พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่านาและการฟ้องขับไล่หลังสัญญาหมดอายุ ผู้เช่าสืบแทนมีสิทธิ/หน้าที่ตามสัญญาเดิม
เมื่อการเช่านาของ ข. ซึ่งอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะครบกำหนดระยะเวลาการเช่านาในวันที่ 6 มกราคม 2541 โจทก์ทั้งเจ็ดบอกเลิกการเช่านาและ ค.ช.ก. ประจำแขวงบางชันมีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่าจำนวน 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี มีผลให้ ข. ผู้เช่านามีสิทธิเช่านาถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 และเมื่อ ข. ผู้เช่านาถึงแก่ความตายในวันที่ 10 ธันวาคม 2540 โดยมีจำเลยเป็นผู้เช่านาสืบแทนต่อมา ผู้เช่าสืบแทนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ข. ผู้เช่าเดิมที่มีต่อผู้ให้เช่า ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยจึงมีสิทธิเช่านาพิพาทต่อไปจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว โดยโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งบอกเลิกการเช่านาแก่จำเลยพร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ ค.ช.ก. ประจำแขวงบางชันทราบตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 อีก เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากนาที่พิพาท โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์จากการประมูลขายทอดตลาด แม้มีการคัดค้าน การฟ้องขับไล่ทำได้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม
การพิจารณาเรื่องอำนาจฟ้องต้องพิจารณาในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาล คดีนี้โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 92998 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาล เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในทรัพย์พิพาทโดยบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ แม้ภายหลังจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม คงเป็นเพียงการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด เท่านั้น หาใช่เรื่องการขายทอดตลาดตกเป็นโมฆะไม่ และตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด สิทธิของโจทก์ในที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทก็ยังคงบริบูรณ์อยู่ คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีสบัญญัติของจำเลยไม่กระทบต่อสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ จำเลยจึงไม่มีสิทธิใดๆ ในที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์พิพาท จำเลยไม่ยอมออก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่และค่าเสียหายเกินเกณฑ์ที่ห้ามอุทธรณ์ฎีกา แม้เกี่ยวข้องกระบวนพิจารณา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท อันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกันก็ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดในที่ดินขายฝาก: ประเด็นอายุความและประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม
เรื่องค่าเสียหายโจทก์บรรยายกล่าวไว้ในคำฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้ การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องนั้นให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาล เมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วน และกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม ไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยานแต่อย่างใดจึงชอบแล้ว
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7662/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวม-การใช้ประโยชน์ที่ดิน-การฟ้องขับไล่-การใช้สิทธิขัดต่อสิทธิผู้อื่น
โจทก์ ป.น. และ ศ. ยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นส่วนสัดในที่ดินกรรมสิทธิ์รวม แต่การใช้ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของ ศ. ต้องเป็นการใช้ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของตนเอง การที่ ศ. อนุญาตให้จำเลยใช้ที่ดินปลูกบ้าน นอกจากจะมิใช่เป็นการใช้ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของตนเองตามสภาพปกติแล้วยังเป็นการใช้ที่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ จึงไม่มีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่ของผู้เช่าเดิม แม้จะมีการโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น
เดิมโจทก์เช่าอาคารพิพาทจากสุขาภิบาลแล้วให้จำเลยเช่าช่วงมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2536 เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาท ดังนี้ แม้โจทก์จะโอนสิทธิการเช่าอาคารให้แก่ ส. ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540 ก่อนฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยอาจใช้สิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าเรียกให้จำเลยส่งมอบอาคารพิพาทแก่โจทก์ได้ เพื่อโจทก์จะได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่ผู้รับโอนสิทธิการเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่าเดิม-บอกเลิกสัญญาใหม่-ฟ้องขับไล่ได้ แม้มีการรับค่าเช่าภายหลัง
สัญญาเช่าอาคารและพื้นที่ว่างด้านหลังอาคารระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาเช่าที่มีกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 564 ซึ่งย่อมระงับสิ้นไป เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ การที่ภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ได้ประกาศแจ้งความประสงค์แก่ผู้ที่ค้าขายหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่จำเลยเช่าว่าโจทก์จะไม่ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่ารายใดรวมถึงจำเลยด้วยนั้น ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลยให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ทั้งที่โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติเช่นนั้น การที่โจทก์ยอมรับค่าเช่าจากจำเลยต่อมาเป็นเพียงรับไว้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับอยู่จากการที่จำเลยยังไม่ส่งมอบพื้นที่เช่าเท่านั้นหาใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาแต่อย่างใดไม่เมื่อจำเลยยังไม่ออกจากพื้นที่เช่าดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่า: ค่าเช่าไม่เกิน 4,000 บาท เป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสามในอัตราค่าเช่าเดือนละ 2,100 บาท แม้โจทก์ทั้งสามจะเรียกค่าเสียหายหลังจากครบกำหนดสัญญาเช่าเดือนละ 11,700 บาท มาด้วย ก็ไม่ใช่ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้เกิน 4,000 บาท กรณีที่จะต้องใช้เกณฑ์ "อาจให้เช่า"นั้น จะต้องเป็นกรณีฟ้องผู้อาศัยหรือผู้กระทำละเมิดอันกำหนดค่าเช่าไม่ได้ คดีนี้เป็นการฟ้องขับไล่ผู้เช่าซึ่งกำหนดค่าเช่าไว้ชัดแจ้ง เมื่อค่าเช่าไม่เกิน 4,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่ที่มีทุนทรัพย์รวม: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และการพิจารณาคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์
การฟ้องคดีขับไล่หาได้มีความหมายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเสมอไปเพราะเป็นคนละเรื่องกัน
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาเช่า และค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธานจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาท และศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น จึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง แต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การอุทธรณ์เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่แพ้คดี เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ก็ควรพิจารณาโดยเคร่งครัด เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อเป็นการไม่ชอบ และเห็นได้ชัดว่าคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์ตามฟ้องและที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะวินิจฉัยคดีนี้ไปเสียทีเดียวได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาเช่า และค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธานจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาท และศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น จึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง แต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การอุทธรณ์เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่แพ้คดี เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ก็ควรพิจารณาโดยเคร่งครัด เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อเป็นการไม่ชอบ และเห็นได้ชัดว่าคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์ตามฟ้องและที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะวินิจฉัยคดีนี้ไปเสียทีเดียวได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในคดีฟ้องขับไล่ที่มีทุนทรัพย์ผสม ศาลต้องพิจารณาแยกส่วนคดีไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์
การฟ้องคดีขับไล่หาได้มีความหมายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเสมอไป การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์เท่านั้นแต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ก่อนบอกเลิกสัญญาเช่าและค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง
แม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธาน จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาทแม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงฐานะที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ
แม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธาน จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาทแม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงฐานะที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