได้นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของ เครื่องทำความเย็นแต่ประการใดไม่ แม้เครื่องอีวาปอเรเตอร์มีส่วนประกอบของชิ้นส่วนต่าง ๆ ครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเองก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร และเครื่องอีวาปอเรเตอร์โดยลำพังไม่สามารถทำให้เกิดความเย็นขึ้นได้ ทั้งไม่อาจใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จึงมิใช่เป็นเครื่องจักรที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 84.17 ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศอันจะต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 84.15ข.
โจทก์จะอ้างเอาการที่โจทก์เคยสั่งสินค้าเครื่องอีวาปอเรเตอร์เข้ามาและจำเลยเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์อันเป็นการไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายมาเป็นข้อให้จำเลยยึดถือปฏิบัติหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับเครื่องอีวาปอเรเตอร์: ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศไม่ใช่เครื่องจักร
โจทก์สั่งเครื่องอีวาปอเรเตอร์เข้ามาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของ เครื่องปรับอากาศรถยนต์โดยเฉพาะ หาได้นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของ เครื่องทำความเย็นแต่ประการใดไม่แม้ เครื่องอีวาปอเรเตอร์มีส่วนประกอบ ของชิ้นส่วนต่างๆครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเองก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรและเครื่องอีวาปอเรเตอร์ โดยลำพังไม่สามารถทำให้เกิดความเย็นขึ้นได้ ทั้งไม่อาจใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงมิใช่เป็นเครื่องจักร ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศอันจะต้องเสียอากรขาเข้า ในพิกัดประเภทที่84.15ข.
โจทก์จะอ้างเอาการที่โจทก์เคยสั่งสินค้าเครื่องอีวาปอเรเตอร์เข้ามา และจำเลยเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์อันเป็นการไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย มาเป็นข้อให้จำเลยยึดถือปฏิบัติหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้า: ทีวีแมสค์เป็นส่วนประกอบของตู้โทรทัศน์ ทำให้ต้องเสียอากรตามอัตราที่สูงกว่า
ทีวีแมสค์ที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและชำระภาษีอากรไว้แล้วนั้นมีลักษณะเป็นกรอบใช้ปิดช่องโหว่ระหว่างตู้โทรทัศน์ด้านหน้ากับหลอดภาพโทรทัศน์มีน๊อตขันติดกับตู้โทรทัศน์เพื่อกันมิให้หลุด ทั้งยังเป็นเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ดูหรือผู้ใช้โทรทัศน์เช่นเดียวกับฝาตู้โทรทัศน์ทุกด้าน จึงเป็นส่วนประกอบของตู้โทรทัศน์อันจะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 85.15ข.(4)(ก)ร้อยละ 50
การฟ้องคดีเรียกเงินภาษีอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิดแห่งของและอัตราอากรขาเข้ามีอายุความ 10 ปี ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องให้อธิบดีกรมศุลกากรบันทึกความเห็นถึงเหตุที่จะฟ้องคดีเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 102 อีก เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จะฟ้องผู้กระทำผิดในทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับ 'ทีวี แมสค์' และอายุความการฟ้องเรียกภาษีอากรค้างชำระ
ทีวีแมสค์ที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและชำระภาษีอากรไว้แล้วนั้นมีลักษณะเป็นกรอบใช้ปิดช่องโหว่ระหว่างตู้โทรทัศน์ด้านหน้ากับหลอดภาพโทรทัศน์มีน๊อตขันติดกับตู้โทรทัศน์เพื่อกันมิให้หลุดทั้งยังเป็นเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ดูหรือผู้ใช้โทรทัศน์เช่นเดียวกับฝาตู้โทรทัศน์ทุกด้าน จึงเป็นส่วนประกอบของตู้โทรทัศน์อันจะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 85.15ข.(4)(ก)ร้อยละ 50
การฟ้องคดีเรียกเงินภาษีอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิดแห่งของและอัตราอากรขาเข้ามีอายุความ 10 ปี ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องให้อธิบดีกรมศุลกากรบันทึกความเห็นถึงเหตุที่จะฟ้องคดีเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 102 อีก เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จะฟ้องผู้กระทำผิดในทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิกัดอัตราอากรศุลกากรและผลกระทบต่อภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามบทพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร การเสียค่าภาษีให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้" มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสําหรับของที่นําเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นําของเข้าสําเร็จ" วรรคสอง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 87 และมาตรา 88 การคํานวณค่าภาษีให้ถือตามสภาพของ ราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีเกิดขึ้น..." และ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการตีความพิกัดศุลกากรว่า "การตีความให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ ประกอบกับคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ซึ่งทำเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2493 และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515" เห็นว่า สินค้าพิพาทประกอบด้วยเส้นลวดกลมพันเป็นเกลียว มีชั้นพลาสติกคลุมด้านนอก และมีท่อพลาสติกด้านในตรงตามคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ตอนที่ 83.07 ดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 เคยพิจารณาว่าท่อชิ้นนอก (ลวดเหล็กม้วนวนเป็นเกลียว) หรือ Outer Spring นำมาผลิตเป็นสายคลัตซ์รถยนต์ จัดเข้าประเภทพิกัด 8307.10.00 ซึ่งโจทก์นำสืบโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถามค้านหรือนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า Outer Spring มีโครงสร้างคล้ายกับ Outer Shield หรือสินค้าพิพาท แต่ชั้นที่ 2 ชั้นกลางจะเป็นลวดเหล็กทับแบนม้วนวนเป็นเกลียวและ Outer Spring จะทำแรงดึงและดันได้น้อยกว่า Outer Shield หรือสินค้าพิพาทที่มีเส้นลวดเหล็กทรงกลมหลายเส้นพันรอบหลอดที่เป็นพลาสติก ดังนั้น ลักษณะของสินค้าที่พิพาทกันเรื่องอากรขาเข้าคดีนี้ จึงตรงกับลักษณะลวดที่ขดเป็นเกลียวแน่น และมีลักษณะการใช้งานไม่ต่างกับสินค้าที่จำเลยที่ 1 เคยวินิจฉัยว่าจัดเข้าประเภทพิกัด 8307.10.00 นอกจากนี้ศุลกากรของประเทศอื่นซึ่งใช้กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์เช่นเดียวกับประเทศไทย ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซียและสหราชอาณาจักรเคยวินิจฉัยสินค้าชนิดเดียวกับสินค้าพิพาทว่าเป็นประเภทพิกัด 8307.10.00 ประกอบกับเมื่อสินค้าพิพาทเป็นของผสมหรือของรวมที่มีวัตถุหรือสารนั้นรวมอยู่กับวัตถุหรือสารอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ข้อ 2 (ข) ซึ่งระบุให้จำแนกประเภทของของที่ประกอบด้วยวัตถุหรือสารมากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไปให้จำแนกตามหลักเกณฑ์ ข้อ 3 โดยข้อ 3 (ก) ระบุว่า "ถ้าประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะและประเภทอื่นระบุไว้อย่างกว้างๆ ให้จัดของนั้นเข้าประเภทที่ระบุไว้โดยเฉพาะ..." เห็นว่า สินค้าพิพาทเป็นท่อพลาสติกที่มีเส้นลวดเหล็กพันรอบ และมีพลาสติกอยู่ชั้นนอกสุดจึงถือเป็นหลอดหรือท่อที่อ่อนงอได้ ทำด้วยโลหะสามัญ ตามประเภทพิกัด 83.07 โดยเข้าประเภทพิกัดย่อย 8307.10 ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า และเป็นกรณีที่ประเภทพิกัดศุลกากรได้ระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะแล้วตามข้อ 3 (ก) อนึ่ง เนื่องจากคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียอากรขาเข้าลดลง ย่อมส่งผลให้ฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 30 จะบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 บัญญัติว่า "ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าทุกประเภท ได้แก่ มูลค่าสินค้าของสินค้านำเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ตามที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ..." เมื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยมูลค่าของฐานภาษีคือราคาสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้าที่โต้แย้งกันในคดีนี้ว่าเป็นอากรเท่าใดเพื่อใช้เป็นฐานภาษี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ประกาศแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป สังกัดจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 16 และจำเลยที่ 1 ใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร เป็นผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าว และ ป.รัษฎากร มาตรา 83/10 บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) สำหรับสินค้าที่นำเข้า ให้กรมศุลกากรเรียกเก็บเพื่อกรมสรรพากร ..." ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีคำพิพากษาวินิจฉัยในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรอันมีผลให้อากรขาเข้าลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีความรับผิดตามการประเมินของจำเลยที่ 1 ก็ต้องลดลงไปโดยผลของกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับพิกัดอัตราอากรศุลกากรซึ่งเป็นผลให้กระทบจำนวนเงินที่ต้องนำมารวมกับมูลค่าของเพื่อเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว กรณีนี้จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรอีก ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามการประเมินได้รวมอากรขาเข้าที่ไม่ถูกต้องและโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินอากรขาเข้าแล้วศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 26
of 2