คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.จราจร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความผิดฐานขับรถประมาทและการลงโทษฐานหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
การที่จำเลยจะได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสองนั้น หมายถึงกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แล้วเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส มิใช่หมายถึงจำเลยขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยก่อความเสียหายแล้วจำเลยได้หลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที มิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส จึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสองได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถตามหลัง การเว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัย และความรับผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ก่อนเกิดเหตุมีผู้โดยสารเคาะกระจกให้จำเลยที่1จอดรถจำเลยที่1จึงจอดรถเข้าข้างทางให้ผู้โดยสารลงขณะที่ผู้โดยสารกำลังลงจากรถจำเลยที่2ก็ขับรถจักรยานยนต์แล่นมาชนท้ายรถของจำเลยที่1แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ขับรถเร็วแต่พฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าจำเลยที่2ขับรถจักรยานยนต์ตามหลังรถของจำเลยที่ 1ด้วยความประมาทโดยไม่เว้นระยะห่างพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถโดยปลอดภัยจำเลยที่2จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(4),157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6227/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจริบรถที่ใช้ในการแข่งรถ แม้ พ.ร.บ.จราจรฯ จะไม่ได้บัญญัติไว้ ศาลก็มีอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์บรรยายไว้ในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ว่าจำเลยแข่งรถโดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางแข่งกับรถอื่นและเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้พร้อมรถจักรยานยนต์ดังกล่าวซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลางโดยโจทก์ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา33และมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วยเมื่อโจทก์ยื่นบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นได้บันทึกคำฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในบันทึกคำฟ้องคำรับสารภาพคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมาตรา20ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของศาลแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้บันทึกข้อที่โจทก์ขอให้ริบทรัพย์ไว้ด้วยก็เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจบันทึกไว้เท่าที่เห็นว่าจำเป็นกรณีถือได้ว่าบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งบันทึกคำฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของศาลจึงไม่เป็นเหตุให้ฟ้องบกพร่องถึงกับจะถือว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ริบของกลาง จำเลยแข่งรถโดยใช้รถจักรยานยนต์แข่งกับรถอื่นในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตรถจักรยานยนต์จึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดแม้รถจักรยานยนต์จราจรทางบกพ.ศ.2522จะไม่มีข้อบัญญัติให้ริบทรัพย์ดังกล่าวศาลก็มีอำนาจริบรถจักรยานยนต์ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา17,33(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถยนต์นำเข้าต่อพ่วงบรรทุก: การพิจารณาเป็นรถยนต์บรรทุกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
รถยนต์นำเข้าของโจทก์แม้โดยสภาพตัวเองไม่สามารถบรรทุกสิ่งของหรือสัตว์เพราะไม่มีกระบะกั้น แต่เมื่อนำรถบรรทุกพ่วงมาประกบเกี่ยวพ่วงตรงจานหมุน ก็สามารถบรรทุกและรับน้ำหนักได้โดยเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์บรรทุกจึงเป็นรถยนต์บรรทุกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (20)
การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ยังมิได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาและมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์ไม่มีความผิด จึงไม่มีผลผูกพันคดีแพ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถทางแยก: การประเมินความรับผิดของผู้ขับขี่และหลักการใช้มาตรา 71(2) พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยที่ 1 ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยกก่อนรถโจทก์ จะนำมาตรา 71(2) พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามบทมาตราดังกล่าวเป็นกรณีที่รถมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และตามมาตรา 51(2)(จ) ก็เป็นกรณีเมื่อรถอยู่ในทางร่วมทางแยกต้องให้รถที่สวนมาในทางเดินรถเดียวกันผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้ มิใช่กรณีการเดินรถในถนนคนละสาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถกรณีอุบัติเหตุและการหมดอายุความของความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดยังอยู่ในอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวเป็นประเด็นในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองยึดรถของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะพึงกระทำได้ โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการยึดรถไว้โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระทำ ข้อเท็จจริงตามฎีกาโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานไม่มีความจำเป็นต้องยึดรถโจทก์ไว้ต่อไปแล้ว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม2526 ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแซงก่อนถึงทางแยก: การตีความมาตรา 46(2) พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ และหน้าที่ของผู้ขับขี่
ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 46(2) นั้น มิได้หมายความแต่เพียงว่าห้ามมิให้ขับรถแซงหรือเริ่มขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยกเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงว่า แม้จะเริ่มขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นก่อนระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยก แต่เมื่อมาถึงระยะ 30 เมตรก่อนจะถึงทางแยกก็ยังไม่สามารถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นได้ ผู้ขับขี่ก็ต้องหยุดแซงและนำรถเข้าเส้นทางของตนทันที.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถผิดวิธีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แม้ไม่กีดขวางการจราจรหรือก่ออันตราย
การที่จำเลยจอดรถชิด ขอบทางด้านที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดแต่หันหัวรถสวนทางกับรถคันอื่นที่จะแล่นเข้ามาในซอย ที่เกิดเหตุเป็นการจอดรถด้านขวาของทางเดินรถของจำเลยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิด กับขอบทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสองโดยชัดแจ้งโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงว่า การจอดรถดังกล่าวเป็นการกีดขวางการจราจรหรือไม่ และเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินรถหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรฯ จากการขับรถบรรทุกสูงเกิน 2.50 เมตร โดยไม่เปิดไฟแสดงส่วนสูง
จำเลยขับขี่รถยนต์บรรทุกที่มีความสูงเกิน 2.50 เมตร อันเป็นรถที่อยู่ในความควบคุมของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไปในทางที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร โดยจำเลยไม่เปิดไฟที่โคมไฟแสดงส่วนสูงส่วนกว้างและลักษณะรถแสงเขียวที่ด้านหน้าตอนบนหลังคารถ จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 11 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 9ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: ผู้เสียหายมิใช่ผู้มีสิทธิฟ้อง
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522เป็นความผิดที่รัฐมีหน้าที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิดผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยขับรถชนมิใช่ผู้เสียหายในความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
of 5