คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ้นวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัย โจทก์มีสิทธิเรียกคืนมัดจำ
จำเลยทำสัญญาขายไม้ฟืนที่ตัดจากพื้นที่ที่จำเลยได้รับสัมปทานทำไม้ส่งมอบให้โจทก์โดยโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยต่อมามีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลง ทำให้การส่งไม้ฟืนเป็นไปไม่ได้ การชำระหนี้จึงตกเป็น พ้นวิสัยเพราะเหตุอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้และสัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้พ้นวิสัยจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และการคืนเงินจากสัญญาที่สมบูรณ์
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป. ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372วรรคหนึ่ง
แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535 ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป
เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป. จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป. ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ บัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่)
นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการส่งมอบเอกสารไม่ครบถ้วน/พ้นวิสัย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้มีใจความเพียงว่า จำเลยทั้งสองยอมโอนใบอนุญาตโรงเรียนและเอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนให้แก่โจทก์กับยอมออกจากทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม ยอมให้บังคับคดีได้ทันที และหากไม่ยอมโอนใบอนุญาตและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงเรียน ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง หรือให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง หาได้มีข้อความว่า ถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์ เป็นการชดใช้ค่าเสียหายด้วยเลยเช่นนี้ หากโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนอันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น หามีสิทธิขอให้บังคับจำเลยทั้งสองนำเงินจำนวน 3,000,000 บาท มาวางศาลเพื่อชดใช้เป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยไม่ เพราะเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำพิพากษาหรือคำสั่งหาได้ไม่
เอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนที่จำเลยทั้งสองจะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสูญหายไป การส่งมอบเอกสารพิพาทจึงกลายเป็นพ้นวิสัย ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ส่งเอกสารพิพาทนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัญญาพ้นวิสัยจากการบอกเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องตามสัญญาเป็นอันตกไป
แม้สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยมีเงื่อนไขว่า จำเลยจะจ่ายเงินให้ภายใน 40 วัน นับแต่เจ้าของงานได้ผ่านการตรวจรับงานในงวดนั้นแล้ว และจะคืนเงินประกันผลงานหลังจากเจ้าของงานได้รับมอบงานงวดสุดท้ายของจำเลย และออกหนังสือรับรองการมอบงานแล้วรวมกับระยะเวลาการประกันผลงานอีก 1 ปี เมื่อเงื่อนไขดังกล่าวไม่อาจที่จะปฏิบัติได้ เพราะจำเลยได้บอกเลิกสัญญากับเจ้าของงานแล้ว การตรวจรับงานงวดที่ 3 งวดที่ 4 และงวด-สุดท้ายจึงไม่อาจมีขึ้นได้ เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการพ้นวิสัย และถือว่าเงื่อนไขในข้อตกลงดังกล่าวไม่มี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยนอกอำนาจจำเลย ไม่ต้องรับผิดชดใช้
จำเลยเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัท ร. จำเลยได้ขายสินค้าให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ขายสินค้าดังกล่าวให้แก่กองบัญชาการทหารสูงสุดในขณะที่โจทก์ทำสัญญากับจำเลยนั้น โจทก์ได้รู้อยู่แล้วว่า การส่งสินค้าดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน ซึ่งโจทก์ก็ได้ทำการขออนุมัติจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ภายหลังเมื่อโจทก์เห็นว่า การรอคอยคำตอบจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการล่าช้า โจทก์จึงได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากบริษัท ร. ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่า รัฐบาลประเทศสหรัฐ-อเมริกาไม่อนุญาตให้ส่งสินค้าออกนอกประเทศ โจทก์จึงได้ขอแก้สัญญากับกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแทน พฤติการณ์ทั้งหมดเห็นได้ว่าโจทก์เองก็ถือว่า การที่รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้บริษัท ร.ส่งสินค้าออกนอกประเทศครั้งนี้ ไม่อาจถือว่าเป็นความผิดของฝ่ายใดได้ และสาเหตุดังกล่าวก็อยู่นอกเหนืออำนาจของจำเลย ถือได้ว่า ภายหลังจากที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยอันมิใช่ความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ้นวิสัยจากเหตุอนุมัติสินค้าไม่อนุมัติจากรัฐบาลต่างประเทศ ไม่เป็นความผิดจำเลย
ข้อตกลงซื้อขายชุดสแครมเบลอร์ยี่ห้อดาต้าคริพเตอร์ทูระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นข้อตกลงหลวม ๆ ไม่มีข้อความระบุรายละเอียดความรับผิดของแต่ละฝ่ายไว้ กำหนดการส่งมอบสินค้าก็ไม่อาจกำหนดเวลาให้แน่ชัดลงไปได้เพราะต้องรอการตรวจสอบ ซึ่งโจทก์ทราบเงื่อนไขข้อนี้เป็นอย่างดี และสินค้าที่ซื้อขายเป็นยุทธปัจจัยการส่งออกจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนและโจทก์ทราบอุปสรรคข้อนี้ แต่ก็มิได้ยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นข้อสำคัญให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่กลับปรากฏว่าเมื่อการรอคอยคำตอบจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นไปด้วยความล่าช้าโจทก์สอบถามจำเลยเพื่อจะดำเนินการติดต่อซื้อเองโดยตรงจากบริษัทร.