คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิคงอยู่แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถูกเพิกถอนและมีคำสั่งใหม่
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลล้มละลายกลางและให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไป คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถูกเพิกถอนไป และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะในส่วนที่ผิดพลาดและถูกเพิกถอนเท่านั้น กระบวนพิจารณาในส่วนนี้ย่อมนำ ป.วิ.พ. มาใช้ได้แต่ในคดีล้มละลายยังมีกระบวนพิจารณาโดยเฉพาะซึ่งมีความแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไปตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 บัญญัติไว้ ซึ่งอาจกระทำโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเริ่มต้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ได้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วเมื่อคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องไม่มีส่วนใดที่ผิดกฎหมาย จึงไม่ถูกเพิกถอนและยังคงมีผลใช้ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลล้มละลายกลางแล้วต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งใหม่โดยมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเช่นเดิม คำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ยื่นไว้เดิมจึงยังคงมีผลใช้ได้โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่
ในคดีล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางอีกครั้งหนึ่งนั้น การโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในครั้งที่สองนี้มีความประสงค์เพียงเพื่อให้เจ้าหนี้ที่จำเลยทั้งสองไปก่อหนี้สินขึ้นภายหลังวันที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลล้มละลายกลาง จนถึงวันก่อนวันอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองของศาลล้มละลายกลางมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เท่านั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้วในคราวโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งแรกจึงถือได้ว่ายื่นคำขอใว้แล้วก่อนระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองสิ้นสุดลง ผลของการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องจึงยังคงมีอยู่โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การโอนที่ดินตามสิทธิเดิมชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่ จ. โดยให้ จ. ชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญา การที่ จ. ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ทั้งจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจให้แก่ จ. ไปดำเนินการโอนที่ดินก่อนศาลชั้นต้น มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงเป็นการที่ จ. ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนแล้ว คงเหลือแต่เฉพาะหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการโอนที่ดินให้แก่ จ. ถือว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษาที่ จ. จะรับไปเพียงฝ่ายเดียว จำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ใด ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือตามคำพิพากษาดังกล่าวอีก กรณีมิใช่สิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่พึงได้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิดังกล่าว เช่นนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 22 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านไม่คัดค้านคำร้องขอให้ถอนการยึดในคดีแพ่งและมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการโอนที่ดินให้แก่ จ. ตามสิทธิที่ จ. มีอยู่ตามคำพิพากษาของศาลจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว และกรณีดังกล่าวนี้ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 145(1) ถึง (5) จึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายเดียวที่ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือยกฟ้องเท่านั้น การฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ
การพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการเท่านั้น ประการที่หนึ่ง มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ประการที่สอง พิพากษายกฟ้อง บทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้เพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 กล่าวว่าขอปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์ทั้งสามอ้างตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะเป็นสัญญาปลอม ซึ่งมีประเด็นที่โจทก์ทั้งสามจะต้องนำสืบถึงหนี้สินตามที่อ้างในคำฟ้อง และหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องสถานเดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำหน่ายคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ศาลใช้ดุลพินิจชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีนี้อันเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์และมีคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการทวงหนี้แก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ คดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การยกข้อต่อสู้คดีหลายประการ แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดในคดีล้มละลายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเท่ากับเป็นการให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2 ได้ตกลงเจรจากับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของโจทก์แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องเสียหายไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีของโจทก์จึงเป็นการชอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 และคำสั่งดังกล่าวก็มิได้อยู่ในบังคับที่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131และมาตรา 132 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงงานที่เป็นโมฆะเนื่องจากขัดต่อกฎหมายโรงงานเมื่อเจ้าของโรงงานถูกพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานของบริษัทก. โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระค่าเช่าและค่าเสียหาย กรณีต้องถือว่าบริษัทก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าแล้วตามพระราชบัญญัติโรงงานฯมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัทก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ด้วย ซึ่งการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องกระทำก่อนที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าได้เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อสัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ แม้ไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดี
หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ และโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วและไม่ชำระหนี้ จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสามมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9) แม้โจทก์จะยังมิได้นำยึดทรัพย์จำเลยทั้งสามตามหมายบังคับคดี แต่โจทก์ก็นำสืบว่าจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินให้บังคับชำระหนี้ได้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
จำเลยที่ 3 อ้างว่าตนรับราชการมีเงินเดือน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 มิได้นำเงินเดือนดังกล่าวมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดประกอบกับเงินเดือนของจำเลยที่ 3 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ทั้งการที่อ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินของ ป. ในราคา 6 ล้านบาทเศษ โดยได้วางมัดจำเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษแล้วนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกตกลงในสัญญาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 ตกลงรับโอนที่ดินในวันที่ที่ระบุไว้ พร้อมกับชำระราคาที่ดินที่เหลืออีก 2 ล้านบาทเศษ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันและ ป. สามารถริบเงินมัดจำได้ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 3 ก็มิได้รับโอนและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จะโอนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพร้อมที่จะโอนที่ดินแปลงดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ แม้เป็นข้าราชการ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยมีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมเดือนละประมาณ 26,000 บาท จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 104,025.39 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและเบิกเงินสดโดยจำเลยไม่เคยชำระหนี้แก่โจทก์เลยเป็นเวลานานเกือบ 4 ปี ทำให้จำนวนหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนับถึงวันฟ้องมีจำนวน 204,600 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ต่อเดือนของจำเลยแล้วจำนวนหนี้มีมากกว่ารายได้ แม้จำเลยเป็นข้าราชการมีเงินเดือน แต่เงินเดือนตลอดทั้งบำเหน็จบำนาญไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จำเลยรับราชการมานานแต่ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก แสดงว่าเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงของจำเลยมีจำนวนเพียงแค่การดำรงชีพของจำเลยในแต่ละเดือนเท่านั้น ไม่เหลือพอที่จะแบ่งไปผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ เงินสะสมของข้าราชการมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนข้าราชการ แม้จำเลยจะมีเงินสะสมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเช่นกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดทั้งพฤติการณ์ของจำเลยมิได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในทางที่จะขวนขวายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยความสุจริตใจ คดีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดผลผูกพันของหนี้เช็คหลังการพิทักษ์ทรัพย์ การได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายไม่ถือเป็นการชำระหนี้
การที่ผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้จากเช็คตามฟ้องจากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายอย่างเต็มจำนวน มิได้หมายความว่า ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ในเช็คตามฟ้องแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าหนี้ตามเช็คได้ระงับและสิ้นผลผูกพันไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีจึงยังไม่เลิกกัน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนี้เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องไม่ได้ขอรับชำระหนี้ค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดให้รวมไว้ในมูลหนี้ ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินซึ่งยื่นไว้ การที่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่า ได้แจ้งความประสงค์ว่าผู้ร้องต้องการขอรับชำระหนี้ในส่วนค่าปรับรายวันจากลูกหนี้ตามที่ยื่นฎีกาไว้ มิใช่การขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์แสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินตามบทบัญญัติ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 วรรคสอง และผู้ร้องสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ได้ล่วงหน้าอยู่แล้วโดยไม่ต้องรอให้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสียก่อน ดังนั้นเมื่อผู้ร้องนำหนี้ปรับรายวันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามบทบัญญัติ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 อีกทั้งหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยหนี้เกิดขึ้นหลังมีคำสั่ง
มูลหนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้น เนื่องจากการผิดสัญญาก่อสร้างงานไม่แล้วเสร็จ โดยขอให้บังคับให้ลูกหนี้ชำระค่าปรับและค่าเสียหายที่ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ผู้ร้องต้องว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อในราคาที่สูงขึ้นเป็นเงิน 3,486,927.94 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องได้มายื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 อันดับ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยได้ระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินว่ามูลหนี้อันดับที่ 2 เป็นหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้นจำนวนเงิน 4,780,720.22 บาท แสดงว่าผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อันดับที่ 2 เฉพาะหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวของศาลชั้นต้นจำนวน 4,780,720.22 บาทเท่านั้น ส่วนหนี้ค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดให้นั้น แม้ว่าผู้ร้องจะฟ้องขอให้บังคับชำระหนี้มาด้วยกันและผู้ร้องได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับแต่ผู้ร้องไม่ได้ขอรับชำระหนี้ดังกล่าวนี้รวมไว้ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินซึ่งยื่นไว้ด้วย ที่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่า ได้แจ้งความประสงค์ว่าผู้ร้องต้องการขอรับชำระหนี้ในส่วนค่าปรับรายวันจากลูกหนี้ตามที่ยื่นฎีกาไว้ก็มิใช่การขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์แสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง และแม้ศาลฎีกายังไม่ได้มีคำพิพากษาในส่วนหนี้ค่าปรับรายวันดังกล่าว หากผู้ร้องประสงค์ขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ ผู้ร้องย่อมสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับยอดหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้นได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยไม่ต้องรอให้ศาลฎีกามีคำพิพากษาเกี่ยวกับหนี้ส่วนนี้เสียก่อน ดังนั้น เมื่อผู้ร้องนำหนี้ค่าปรับรายวันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม จึงพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 อีกทั้งหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94
of 38