คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.จัดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินหวงห้ามตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ มิใช่ที่สาธารณประโยชน์เดิม แม้มีการสงวนไว้หรือใช้ประโยชน์ภายหลัง
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในจังหวัดลพบุรีและสระบุรีพ.ศ. 2485 ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2485 ที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาย่อมหมายถึงสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่า ดังบัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2485 มาตรา 4 เท่านั้นไม่รวมถึงสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งมีอยู่ก่อนใช้พระราชกฤษฎีกา
ที่พิพาทมิใช่เป็นที่สาธารณประโยชน์ที่สงวนไว้เพื่อประชาชนใช้ร่วมกันมาแต่เดิมก่อนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2485 ประกาศใช้บังคับ แต่เป็นโครงการของอำเภอชัยบาดาลจัดที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาทำเป็นผังเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยประสงค์จะใช้ที่พิพาทและที่ดินบริเวณติดต่อทำเป็นถนนและสระน้ำสาธารณะ อันเป็นการดำเนินการขึ้นภายหลังที่ออกพระราชกฤษฎีกาแล้ว และโครงการดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยได้สั่งยกเลิกไปแล้วการที่อำเภอชัยบาดาลยังสงวนที่ดินไว้ และสุขาภิบาลลำนารายณ์ถมที่พิพาทจัดทำเป็นตลาดวางหาบเร่กับเก็บขยะ หามีผลทำให้ที่พิพาทอันเป็นที่รกร้างว่างเปล่ามาแต่เดิมซึ่งตกมาเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกา กลายเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ เพราะอำนาจในการจัดดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่หวงห้ามมิใช่เป็นของนายอำเภอ แต่เป็นอำนาจของอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกานั้น
อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์อนุญาตให้โจทก์เข้าอยู่อาศัยทำกินในที่พิพาทแล้วแม้โจทก์จะเคยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ ก็เป็นเรื่องรับรู้ว่าที่พิพาทอยู่ในโครงการของอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นการยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่สงวนไว้มาแต่เดิมไม่จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งห้ามโจทก์ระงับการก่อสร้างโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการโอนที่ดินส.ป.ก. มาตรา 12 พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ห้ามโอนให้กระทรวง ทบวง กรม
มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามมิให้ผู้ได้รับที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 5 ปี คำว่า "ผู้อื่น"นั้นรวมถึงกระทรวง ทบวง กรมด้วย ดังนั้นแม้แต่กระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจจะรับโอนที่ดินนั้น ๆได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8445/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการครอบครองและมรดกภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ การแบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงทายาท
แม้ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 และมาตรา 12 ได้กำหนดให้ทางราชการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ให้แก่สมาชิกนิคมที่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งสมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ภายในห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และขณะที่ที่ดินพิพาทยังไม่มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นที่ดินของรัฐซึ่งราษฎรสามารถมีสิทธิครอบครองได้ และไม่มีกฎหมายห้ามโอนสิทธิครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันเพียงแต่ราษฎรไม่สามารถยกการครอบครองขึ้นอ้างต่อรัฐได้เท่านั้น แต่สามารถใช้ยันกันระหว่างราษฎรด้วยกันได้ สิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงถือเป็นทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง หลังจากที่ ข.ถึงแก่ความตาย ทายาทของ ข.ได้ตกลงให้ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ใน กสน.5 การที่จำเลยที่ 1 มีชื่อใน กสน.5 ดังกล่าวและต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอออกเป็นโฉนดจึงถือได้ว่าเป็นการถือแทนทายาทอื่น ๆ ของ ข. และต่อมาได้มีการทำบันทึกข้อตกลงการให้ความยินยอมในการแบ่งแยกโฉนดที่ดินจริงตามบันทึกข้อตกลง ข้อตกลงในการแบ่งที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทและไม่ถือว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย หรือมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 ย่อมไม่มีผลเป็นโมฆะและสามารถบังคับกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งหกตามบันทึกข้อตกลงในการแบ่งแยกโฉนดที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454-3455/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินจากการจัดสรรนิคมตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ผู้ได้รับการจัดสรรมีสิทธิครอบครองชอบด้วยกฎหมาย
การครอบครองที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน. 5) ของโจทก์เป็นการครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากนิคมที่โจทก์เป็นสมาชิกอยู่ ซึ่งโจทก์จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรวมทั้งระเบียบของนิคม หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามอาจถูกอธิบดีสั่งให้ออกจากนิคมได้ตามมาตรา 28 แสดงว่า นิคมได้รับมอบอำนาจตามกฎหมายจากรัฐให้จัดที่ดินให้แก่สมาชิกนิคม เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ทางนิคมได้จัดสรรให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องทั้งสองมิใช่สมาชิกผู้ได้รับการจัดให้ที่ดินพิพาทไม่อาจยกเอาเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาทมาก่อนโดยโจทก์เป็นเพียงผู้ถือครองที่ดินพิพาทแทนผู้ร้องทั้งสอง และไม่เคยเข้าครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาท ขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้สิทธิมาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามเงื่อนไขและวิธีการจัดสรรที่ดินของนิคม โดยผ่านกระบวนการพิจารณาต่าง ๆ จนกระทั่งได้รับสิทธิ ทั้งยังจะต้องถือครองและทำประโยชน์ตามที่กฎหมายระบุไว้อีกด้วย และฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องทั้งสองยินยอมให้โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิในหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยโจทก์ไม่เคยเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้าง จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองที่ดินในนิคมสร้างตนเอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท กับส่งมอบที่ดินคืนและชำระค่าเสียหาย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และในการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงก่อนว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือครอบครองแทนจำเลยที่ 1 และต้องพิจารณาว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีคุณสมบัติกับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 รวมทั้งระเบียบของนิคมสร้างตนเองคลองน้ำใสหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปได้ เป็นฎีกาที่จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
of 2