คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสั่งยึดทรัพย์และการสอบสวนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ตามบทบัญญัติในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริงได้ว่า ทรัพย์ที่ยึดมานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดหรือไม่ ก็ย่อมถือได้แล้วว่า เป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้วไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้า ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายอันเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย
บทบัญญัติมาตรา 24 พระราชบัญญัติล้มละลาย ไม่ได้บัญญัติห้ามผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือกระทำกิจการแทนผู้อื่น จำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ไม่อาจบังคับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยไว้ในคดีแรงงานว่า ผู้ร้องมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างค้างจ่ายจากจำเลยได้ทันที ก็เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง แต่การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างนั้นจะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้ว ทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ต่อไปได้ จำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจดำเนินการประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินต่าง ๆ ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เท่านั้น และเมื่อค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวจึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ทราบฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วยังยอมให้ก่อหนี้เพิ่มเติม เป็นเหตุต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ที่ธนาคารฟ้องให้เจ้าหนี้รับผิดเป็นหนี้ที่เกิดจากการจัดทำกิจการที่ลูกหนี้ตัวการมอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นตัวแทนทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารเพื่อสั่งซื้อฝ้ายให้ลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ลูกหนี้รับผิดได้โดยตรง แต่เมื่อได้ความว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้เป็นธุรกิจในเครือญาติกัน ลูกหนี้หมดวงเงินสินเชื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไม่ได้ ก. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการลูกหนี้และเป็นกรรมการคนหนึ่งของเจ้าหนี้ได้ขอให้เจ้าหนี้สั่งซื้อฝ้ายให้ลูกหนี้ เช่นนี้ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ทราบถึงฐานะของลูกหนี้แล้วว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วยังยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ดังกล่าวอีก จึงเป็นกรณีต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรยังไม่ถึงที่สุดก่อนฟ้องล้มละลาย ทำให้ไม่สามารถนำมาฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ภาษีอากรซึ่งโจทก์ประเมินแต่มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบโดยชอบ ทำให้จำเลยไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) ของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเงินฝากเพื่อชำระหนี้ก่อนล้มละลาย และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำหนังสือสัญญายินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2มาชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีต่อผู้คัดค้านโดยทำไว้ก่อน 3 เดือนที่มีการขอให้ลูกหนี้ที่ 2ล้มละลาย แต่เมื่อผู้คัดค้านทำการโอนเงินฝากประจำดังกล่าวมาชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยโอนในวันที่มีการขอให้ลูกหนี้ที่ 2 ล้มละลายซึ่งผลของสัญญายินยอมยังคงมีอยู่ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำหรือยินยอมให้กระทำอยู่ด้วยโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิหากไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง
บุคคลที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ได้ จะต้องเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้ หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในกรณีนี้ผู้ที่หากจะได้รับความเสียหายก็คือบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) นอกจากจะมีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นไว้ดังเช่นมาตรา 1169 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในกรณีนี้ได้ กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นคัดค้านศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามมาตรา 130(6) พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนได้ควรต้องเสีย จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 และ 22 ดังนี้ มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (6) ที่ว่า "ค่าภาษีอากรฯลฯ ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น แต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130 (6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130 (6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ ได้แต่ชอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระเจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้น เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130 (6) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ยังคงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย. จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม. โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 และ 22. ดังนี้มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น. เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น. เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า'ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์' นั้น. ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น.แต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว. จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6). แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ. ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น. ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้. จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย. เพราะในคดีล้มละลายนั้น. การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย. เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้. ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้. เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย. เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว.ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.
of 3