คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณาคดีใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หากไม่ปฏิบัติตาม อุทธรณ์ไม่ชอบ
อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาทแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีเดิมอีก ส่วนเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เป็นคนละส่วนกับเงินค่าขึ้นศาล เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อนเพราะมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องใหม่ ถือเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและพิจารณาคดีใหม่ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็เป็นการรับอุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ
การที่จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานเนื่องจากประวิงคดี และสิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่
คดีนี้จำเลยทั้งสองมิได้ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา แต่เป็นกรณีที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นเห็นว่าฝ่ายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วมีพฤติการณ์ประวิงคดี จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8801/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียก การส่งหมายเรียกไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลต่อกำหนดเวลา
จำเลยที่ 2 ขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าได้ย้ายที่อยู่จากจังหวัดอุบลราชธานีไปอยู่กับบุตรสาวเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่จังหวัดเพชรบุรี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเนื่องจากโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ที่อยู่เดิมที่จังหวัดอุบลราชธานี จำเลยที่ 2 เพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2546 คำร้องดังกล่าวเป็นการอ้างว่าการส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 มาศาลในวันนัดพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งหากฟังได้ตามที่อ้าง กำหนดเวลาในการร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ก็ไม่อยู่ในบังคับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัด และให้พิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ยังไม่ทราบถึงกำหนดนัดพิจารณาคดี ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้วหรือไม่ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาภายหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ภายหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม คดีนี้จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8374/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดคดีแรงงาน: การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เกินกำหนด 7 วัน ทำให้คำร้องไม่เป็นผล
ศาลแรงงานกลางได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งจดแจ้งรายการแห่งข้อหาและคำขอบังคับให้จำเลยทราบ และคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งให้จำเลยมาศาลในการพิจารณาคดีในวันที่ 8 เมษายน 2546 เวลา 13.00 นาฬิการ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการส่งหมายเรียกกำหนดเวลาในการนัดพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางให้จำเลย และจำเลยได้รับไว้โดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว จำเลยไม่มาตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งเหตุที่ไม่มาให้ศาลทราบ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันนัดพิจารณาคดีว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยประสงค์จะให้มีการพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องมาแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 41 ศาลแรงงานกลางจึงจะมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นของจำเลยที่ไม่อาจมาศาลได้ แต่จำเลยมายื่นคำร้องต่อศาลแรงงานเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2546 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันดังกล่าวแล้ว กรณีนี้เป็นกรณีขาดนัดตามมาตรา 40 วรรคสอง ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ได้บัญญัติถึงกรณีดังกล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดโดยไม่แจ้งเหตุ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้ และไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้ยืมและจำนอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยให้การต่อสู้คดี ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่งได้ กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาถึงที่สุด ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่หลังแก้ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19)ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่าคำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด คดีนี้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งจำหน่ายคดีและการอุทธรณ์ การที่ศาลจำหน่ายคดีแล้ว โจทก์ไม่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ต้องฟ้องใหม่ภายในอายุความ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย โจทก์คงมีเพียงสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
of 28