พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7738/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-มูลหนี้ไม่ระงับ: แม้มีคำพิพากษาคดีจำนองแล้ว ศาลยังบังคับตามเช็คพิพาทได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญากู้ยืมเงินและจำนองขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 974,629 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากไม่ชำระให้นำที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งจะเห็นว่าตามสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ มูลฟ้อง และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแตกต่างกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องเรื่องเดียวกัน แม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากการกู้ยืมและสัญญาจำนองเช่นเดียวกัน ฟ้องคดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระให้เสร็จสิ้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระให้เสร็จสิ้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญา ยักยอกทรัพย์
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย แม้การขอให้คืนหรือใช้เงินจะเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีข้อตกลงกับโจทก์ว่าในระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดและยอมเสียค่าปรับให้โจทก์อีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่โดยยักยอกเงินของโจทก์ด้วยวิธีการต่างๆ หลายครั้งรวมเป็นเงิน 1,222,095 บาท อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวและค่าปรับตามสัญญาให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกพร้อมค่าปรับ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งของคดีอาญาคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแพ่งจากสัญญาจ้างแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาเรื่องยักยอกเงิน แม้มีคำขอให้คืนเงินเหมือนกัน
คดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อันเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงิน เก็บรักษาเงิน อนุมัติและเบิกจ่ายเงิน ตกลงว่าระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดพร้อมค่าปรับอีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหาย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินโจทก์ไปหลายครั้ง อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้เงินที่ยักยอกและค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ซึ่งเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีมูลจากสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน มิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาเรื่องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
คำฟ้องของโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ได้นั้น ในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน ซึ่งคำว่าโจทก์นี้ร่วมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเดียวกับโจทก์ เช่น เจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกับคดีแรกด้วยกล่าวคือ มูลเหตุที่มาแห่งคดีต้องอาศัยหลักแหล่งแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน ในกรณีเรียกค่าเสียหายในเรื่องเดียวกัน โจทก์จะต้องฟ้องมาในคราวเดียวกันจะมาฟ้องเพิ่มในภายหลังเป็นอีกคดีหนึ่งไม่ได้แม้โจทก์จะสงวนสิทธิไว้ก็ตาม สำหรับคดีนี้แม้พนักงานอัยการจะฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาไปแล้วก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยนั้นก็เนื่องมาจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเรียกได้เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยคดีแรกจึงยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยมาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้แล้วแต่ไม่เรียก หากแปลความว่าฟ้องของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีหลังซึ่งเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นฟ้องซ้อนทั้งหมด ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ผลจะกลายเป็นว่าคดีใดพนักงานอัยการฟ้องคดีส่วนแพ่งแทนผู้เสียหายไปแล้วจำเลยคนนั้นกลับไม่ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยและก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็นระหว่างจำเลยด้วยกันรับผิดไม่เท่ากัน โดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิดขั้นตอนกระบวนพิจารณาแต่ประการใด และซ้ำเติมผู้เสียหายซึ่งเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง กฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เช่นนั้น ดังนั้น ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาคดีก่อนเฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาเดิมที่ไม่เคยฟ้องมาก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว? (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น? ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ฟ้องโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้นในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน รวมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับโจทก์ เช่นเจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น หลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งคือ เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังยังต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแรกด้วย
พนักงานอัยการเคยฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ในคดีแรกยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกได้แล้วไม่เรียก การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้แต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
พนักงานอัยการเคยฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ในคดีแรกยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกได้แล้วไม่เรียก การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้แต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้านี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์ที่ศาลจังหวัดปัตตานีจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วยกรณีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 (เดิม) ที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น คดีนี้ศาลจังหวดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรมดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ให้จำหน่ายคดีโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนมานั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อำนาจพิจารณาคดี: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีได้ แม้ศาลอื่นประทับฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามข้อหาหมิ่นประมาทต่อศาลจังหวัด ก. เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2542 ไว้แล้ว โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัด ป. อีกในวันรุ่งขึ้น ฟ้องคดีหลังของโจทก์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัด ป. ไม่ชอบไปด้วย แม้ศาลจังหวัด ก. จะไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาหลังจากศาลจังหวัด ป. มีคำสั่งประทับฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 (เดิม) เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลจังหวัด ป. มีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลจังหวัด ก. ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเป็นศาลแรก จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วย
กรณีที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้รับประทับฟ้องไว้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 เดิม ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาคดีแรกต่อไปได้
กรณีที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้รับประทับฟ้องไว้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 เดิม ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาคดีแรกต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดก – การฟ้องคดีซ้ำที่มีประเด็นวินิจฉัยเดียวกันกับคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อนโจทก์เคยให้พนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุทองดี โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านในคดีก่อนว่า ทรัพย์ที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นว่า พระภิกษุทองดีได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่ และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี ไม่มีเหตุที่จะตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อนว่า ทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาก่อนบวชเป็นพระภิกษุที่วัดจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย เมื่อในคดีก่อนพนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรีร้องขอแทนโจทก์ ศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยฟ้องของโจทก์คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดกที่ศาลเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องคดีซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้าม
คดีแพ่งเรื่องก่อนพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ท. โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยคดีนี้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ท. ที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย จึงมีประเด็นว่า พระภิกษุ ท. ได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อน แม้คดีก่อนพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้อยู่แล้วให้พนักงานอัยการร้องขอแทน จึงถือได้ว่าเป็นการร้องขอแทนโจทก์ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทย่อมถือได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)