พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการขายทอดตลาด – การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาทพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อ คชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่รู้ว่า พ.โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเช็คซ้อน: การออกเช็คภายใต้ พ.ร.บ. 2497 ไม่เป็นความผิดภายใต้ พ.ร.บ. 2534 ผลต่อการลงโทษ
การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 แต่ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 จึงเป็นกรณีที่ต้องตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง แม้คดีนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดนั้น และต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของการประกาศ คสช. ต่อการเลือกตั้งสุขาภิบาล และผลของ พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศ คสช.
เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติประกาศให้เลื่อนการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรออกไปโดยไม่มีกำหนด จึงเป็นการยกเลิกประกาศจังหวัดภูเก็ตที่ให้เลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลที่โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่ง แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 19 และฉบับที่ 20 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 โดยมาตรา 4 ให้จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแทนผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผลของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 19 ก็ตาม ก็ได้มีการรับสมัครเลือกตั้งเพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาหลังพ.ร.บ.แก้ไขป.วิ.อาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532: คดีที่ศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ยกฟ้อง
โจทก์ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับ การพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา ในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาไม่ได้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถกระบะส่วนบุคคลกับการบังคับใช้ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลมาประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเรียกเก็บเงินเพื่อสินจ้าง แต่ โจทก์มิได้นำสืบว่ารถคันดังกล่าวมีน้ำหนักรถเท่าใด จึงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลคันที่จำเลยขับเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพัน หกร้อยกิโลกรัมรถคันดังกล่าวจึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 126.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าหน้าที่: การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ต้องพิจารณาคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุกำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขตหรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอหรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ.เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ.จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษผู้ต้องโทษเดิม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทิน ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๒๖มาตรา ๔ ประกาศใช้บังคับ มีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยที่๑ ซึ่งได้พ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ ๑ ไม่ได้ แม้จำเลยที่ ๑มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่คุ้มครองราษฎรที่มีอาวุธของทางราชการ
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 5(1) ที่บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของราชการทหารและตำรวจ ฯลฯ" นั้น มีความหมายถึง อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฯลฯ ของทางราชการทหารหรือตำรวจ ที่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มิได้มีความหมายเลยไปถึงราษฎรเช่นจำเลยซึ่งมีอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนของทางราชการตำรวจแล้วจะไม่เป็นความผิด จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยาม 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องพิจารณาแหล่งที่มาของทุนขององค์การ
การที่จะถือว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาเป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502หรือไม่ จะต้องได้ความว่า ทุนทั้งหมดหรือทุนเกินร้อยละห้าสิบขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นของรัฐ เมื่องานหรือทุนที่ดำเนินการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นของคุรุสภาซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เป็นของรัฐ จำเลยจึงไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์: สอบสวนอธิกรณ์ ไม่ใช่คดีอาญา
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 45 จะบัญญัติให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาก็ดีก็มีแต่เพียงอำนาจสอบสวนอธิกรณ์ และสั่งลงโทษพระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเท่านั้น หามีอำนาจรับแจ้งความเกี่ยวกับการกระทำผิดอาญา และมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาไม่ฉะนั้น จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,173