พบผลลัพธ์ทั้งหมด 823 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เกินเลยฟ้อง - การสนับสนุนความผิด
ในชั้นอุทธรณ์มีปัญหาแต่เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 368 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยลงโทษจำเลยข้อหาสนับสนุน ด. กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ฟ้องว่าจำเลยแต่เพียงผู้เดียวที่กระทำความผิด มิได้ฟ้องว่าจำเลยร่วมกับ ด. กระทำความผิดแล้วข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองหรือเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกขึ้นวินิจฉัยย่อมเป็นข้อเท็จจริงนอกจากที่กล่าวในฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจใจให้ทำงาน-กักขังหน่วงเหนี่ยว: จำเลยต้องมีความผิดชัดเจน-ฟ้องต้องระบุรายละเอียด
ผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต่างประสงค์จะมาทำงานเป็นลูกเรือประมงตั้งแต่พบคนชักชวนแล้ว จึงมาพบจำเลยทั้งห้ากับพวก และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอีกเลยว่าผู้เสียหายทั้ง 27 คน เปลี่ยนใจไม่ประสงค์จะทำงานเป็นลูกเรือประมง จึงถูกจำเลยทั้งห้ากับพวกข่มขืนใจให้ต้องจำยอมดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ข้อเท็จจริงกลับฟังได้ว่าผู้เสียหายทั้ง 27 คน มีความประสงค์จะได้งานทำเป็นลูกเรือประมงจึงสมัครใจมาอยู่กับจำเลย ห้องแถวที่เกิดเหตุลักษณะเป็นที่อยู่อาศัย มิใช่ที่จองจำหรือกักขังคนแต่อย่างใด การที่จำเลยพาผู้เสียหายมาให้อยู่รวมกันโดยจัดหาอาหารให้รับประทาน แม้การออกไปภายนอกจะต้องอนุญาตก่อนก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการห้ามเด็ดขาดแต่อย่างใด พฤติการณ์น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องการให้อยู่พร้อมกันเพื่อที่จะลงเรือประมงตามที่ตกลงกันไว้ จึงยังฟังไม่ได้ว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยทั้งห้ากับพวกบังอาจร่วมกันข่มขืนใจและกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธขู่เข็ญให้จำยอมไปเป็นลูกเรือประมงตามที่จำเลยทั้งห้ากับพวกจะจัดสรรและมอบหมายให้ โดยจำเลยทั้งห้าขู่เข็ญว่าหากผู้เสียหายไม่ยินยอมจะถูกทำร้ายร่างกายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต้องจำยอมกระทำการตามที่ขู่เข็ญ ตามคำฟ้องหาได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งห้ากระทำการเช่นใดอันเป็นการกักขังหรือหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพ พอที่จะเข้าใจข้อหาในความผิดตามมาตรา 310 ได้ คำฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกามาด้วย และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยทั้งห้ากับพวกบังอาจร่วมกันข่มขืนใจและกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธขู่เข็ญให้จำยอมไปเป็นลูกเรือประมงตามที่จำเลยทั้งห้ากับพวกจะจัดสรรและมอบหมายให้ โดยจำเลยทั้งห้าขู่เข็ญว่าหากผู้เสียหายไม่ยินยอมจะถูกทำร้ายร่างกายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต้องจำยอมกระทำการตามที่ขู่เข็ญ ตามคำฟ้องหาได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งห้ากระทำการเช่นใดอันเป็นการกักขังหรือหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพ พอที่จะเข้าใจข้อหาในความผิดตามมาตรา 310 ได้ คำฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกามาด้วย และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้ในศาลแขวง: ไม่ต้องแนบสำเนา กฎหมาย/ประกาศ หากระบุข้อเท็จจริงการกระทำผิดชัดเจน
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา3 เมื่อตามบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามจำนวน 643 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อการค้า เป็นการระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิด แล้วหาจำต้องแนบสำเนาพระราชกฤษฎีกาและประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ เพราะไม่ใช่สาระสำคัญอันทำให้ฟ้องด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ คำฟ้องของโจกท์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดฐานนำเข้ายาเสพติดเกินกว่าที่บรรยายฟ้อง และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้ลงโทษประหารชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 แล้วจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เพียงการปรับบทลงโทษตามกฎหมายให้ถูกต้อง และตามกฎหมายที่ได้มีการแก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับบทกำหนดโทษเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดและลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนในส่วนเนื้อหาของความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นอันถึงที่สุดตามมาตรา 245 วรรคสอง จำเลยย่อมฎีกาไม่ได้
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องเป็นไปตามฟ้อง หากมีข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยได้
เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์เฉพาะส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องในข้อหานี้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิ เสรีภาพของโจทก์กับพวกเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องเลยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มาด้วยนั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการพิจารณาคดีนอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องหากข้อเท็จจริงเกินกว่าที่กล่าวในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหาทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงสิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวกโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวก แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตามมาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8822/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเช็คต้องระบุหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย หากขาดองค์ประกอบนี้คำฟ้องไม่ชอบ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคบได้ตามกฎหมายและข้อความดังกล่าวเป็นองค์ประกอบของความผิด เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องข้อความดังกล่าวไว้ แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ก็ย่อมต้องถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องขาดองค์ประกอบความผิดในมาตรา 4 คำฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัด: การคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารและอัตราดอกเบี้ยทั่วไปหลังฟ้อง
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ข้อ 5 ระบุว่าไม่ให้นำประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับนี้มาใช้บังคับแก่กรณีการให้สินเชื่อโดยตกลงกันเป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ย่อมมีผลทำให้ธนาคารโจทก์ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในการเรียกดอกเบี้ยจากเงินสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับนี้เท่านั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมมีอิสระในการตกลงอัตราดอกเบี้ยกันเองได้ โดยจะตกลงกันใช้อัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารโจทก์ในเรื่องนี้ก็ได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 สูงกว่าที่ตกลงกันไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับ กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญา มิใช่เป็นการเรียกเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ได้ ส่วนหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยไม่ชำระเงินจำนวน 126,810 ดอลลาร์สหรัฐ ที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยในสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดไว้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวในระหว่างผิดนัดได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เท่านั้น
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 สูงกว่าที่ตกลงกันไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับ กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญา มิใช่เป็นการเรียกเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ได้ ส่วนหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยไม่ชำระเงินจำนวน 126,810 ดอลลาร์สหรัฐ ที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยในสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดไว้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวในระหว่างผิดนัดได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการแยกความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่าย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยมีและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135ฯ เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนมติผู้ถือหุ้น ต้องฟ้องบริษัทโดยตรง แม้การจดทะเบียนกระทำผ่านกรรมการ
ป.พ.พ. มาตรา 1157 บัญญัติว่า "การตั้งกรรมการขึ้นใหม่นั้น ตั้งใครเมื่อใด ท่านให้นำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ตั้งจงทุกครั้ง" การที่บริษัท ว. โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจของกรรมการตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนไว้ จึงเป็นกรณีที่บริษัท ว. เป็นผู้นำความเกี่ยวกับการตั้งกรรมการขึ้นใหม่ไปจดทะเบียนตามบทกฎหมายดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่า การกระทำของบริษัท ว. เป็นการกระทำที่มิชอบทำให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทได้รับความเสียหายเพราะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก็ชอบที่จะ ต้องฟ้องบริษัท ว. ในฐานะที่กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ให้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยตรง เพราะแม้การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะได้กระทำโดยจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท ว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่นเป็นจำเลยกรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์มาในฟ้อง อันเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจจะพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ตลอดทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะต้องรับฟ้องคดีไว้เพื่อรอให้บริษัท ว. ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพราะไม่อาจบังคับได้ตามคำฟ้องมาแต่ต้นแล้ว