พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นตำแหน่งกรรมการลูกจ้างและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีข้อเรียกร้องยังไม่สิ้นสุด
เหตุของการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48 นั้น ใช้บังคับทั้งกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา 45 วรรคสอง และเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นตามมาตรา 46 วรรคสองด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้วและข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 เท่านั้น เมื่อสหภาพแรงงาน ท.ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย แล้วมีการเจรจากัน แต่ตกลงกันไม่ได้สหภาพแรงงาน ท.จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบตามมาตรา 21 และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้งจนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว สหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ ซึ่งจำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ ดังนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป ลูกจ้างจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ และเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อนายจ้างได้ออกคำสั่งอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและได้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกคำสั่งใหม่อันจะมีผลให้ลูกจ้างต้องเสียประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหาได้ไม่ และเมื่อนายจ้างออกคำสั่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายนอกเหนือจากที่จะได้รับบำเหน็จตามคำสั่งเดิมโดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างและการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ศาลไม่จำต้องยึดข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่ ก. เนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพราะการกระทำความผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ไม่ใช่มูลเหตุเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ คดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คำร้องทั้งสามฉบับของ ก. กล่าวหาว่าโจทก์เลิกจ้าง ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้คำร้องสองฉบับแรกจะไม่ระบุว่าโจทก์ได้เลิกจ้าง ก. เพราะเหตุที่ ก. ทำคำร้องและให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่ก็ได้ระบุเหตุดังกล่าวในคำร้องกล่าวหาเพิ่มเติมฉบับที่สาม ซึ่งชอบที่ ก. จะกระทำได้ เมื่อจำเลยได้รับคำร้องดังกล่าวแล้วก็ย่อมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่จะนำบทบัญญัติในเรื่องแก้ไขคำฟ้อง คำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180,187 มาใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การประเมินผลงานที่ไม่เชื่อมโยงกับความผิดตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เว้นแต่ลูกจ้างกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123(1) ถึง (5)โจทก์เลิกจ้างจำเลยเพราะหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน โดยนำเอาสาเหตุการลาป่วย ลากิจ และการมาทำงานสายของจำเลยมาเป็น เกณฑ์ในการประเมิน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำอย่างใดอย่าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123(1) ถึง (5) แม้ตามข้อบังคับของโจทก์กำหนดให้โจทก์มีอำนาจนำเอาผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย เลิกจ้าง และการพิจารณาปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนด้วย โจทก์อาจจะ โยกย้ายหรือไม่ปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนให้จำเลยได้ แต่โจทก์ก็ไม่อาจเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 การเลิกจ้างของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคุ้มครองลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เดิมโจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างกะเช้าหยุดรับประทานอาหาร ตั้งแต่เวลา 9.00-10.30 นาฬิกา โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างคนใดจะต้องหยุดรับประทานอาหารในเวลาใด ต่อมาโจทก์ได้กำหนดเวลารับประทานอาหารแก่ลูกจ้างเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 30 นาที และกำหนดให้ ต. รับประทานอาหารเมื่อเวลา 10 นาฬิกา ดังนี้ การกำหนดเวลารับประทานอาหารที่แน่นอนต่อลูกจ้าง โจทก์ได้กำหนดตามเวลาในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม โจทก์ไม่ได้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเวลาใหม่แต่ได้กำหนดเวลาสำหรับลูกจ้างแต่ละคนให้แน่นอนเพื่อเป็นระเบียบในการทำงาน โจทก์ในฐานะนายจ้างซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาย่อมออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติตามได้ ถือว่าเป็นอำนาจในการบริหารหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะต้องมีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 13 ไม่ กรณีจะต้องบังคับตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123 หรือไม่ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะคำสั่งหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างฝ่าฝืนเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาว่าในสถานประกอบกิจการนั้นได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องใช้บังคับอยู่หรือไม่ด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ข้อความตอนท้ายบัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร หาได้จำกัดว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงานและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การยื่นข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ย
การที่บริษัทนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นสหภาพแรงงาน แล้วผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องและไม่ยอมเจรจานั้นถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานอันเป็นการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวและดำเนินการไกล่เกลี่ย ให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันต่อไปตามมาตรา 22 หากไม่อาจตกลงกันได้บริษัทนายจ้างและผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคท้าย ต่อไป จะใช้สิทธิทางศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ เพราะตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลสำหรับกรณีนี้แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงานและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การยื่นข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ย
การที่บริษัทนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นสหภาพแรงงาน แล้วผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องและไม่ยอมเจรจานั้นถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานอันเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวและดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันต่อไปตามมาตรา 22 หากไม่อาจตกลงกันได้บริษัทนายจ้างและผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคท้าย ต่อไป จะใช้สิทธิทางศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ เพราะตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลสำหรับกรณีนี้แต่ประการใดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 แม้ขาดสมรรถภาพ แต่ต้องมีการตักเตือนก่อน
การเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับนั้นลูกจ้างจะต้องกระทำผิดตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 จึงจะเลิกจ้างได้ การที่ลูกจ้างลากิจ ลาป่วยไม่เกินข้อบังคับและได้รับอนุญาตจากนายจ้าง และขาดสมรรถภาพในการทำงานเพราะลากิจ ลาป่วยหรือขาดงานบ่อยนั้นหาก่อให้เกิดสิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างนอกเหนือไปจากบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างจำเลยผู้เป็นลูกจ้างเพราะเหตุเหล่านี้ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบเงินทุนเลี้ยงชีพที่ไม่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศใช้บังคับขึ้นเองไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง แม้โจทก์จำเลยจะเคยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ข้อบังคับ ระเบียบการและคำสั่งของจำเลยเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518ก็ไม่ทำให้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ซึ่งมิได้เกิดจากการข้อเรียกร้องกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องไปได้ การที่จำเลยประกาศใช้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 202 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม2527 โดยเพิ่มเงื่อนไขที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพมากกว่าระเบียบฉบับที่ 67 อีกสองข้อ แล้วใช้บังคับแก่พนักงานใหม่ที่เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2527 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหักค่าจ้างเพื่อบำรุงสหภาพ ไม่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ตามรายชื่อและลายมือชื่อที่ยินยอมให้หัก แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุง ค่าฌาปนกิจ เป็นข้อตกลงอย่างอื่น ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม