พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสาร
อุทธรณ์ของจำเลยบรรยายถึงการขอเลื่อนคดีของจำเลยในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ทุกครั้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบต่อไปรวมอยู่ด้วย แม้ตอนท้ายสุดของอุทธรณ์จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของจำเลยใหม่ตามที่ร้องขอ อุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องอยู่ในตัว ไม่ใช่อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่แต่เพียงสถานเดียว คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยอุทธรณ์ได้พร้อมคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งเป็นคำสั่งวินิจฉัยภายในกำหนด 1 เดือน แต่จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งไว้จึงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์และการพิจารณาคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งต้องอาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวเป็นพื้นฐานจึงจะพิจารณาได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ จึงไม่มีเหตุที่จะให้พิจารณาคดีใหม่
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสารแทนการสืบพยานบุคคล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยขาดนัดพิจารณา ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้ ชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลก่อนมีคำพิพากษา ต้องห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนำคดีเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นอำนาจประธานศาลฎีกา ไม่ใช่สิทธิคู่ความ
การจะนำปัญหาใดในคดีเรื่องใดเข้าวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิคู่ความที่จะขอให้นำคดีเข้าพิพากษาโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี และอำนาจศาลในการพิพากษาเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ
แม้ขณะเกิดเหตุข้อหาตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะมีกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวโดยกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำเป็นตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 จึงต้องถือตามนั้นการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์ก่อน จึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดีและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในการตัดสิน
แม้ขณะเกิดเหตุกฎหมายจะบัญญัติโทษสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวโดยกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำเป็นตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 จึงต้องถือตามนั้น การที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์ก่อน. (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 1303/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่สมควรที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ การขาดนัดพิจารณาคดี และการประเมินเหตุผลของฝ่ายโจทก์
ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) นัดสืบพยานโจทก์ เวลา 10 นาฬิกา โจทก์ไม่มาศาลตามนัด ศาลชั้นต้นรออยู่จนถึงเวลา 10.30 นาฬิกา จึงพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 181 ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำร้องว่ามีเหตุสมควรที่มาศาลตามนัดไม่ได้ ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ปรากฏว่าในวันนัด เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ขับรถยนต์ออกจากบ้านพักที่กรุงเทพมหานคร รถยนต์ก็ปกติดี ถึงที่เกิดเหตุใช้เวลาประมาณ 45 นาที รถยนต์เสียใช้เวลาซ่อม 1 ชั่วโมงก็เสร็จ แสดงว่าสภาพขัดข้องไม่ร้ายแรงนัก เมื่อซ่อมรถยนต์เสร็จผู้รับมอบอำนาจโจทก์ก็ไม่ใช้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งมีอยู่หลายแห่งที่สะดวกติดต่อไปยังศาลจังหวัดลพบุรีเพื่อแจ้งข้อขัดข้องดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นเจ้าของสำนักงานทนายความ และรับจัดหาทนายความแก่โจทก์เดินทางไปเบิกความเป็นพยานโจทก์โดยลำพัง โดยไม่นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตัวไปด้วย นับเป็นเหตุบังเอิญที่ไม่น่าเกิดขึ้น เมื่อเดินทางไปถึงศาลจังหวัดลพบุรีเวลา 12.10 นาฬิกา พบเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์อีกบัลลังก์หนึ่งก็แจ้งแต่เพียงว่า ศาลนัดคดีนี้ช่วงเช้าแต่มาศาลไม่ทัน โดยไม่ได้แจ้งเรื่องรถยนต์ขัดข้อง ข้อที่โจทก์หยิบยกขึ้นมาล้วนไม่สมเหตุผล พฤติการณ์แสดงว่าฝ่ายโจทก์ไม่สนใจเวลานัดของศาล ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5049/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี และการปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อใช้สิทธิโต้แย้งภายหลัง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2546 เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเรียกจำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความตามคำพิพากษามาวางศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง อันเป็นคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์และการร่วมกระทำความผิด โดยจำเลยมีอายุเกินเกณฑ์เยาวชนในระหว่างการพิจารณาคดี
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วางข้อกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรม มีกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) นั้น ไม่อาจบังคับได้เนื่องจากจำเลยมีอายุครบ 18 ปี ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้รอการกำหนดโทษไว้ 3 ปี และคุมประพฤติจำเลยไว้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ แม้โจทก์และจำเลยจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12208/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องกระทำในระหว่างพิจารณาคดีเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจอ้างขัดรัฐธรรมนูญได้
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเรื่องที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยมาตรา 6 คือ ขัดต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดคำพิพากษาศาลฎีกาตลอดจนกระบวนพิจารณาของศาลฎีกาจึงขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ซึ่งการรับฟังพยานเป็นดุลพินิจของศาลหาใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 แต่อย่างใด นอกจากดุลพินิจในการฟังพยานของศาลจะไม่ใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว การที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อศาลจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลส่งเรื่องนั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหาได้ไม่ ดังถ้อยคำในมาตรา 264 วรรคหนึ่งที่ว่า "ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด... ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราว และในมาตรา 264 วรรคสาม ที่ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว" ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้ และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยเสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป กรณีของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264