พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดมูลค่าทุนทรัพย์ในคดีแย่งการครอบครองที่ดินเมื่อโจทก์ฟ้องรวมกัน แต่สิทธิเป็นของแต่ละคน
คดีนี้โจทก์ทั้งสองกล่าวฟ้องเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง จำเลยเข้ามาแย่งการครอบครองและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ละคน ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ละคน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ดังนั้น ทุนทรัพย์ของคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งหรือไม่จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีรวมทุนทรัพย์หลายคน ศาลคำนวณค่าขึ้นศาลรายบุคคลเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานแล้วจึงพบเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถฟ้องได้โดยลำพัง น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลจึงกำหนดเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้อง เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) มิใช่คำสั่งตามมาตรา 18 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียได้
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรวมคดีไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลจำหน่ายคดีได้ แม้โจทก์อ้างตัวแทนเดียวกัน
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส. ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 บริษัท ค.และห้าง ส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าส. กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ผูกพันกันเฉพาะชื่อ ผู้ทำการแทนคือ ส. เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์ดังกล่าวฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตก ต่างจากกัน โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียว การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามป.วิ.พ. มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาล เมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องรวมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้ เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรวมคดีที่โจทก์ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเพื่อให้ฟ้องใหม่ได้
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส.ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3บริษัท ค.และห้างส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าส.กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันผูกพันกันเฉพาะชื่อผู้ทำการแทนคือ ส.เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์หลายคนฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตกต่างจากกันไป โจทก์ทั้งห้าจึงหามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียวไม่
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมทุนทรัพย์สัญญาหลายฉบับเพื่อพิจารณาอำนาจฎีกาในคดีที่ฟ้องรวมกัน
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยคนเดียวรับผิดชำระเงินกู้ 2 รายมาในคำฟ้องเดียวกันโดยแยกทำสัญญากู้เป็น 2 ฉบับการวินิจฉัยสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจะต้องคำนวณโดยการรวมทุนทรัพย์ตามสัญญากู้ทั้ง 2 ฉบับ ในคำฟ้องนั้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2523) หมายเหตุ คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 1076/2514(ประชุมใหญ่)วินิจฉัยทำนองเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ร่วม: การฟ้องละเมิดร่วมกัน แม้ค่าเสียหายต่างกัน ก็รวมฟ้องได้ตามมาตรา 59 ว.พ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 บัญญัติว่า"บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ......ฯลฯ" ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสารสำคัญ ฉะนั้นในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกันแม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับรองบุตรพร้อมเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู และผลของการเป็นบุตรโดยคำพิพากษา
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเสียก่อน แล้วจึงมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในภายหลัง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2085/2499)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมาดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์นั้น ไม่เป็นคดีอุทลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์จนเกิดบุตรด้วยกัน 1 คน เมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีเอกสารของจำเลยแสดงชัดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(3) ก็ตาม โจทก์ก็ฟ้องได้ เพราะโจทก์ได้บรรยายได้ด้วยว่าโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรจำเลย ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(5)
การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยคำพิพากษานั้น ต้องเริ่มแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมาดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์นั้น ไม่เป็นคดีอุทลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์จนเกิดบุตรด้วยกัน 1 คน เมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีเอกสารของจำเลยแสดงชัดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(3) ก็ตาม โจทก์ก็ฟ้องได้ เพราะโจทก์ได้บรรยายได้ด้วยว่าโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรจำเลย ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(5)
การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยคำพิพากษานั้น ต้องเริ่มแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานฟ้อง: บิดาฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ และฟ้องในฐานะส่วนตัว พิจารณาจากฟ้องรวม
การที่จะถือว่าโจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวโดยเฉพาะหรือในฐานะแทนเด็กผู้เป็นบุตรด้วยนั้น จะต้องพิจารณาฟ้องรวมกันทั้งฉบับ
หน้าฟ้องตรงช่องชื่อโจทก์ระบุว่า 'นายนวลบิดาเด็กชายยุทธนา พวงมาลัย' ดังนี้ นอกจากแสดงว่านายนวลเป็นบิดาเด็กชายยุทธนาแล้ว ยังแสดงว่ามีความหมายหรือความประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดด้วย มิฉะนั้นคงกล่าวง่ายๆ เพียงว่า นายนวลโจทก์
ในฟ้องระบุถึงการกระทำของจำเลยซึ่งกระทำละเมิดต่อเด็กชายยุทธนาทั้งกล่าวด้วยว่าการกระทำโดยประมาทของจำเลยเป็นเหตุให้เด็กชายยุทธนาบุตรโจทก์และโจทก์เสียหาย เรียกค่าเสียหาย 3 ประการ แม้ตามฟ้อง เมื่อกล่าวถึงเด็กชายยุทธนาจะใช้ถ้อยคำว่า 'บุตรโจทก์' ต่อท้ายจากคำว่าเด็กชายยุทธนาทุกแห่ง แต่เมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 ที่ว่า อำนาจปกครองอยู่แก่บิดา มาตรา 1541 ที่ว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจตามกฎหมาย โดยมิต้องมีการแต่งตั้งหรือมอบหมายแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงว่าโจทก์เสนอฟ้องทั้งในฐานะส่วนตัวและแทนเด็กชายยุทธนาบุตรผู้เยาว์ด้วย
หน้าฟ้องตรงช่องชื่อโจทก์ระบุว่า 'นายนวลบิดาเด็กชายยุทธนา พวงมาลัย' ดังนี้ นอกจากแสดงว่านายนวลเป็นบิดาเด็กชายยุทธนาแล้ว ยังแสดงว่ามีความหมายหรือความประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดด้วย มิฉะนั้นคงกล่าวง่ายๆ เพียงว่า นายนวลโจทก์
ในฟ้องระบุถึงการกระทำของจำเลยซึ่งกระทำละเมิดต่อเด็กชายยุทธนาทั้งกล่าวด้วยว่าการกระทำโดยประมาทของจำเลยเป็นเหตุให้เด็กชายยุทธนาบุตรโจทก์และโจทก์เสียหาย เรียกค่าเสียหาย 3 ประการ แม้ตามฟ้อง เมื่อกล่าวถึงเด็กชายยุทธนาจะใช้ถ้อยคำว่า 'บุตรโจทก์' ต่อท้ายจากคำว่าเด็กชายยุทธนาทุกแห่ง แต่เมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 ที่ว่า อำนาจปกครองอยู่แก่บิดา มาตรา 1541 ที่ว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจตามกฎหมาย โดยมิต้องมีการแต่งตั้งหรือมอบหมายแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงว่าโจทก์เสนอฟ้องทั้งในฐานะส่วนตัวและแทนเด็กชายยุทธนาบุตรผู้เยาว์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4541/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดียาเสพติด: ฟ้องรวมหลายบท ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถือเป็นที่สุดตามกฎหมายเฉพาะ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ, 151 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 แต่ก็ยังคงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง