พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลก่อนมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาการทางจิตขณะกระทำความผิด: จำเลยต้องยกเหตุในศาลชั้นต้นจึงจะได้รับการพิจารณา
ปัญหาว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเหตุว่ามีอาการทางจิตในขณะกระทำความผิดขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาปรับแก่ข้อกฎหมายได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณา และการปิดหมายแจ้งคำฟ้องโดยไม่มีพยาน
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ไปอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่ทราบว่าถูกฟ้อง ถือไม่ได้ว่าจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยการปิดหมายที่ไม่มีพยานรู้เห็นเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การปิดหมายตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการปิดหมาย
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยการปิดหมายที่ไม่มีพยานรู้เห็นเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การปิดหมายตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการปิดหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอพิจารณาคำร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาหลังอุทธรณ์คำสั่งศาลแล้ว ถือเป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่งไปแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว จำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้าแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทุกประเด็น โจทก์อุทธรณ์แล้วห้ามตัดสิทธิการพิจารณา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาต ยกฟ้องฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครองเพื่อจำหน่ายอีกฐานหนึ่งด้วย ศาลชั้นต้นได้สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยขึ้นมายังศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาตตามอุทธรณ์ของจำเลยเท่านั้น โดยฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์ไม่อุทธรณ์ จึงเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ และการนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นไต่สวน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ม. ถึง 250 หุ้น หุ้นละ 1,000 บาท จึงมีเงินพอเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ได้ มิได้ยากจนจริงจึงยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ใหม่ โดยจะนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. อีกต่อไป กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องในกรณีนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นชอบตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ และการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งในกรณีนี้ไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ต้องคืนเงิน 200 บาท แก่จำเลย
เมื่อหนังสือรับรองของบริษัทและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ซึ่งไม่มีชื่อจำเลยเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่จำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นนายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย กรณีจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาล ส่อเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดี พฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมอีก
เมื่อหนังสือรับรองของบริษัทและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ซึ่งไม่มีชื่อจำเลยเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่จำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นนายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย กรณีจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาล ส่อเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดี พฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7877/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: การขาดนัดพิจารณาและการดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลต้องออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 193 และถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว และพิพากษาโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) โดยศาลอาจพิพากษาในวันนัดพิจารณานั่นเอง หรืออาจเลื่อนคดีไปพิพากษาในวันอื่นก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยาก โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่าการกระทำเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ โดยพิจารณาจากสภาพจิตใจและเหตุการณ์ขณะกระทำความผิด
หลังจากที่จำเลยกับผู้เสียหายโต้เถียงกันแล้ว ผู้เสียหายกลับไปบ้านพักจำเลยกลัวว่าผู้เสียหายจะไปนำอาวุธปืนมายิงตน จำเลยจึงกลับไปนำเอาอาวุธปืนที่บ้านตน เมื่อกลับมาที่บ้านผู้ตาย จำเลยเห็นบริเวณเอวของผู้เสียหายมีสิ่งของซึ่งเชื่อว่ามีอาวุธปืนพกอยู่ จำเลยจึงยิงผู้เสียหาย 1 นัด กระสุนปืนถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อคำนึงถึงระยะทางและระยะเวลาตลอดทั้งสภาพของตัวจำเลยที่อยู่ในอาการมึนเมา ประกอบกับจำเลยมีอารมณ์โกรธที่ไก่ของจำเลยหลายตัวตายเพราะกินข้าวคลุกยาเบื่อซึ่งจำเลยเชื่อว่าผู้เสียหายเป็นผู้ใช้ข้าวคลุกยาเบื่อให้ไก่ของจำเลยกิน ทำให้จำเลยมีความเครียดและสับสน ทั้งต้องมาโต้เถียงกับผู้เสียหายอย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอีก ด้วยสภาวะการณ์เช่นนี้จำเลยไม่สามารถที่จะคิดใคร่ครวญหรือวางแผนในการฆ่าผู้เสียหาย เพราะการยิงผู้อื่นในลักษณะที่มีผู้คนที่รู้จักคุ้นเคยอยู่ล้อมรอบย่อมเป็นข้อชี้ชัดว่าจำเลยมิได้คิดทำการให้รอบคอบเพื่อมิให้ตนต้องมีความผิดได้รับโทษโดยง่าย เชื่อได้ว่าจำเลยมิได้คิดไตร่ตรองไว้ก่อนแต่อย่างใด ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่เมื่อจำเลยยิงผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 60 อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5182/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องแย้งและการพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม กรณีรุกล้ำที่ดิน
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)(5) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 วรรคห้า คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 227 และ 228 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินของจำเลยและสร้างรั้วคอนกรีตล้อมรอบรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารที่รุกล้ำออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตโดยสุจริตจึงขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้แก่จำเลยในราคา 100,000 บาทหากโจทก์ไม่ยอมก็ขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่จำเลย โดยจำเลยยอมเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ 100,000 บาท ดังนี้หากฟังได้ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตรุกล้ำโดยสุจริตหรือฟังได้ด้วยว่ารั้วคอนกรีตติดตรึงเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน จำเลยก็มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ไม่ต้องรื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรง ชอบที่จะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินของจำเลยและสร้างรั้วคอนกรีตล้อมรอบรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารที่รุกล้ำออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตโดยสุจริตจึงขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้แก่จำเลยในราคา 100,000 บาทหากโจทก์ไม่ยอมก็ขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่จำเลย โดยจำเลยยอมเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ 100,000 บาท ดังนี้หากฟังได้ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตรุกล้ำโดยสุจริตหรือฟังได้ด้วยว่ารั้วคอนกรีตติดตรึงเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน จำเลยก็มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ไม่ต้องรื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรง ชอบที่จะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: แม้รับฟ้องแล้ว หากศาลไม่มีเขตอำนาจ คดีต้องโอนไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณา
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้หรือไม่ แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรีเสียแล้ว ศาลจังหวัดราชบุรีก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้นั้น เป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว