คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.แรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างทุกประเภทได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงาน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งมิได้กำหนดหรือแบ่งแยกประเภทของลูกจ้างที่มีสิทธิฟ้องร้องไว้ ลูกจ้างทุกประเภทจึงมีสิทธิฟ้องนายจ้างได้เมื่อถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายวันหรือลูกจ้างประจำก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจากบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างว่ากรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่มีเหตุอันสมควร ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือใช้ค่าเสียหายได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยประสงค์เพียงจะรับทหารผ่านศึกซึ่งพิการทุพพลภาพและครอบครัวเข้าทำงานแทนโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยประการใด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนต่อการประกอบอาชีพตามปกติ จึงไม่ใช่เหตุอันสมควร ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้เพราะมีงบประมาณจำกัดและไม่มีตำแหน่งงานให้โจทก์ ในข้อนี้จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างทุกประเภทมีสิทธิฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.แรงงาน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมิได้กำหนดหรือแบ่งแยกประเภทของลูกจ้างที่มีสิทธิฟ้องร้องไว้ ลูกจ้างทุกประเภทจึงมีสิทธิฟ้องนายจ้างได้เมื่อถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายวันหรือลูกจ้างประจำก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจากบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 49 บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างว่ากรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่มีเหตุอันสมควร ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือใช้ค่าเสียหายได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยประสงค์เพียงจะรับทหารผ่านศึกซึ่งพิการทุพพลภาพและครอบครัวเข้าทำงานแทนโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยประการใด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนต่อการประกอบอาชีพตามปกติ จึงไม่ใช่เหตุอันสมควร ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้เพราะมีงบประมาณจำกัดและไม่มีตำแหน่งงานให้โจทก์ ในข้อนี้จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและลูกจ้าง แม้คำสั่งเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.แรงงานฯ
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่างๆ แม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375-1437/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ศาลพิพากษาชอบธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงาน และประเด็นค่าล่วงเวลา
โจทก์ทั้งหกสิบสามบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างแรงงานแทนบริษัท ฤ. นายจ้างซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ในประเทศกาตาร์ แม้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างและส่งโจทก์ทั้งหกสิบสามไปทำงานที่ประเทศกาตาร์โดยเป็นตัวแทนของบริษัท ฤ. หรือฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ตกลงรับโจทก์ทั้งหกสิบสามเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ หากจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดในฐานะตัวแทนของตัวการที่อยู่ต่างประเทศหรือในฐานะนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง ไม่ถือว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยหรือพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดพยานหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้ออ้างในคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น
โจทก์ทั้งหกสิบสามฟ้องขอให้จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันธนาคารหรือออกหนังสือแสดงความยินยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชี เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยเรียกให้ธนาคารชำระเงินและธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันของโจทก์ทั้งหกสิบสามให้แก่จำเลยแล้ว จึงให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ทั้งหกสิบสาม ซึ่งเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินที่ ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามที่เห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งหกสิบสามโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ให้จำเลยคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์แต่ละคนวางไว้ที่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้โจทก์ทั้งหกสิบสามได้
of 2