ผู้ผลิตซึ่งจำเลยก็บอกว่าโจทก์สามารถทำได้และโจทก์ได้สั่งซื้อเองจึงเห็นได้ว่าโจทก์เองก็ถือว่า การที่รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุมัติให้บริษัทร. ขายสินค้าให้โจทก์ จะถือเป็นความผิดของจำเลยมิได้ ต่อมาเมื่อจำเลยแจ้งว่ารัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุมัติโจทก์ก็ได้ขอแก้ไขสัญญากับกองบัญชาการทหารสูงสุดขอส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแทน โดยอ้างว่าการส่งมอบชุดสแครมเบลอร์ยี่ห้อดาต้าคริพเตอร์ทูเป็นการพ้นวิสัยและกองบัญชาการทหารสูงสุดก็ยินยอม โดยไม่ถือเป็นความผิดของโจทก์ดังนี้จึงเห็นได้ว่าโจทก์เองก็ถือว่าการที่รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุมัติให้บริษัทร.ส่งชุดสแครมเบลอร์ยี่ห้อดาต้าคริพเตอร์ทูออกนอกประเทศครั้งนี้จะถือเป็นความผิดของฝ่ายใดมิได้ และสาเหตุดังกล่าวก็อยู่นอกเหนืออำนาจของจำเลย ถือได้ว่าภายหลังจากที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยอันมิใช่ความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยนอกเหนืออำนาจจำเลย ทำให้ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัท ร. จำเลยได้ขายสินค้าให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ขายสินค้าดังกล่าวให้แก่กองบัญชาการทหารสูงสุดในขณะที่โจทก์ทำสัญญากับจำเลยนั้น โจทก์ได้รู้อยู่แล้วว่า การส่งสินค้าดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน ซึ่งโจทก์ก็ได้ทำการขออนุมัติจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ภายหลังเมื่อโจทก์เห็นว่า การรอคอยคำตอบจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการล่าช้า โจทก์จึงได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากบริษัทร. ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่า รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ส่งสินค้าออกนอกประเทศ โจทก์จึงได้ขอแก้สัญญากับกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแทน พฤติการณ์ทั้งหมดเห็นได้ว่าโจทก์เองก็ถือว่า การที่รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้บริษัท ร.ส่งสินค้าออกนอกประเทศครั้งนี้ ไม่อาจถือว่าเป็นความผิดของฝ่ายใดได้และสาเหตุดังกล่าวก็อยู่นอกเหนืออำนาจของจำเลย ถือได้ว่า ภายหลังจากที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยอันมิใช่ความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยหลังก่อหนี้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
เหตุที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถจัดการออกโฉนดและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเพราะผู้ขายซึ่งซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสี่ เนื่องจากถูกบุคคลอื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในเวลาต่อมา ต้องถือว่าการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสี่กลายเป็นพ้นวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ก่อหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายทั้งไม่ปรากฏว่าได้เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสี่จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบในพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหาได้ไม่ จำเลยทั้งสี่จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ไม่ต้องโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ฝ่ายโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 เมื่อการชำระหนี้บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบและการชำระหนี้ส่วนที่เป็นวิสัยที่จะทำได้ซึ่งหมายถึงการโอนที่ดินแปลงอื่น ๆตามสัญญาให้แก่โจทก์ยังเป็นประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จะไม่ยอมรับโอนที่ดินแปลงที่อยู่ในวิสัยจะโอนได้ แล้วเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดหาได้ไม่ โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกันอยู่กล่าวคือฝ่ายจำเลยจะต้องโอนที่ดินที่เหลืออีก 5 แปลงให้แก่โจทก์ และฝ่ายโจทก์ก็ต้องชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้นอกจากนั้นปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้จัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว 1 แปลง กับได้จัดการออกโฉนดที่ดินแปลงที่เหลืออีก 5 แปลง พร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาทั้งการที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งนั้นหาได้เกิดจากพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบไม่ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นฝ่ายรับเงินมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ไม่ได้กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(1)(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ข้ามประเทศ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาเนื่องจากเหตุผลทางการเมืองไม่ถือเป็นพ้นวิสัย
จำเลยนำรถยนต์ เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดย จำเลยทำสัญญาไว้ต่อ โจทก์ว่าจะส่งรถยนต์ คันดังกล่าวกลับออกไปภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจำเลยยอมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม สัญญา อ้างว่าเป็นการพ้นวิสัยเนื่องจากประเทศที่จำเลยจะส่งรถยนต์ กลับออกไปตาม สัญญานั้นเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยใช้ สิทธิการปกครองแตกต่าง กับประเทศไทย จำเลยไม่กล้านำรถยนต์ กลับออกไปยังประเทศดังกล่าว ดังนี้ เป็นเพียงจำเลยไม่กล้านำรถยนต์ กลับออกไปเท่านั้น ไม่ใช่จำเลยกระทำไม่ได้ การชำระหนี้ของจำเลยไม่เป็นการพ้นวิสัย จำเลยต้อง ชำระเงินแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาโอนสิทธิการเช่าเมื่อการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย และสิทธิในการคืนเงินมัดจำ
จำเลยทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินจากวัดให้โจทก์ และโจทก์ได้ชำระเงินค่าโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยบางส่วนแล้ว ข้อสัญญามีว่าหากจำเลยโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้จำเลยต้องชำระค่าปรับ เมื่อปรากฏว่าจำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากทางวัดไม่ยินยอมให้โอน ดังนี้ ถือได้ว่าการชำระหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตอบแทนกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลย เงินที่ต้องคืนเนื่องจากการเลิกสัญญามิใช่ลาภมิควรได้ จะนำอ:ายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาใช้บังคับมิได้.
of 5