คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าภายใต้ พรบ.เครื่องหมายการค้าฯ พิจารณาจากรูปลักษณ์, เสียงเรียกขาน และลักษณะสินค้า
ในการพิจารณาความคล้ายกันของเครื่องหมายการค้า นอกจากจะต้องพิจารณาในเรื่องรูปลักษณ์และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายแล้วยังคงต้องพิจารณาสินค้าที่นำมาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับเครื่องหมายด้วยว่าเป็นสินค้าประเภทเดียวกันหรือมีลักษณะอย่างเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกันหรือไม่ รวมทั้งช่องทางจำหน่ายสินค้าและกลุ่มผู้ใช้สินค้าดังกล่าวว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือมีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันหรือไม่
เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ที่โจทก์ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของบุคคลอื่นจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวก 1 เช่นเดียวกัน แม้ในส่วนรูปลักษณ์และเสียงเรียกขานมีความคล้ายกันเนื่องจากมีอักษรตัวท้ายแตกต่างกันเพียงตัวเดียวและมีเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ ผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ ส่วนผู้ใช้สินค้าที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเป็นเกษตรกรที่ปลูกต้นยาง เมื่อกลุ่มผู้ใช้สินค้าและวัตถุประสงค์การใช้สินค้าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์จะใช้วิธีติดต่อกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมโดยตรงและไม่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และในการจำหน่าย เสนอจำหน่าย และโฆษณาสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้า "" นั้นจะปรากฏชื่อและเครื่องหมายการค้าคำว่า "BIOMERIEUX" อยู่ด้วยเสมอ จึงช่วยสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์กับสินค้าของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของโจทก์มีเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นคำว่า "" และเครื่องหมายการค้า "" แต่เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของเครื่องหมายการค้าทั้งสามแล้ว มีความแตกต่างในเรื่องจำนวนตัวอักษรและตัวอักษรที่ต่างกัน รูปลักษณ์เครื่องหมายการค้าทั้งสามจึงต่างกัน เมื่อพิจารณาถึงรายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนแม้จะเป็นสินค้าจำพวก 9 เช่นเดียวกันทั้งสามเครื่องหมาย แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอของโจทก์เป็นสินค้าประเภทเครื่องและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เครื่องและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่ใช้ในทางการแพทย์ กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่จึงเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และสินค้าของโจทก์ถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ส่วนสินค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" เป็นหลอดแก้วที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ ซึ่งถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการทางโลหิตวิทยา ซึ่งกลุ่มผู้ใช้สินค้าเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทางการแพทย์ซึ่งย่อมต้องมีความรู้ความชำนาญในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นอย่างดี จึงย่อมทราบความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของบุคคลอื่น ใช้กับรายการสินค้าที่เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับด้านการสื่อสารทางเสียง จึงไม่ใช่สินค้าที่มีลักษณะเดียวกับสินค้าโจทก์ ทั้งช่องทางการจำหน่ายของโจทก์เป็นการขายตรงต่อลูกค้าไม่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป จึงยากที่กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์จะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงไม่ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13 และ 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์ประวัติความผิดเดิมของจำเลย โจทก์มีหน้าที่นำสืบ
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 นั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ซึ่งเป็นการรับสารภาพว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ แม้จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ฟ้องขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การรับในประเด็นดังกล่าว จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับในเรื่องการวางโทษทวีคูณ และไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้ได้เอง เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถูกลงโทษปรับ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อีก จึงไม่อาจวางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13584/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน vs. ป.อ.272: ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าเฉพาะบทบัญญัติ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าที่จำพวกที่ 9 รายการสินค้า ตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) มาใช้โดยทำให้ปรากฏที่ซองถุงลมกันกระแทกสำหรับบรรจุตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรของผู้เสียหายกับสินค้าตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) ของจำเลยทั้งสอง โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่อยู่ในซองถุงลมกันกระแทกดังกล่าวเป็นสินค้าของผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 บัญญัติไว้เป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว ดังนี้ การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น เพราะหากเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าดังที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ได้บัญญัติไว้เป็นบทเฉพาะอยู่แล้ว บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 272 (1) จึงมีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแก่ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความที่เป็นเครื่องหมายการค้าเฉพาะที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน เมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้เสียหายมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหายจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้อีก แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ไม่ใช่เรื่องการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหานี้แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้
ป.อ. มาตรา 29 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ..." คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่พิพากษาว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 โดยไม่ได้ระบุให้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 29 และ 30 เป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับโดยไม่ได้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มาชดใช้ค่าปรับก่อนแล้วให้กักขังจำเลยที่ 2 แทนค่าปรับทันที ซึ่งเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับที่ไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16358/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คล้ายคลึงกันของเครื่องหมายการค้าทำให้สับสน: เพิกถอนเครื่องหมายการค้าได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 61(4)
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดในขณะที่จดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (4) หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้านั้นเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกันในสาระสำคัญหรือในลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้านั้นหรือไม่ หากเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำนอกจากจะต้องพิจารณาลักษณะเด่นหรือสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าแล้วยังต้องพิจารณาถึงสำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้านั้น และที่สำคัญต้องพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้านั้นใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ด้วย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "แทงโก้" และอักษรโรมันคำว่า "Tango" แต่คำว่า "Tango" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนกับคำว่า "TANGO", "TANGO THINS", "TANGO MAXCRUNCH" และ "TANGO SAPPHIRE" ของ จ. และคำว่า "TANGO" เป็นคำนำหน้าในเครื่องหมายการค้าทั้งสี่ซึ่งเป็นสาระสำคัญและลักษณะเด่นที่สาธารณชนผู้บริโภคสินค้าประเภทลูกอม ขนมหวาน และช็อกโกแลตจะจดจำในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวคำว่า "THINS" คำว่า "MAXCRUNCH" และคำว่า "SAPPHIRE" ที่ต่อท้ายคำว่า "TANGO" มิใช่สาระสำคัญหรือส่วนที่เป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าที่ผู้บริโภคจะจดจำเพื่อแยกแยะความแตกต่างในการเลือกซื้อสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าทั้งสี่ของ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5447/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน การจดทะเบียน และการใช้ในต่างประเทศ ไม่อาจใช้เป็นเหตุรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
แม้แนวความคิดของเครื่องหมายการค้าจะเป็นของโจทก์เองโดยมิได้มีการลอกแบบคิดของผู้อื่นมาก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวมีความเหมือนหรือคล้ายกับของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ย่อมเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน
มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนได้ หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่สมควรรับจดทะเบียนให้ โดยเจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนดังกล่าวต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตในราชอาณาจักร ดังนั้นแม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศเป็นเวลานานและนำไปใช้กับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าตามบทบัญญัติของมาตรานี้และกรณีไม่เข้าเงื่อนไขที่จะพิจารณาพฤติการณ์พิเศษเพื่อให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามบทกฎหมายดังกล่าวได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอขายสินค้าเลียนเครื่องหมายการค้าและสินค้าจำพวกเดียวกับที่จดทะเบียน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 มีองค์ประกอบความผิดที่เป็นสาระสำคัญ 2 ประการ ข้อแรก สาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดอยู่ที่ตัวเครื่องหมายการค้าว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงหรือเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้เสียหายไม่เคยอนุญาตให้ผู้ใดทำกล่องที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย เครื่องหมายการค้าบนกล่องจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายแต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อฟังว่าเครื่องหมายการค้าบนกล่องมิใช่เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงและจำเลยเสนอจำหน่ายสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเข้าองค์ประกอบประการแรกของความผิดฐานนี้แล้ว สำหรับองค์ประกอบความผิดข้อที่สอง เป็นสินค้าตามจำพวกที่จดทะเบียนไว้ เมื่อสินค้าตามวัตถุพยานเป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสินค้าจำพวก 9 ตรงตามสินค้าที่ผู้เสียหายจดทะเบียนไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา แม้จะมีข้อความบนฉลากในกล่องระบุว่าอุปกรณ์ในกล่องประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ระบายความร้อนประสิทธิภาพสูง แต่หน่วยประมวลผลกลางจะมีพัดลมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า ซึ่งมีความสำคัญและพัดลมเป็นส่วนควบของหน่วยประมวลผลกลาง ดังนั้น พัดลมระบายความร้อนจึงเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง มิใช่เป็นสินค้าที่ประสงค์จะแยกขายต่างหาก การที่จำเลยเสนอขายพัดลมระบายความร้อนที่ไม่ได้ผลิตโดยผู้เสียหายพร้อมกับหน่วยประมวลผลกลางในลักษณะทำให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหาย จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน เป็นเหตุต้องห้ามการจดทะเบียนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นขอจดทะเบียนมีรูปเครื่องหมายโดยมีลักษณะเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายมังกรและสิงห์ และมีอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS MEN" อ่านว่า เอ็กซ์เพรส เมน ส่วนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ได้แก่ซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรสซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรส เวิล แบรนซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรสแฟชั่น และ 3 - EXPRESS ซึ่งอ่านว่า ทรี เอ็กซ์เพรส เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งสี่เครื่องหมายแล้ว พบว่ามีอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS" เป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมาย ซึ่งคำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้จะมีภาคส่วนของรูปประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายมังกรและสิงห์ประกอบอยู่ด้วย แต่ก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS" ซึ่งเป็นภาคส่วนที่วางอยู่ด้านบนของตัวมังกรและสิงห์อย่างเด่นชัด มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนคำว่า "MEN" เป็นตัวอักษรประดิษฐ์ที่ซ่อนอยู่ในรูปประดิษฐ์เหนือคำว่า "EXPRESS" ซึ่งยากแก่การสังเกตเห็น ดังนี้ คำว่า "EXPRESS" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นคำหลักที่ใช้เพื่อเรียกชื่อและแสดงว่าเป็นสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความคล้ายกันในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายแล้ว เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีคำและเสียงเรียกขานของคำในส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายคล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่มีภาคส่วนคำว่า "EXPRESS" ประกอบอยู่ด้วย ประกอบกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งสี่เครื่องหมายจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3, 14, 18 และ 25 รายการสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย และบริการจำพวกที่ 35 บริการจัดการขายเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์บำรุงที่ใช้ส่วนตัวในร้านค้าปลีก ส่วนจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ (ยกเว้นเสื้อชั้นใน และเสื้อกีฬา) กางเกงชั้นใน กรณีจึงเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "EXPRESS" เป็นสินค้าที่ผลิตจากโจทก์ อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13 (2)
of 2