พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย: การฟ้องล้มละลายสะดุดอายุความ และการขอรับชำระหนี้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2529 ให้ลูกหนี้ทั้งสองกับ ส.ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และโจทก์นำเอาหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2539 เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องลูกหนี้ทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุดมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 และมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ กำหนดไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้เข้าสวมสิทธิของโจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษานี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ในขณะที่อายุความสะดุดหยุดลง หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94(1) กรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการที่เจ้าหนี้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจะนำเอาระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาปรับใช้แก่กรณีนี้หาได้ไม่
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา ในการอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราเดียวกับค่ายื่นคำขอชำระหนี้คือ ให้คิดฉบับละ 25 บาทตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2)
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา ในการอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราเดียวกับค่ายื่นคำขอชำระหนี้คือ ให้คิดฉบับละ 25 บาทตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ ห้ามตามกฎหมาย แม้ทรัพย์สินเปลี่ยนไป เพื่อป้องกันการใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีก่อน โดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแต่ยังไม่พอชำระหนี้ และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วเนื่องจากยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ทั้งทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดไว้อาจขายทอดตลาดได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ก็ได้ จึงมีเหตุที่ยังไม่ควรให้ ล้มละลาย การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกในเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แม้คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากคดีก่อน โดยโจทก์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ ชำระหนี้ก็ตาม
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ห้ามฟ้องซ้ำหากศาลเคยยกฟ้องด้วยเหตุผลที่ยังคงมีผลอยู่ แม้ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีก่อนโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแต่ยังไม่พอชำระหนี้และจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีกอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว เนื่องจากยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ทั้งทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดได้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 304,500 บาท ซึ่งอาจขายทอดตลาดได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ก็ได้ จึงมีเหตุที่ยังไม่ควรให้ล้มละลาย โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกในเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แม้คดีนี้ โจทก์อ้างว่ามีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากคดีก่อน โดยโจทก์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินเพียง 42,900 บาท และโจทก์ได้รับชำระหนี้เพียง 36,479 บาทส่วนคดีก่อนยังมิได้ขายทอดตลาดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: ข้อจำกัดของโจทก์ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และการบังคับใช้กฎหมายล้มละลายที่แตกต่างกัน
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลย 450,000 บาท แต่สิทธิในการบังคับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 กำหนดให้เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่ชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ โจทก์มิใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 271 และโจทก์ไม่อาจเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายให้ไว้แก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 34 จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับดังกล่าวมาเปรียบเทียบและถือเป็นเหตุอันไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 34 จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับดังกล่าวมาเปรียบเทียบและถือเป็นเหตุอันไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกตาม พรบ.ล้มละลาย: การโอนทรัพย์สินหลังฟ้องล้มละลาย ไม่ได้รับความคุ้มครอง
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114(เดิม)ส่วนผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 รับโอนที่ดินมาจากผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆ กับจำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแต่ประการใดผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 จึงเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 116(เดิม) ซึ่งจะยกประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นปฏิเสธว่าตนได้รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้ก็ต่อเมื่อเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย แต่คดีนี้ผู้คัดค้านที่ 7ถึงที่ 9 ได้รับโอนที่ดินพิพาทหลังจากจำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6983/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องแสดงหลักฐานหนี้สินล้นพ้นตัว แม้ฟ้องก่อนบังคับคดี แต่ต้องพิสูจน์ฐานหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายก่อนสิ้นระยะเวลาบังคับคดี แม้การฟ้องคดีล้มละลายจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แต่การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าก่อนฟ้องจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9(1) เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงหนังสือของสำนักงานที่ดินที่ว่าได้ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองที่ดิน โดยพยานหลักฐานของโจทก์นอกจากนั้นไม่ได้แสดงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย การฟ้องคดีล้มละลายภายในอายุความทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
หนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาย่อมมีผลเป็นการฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้อย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ อันทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดีจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาใช้บังคับ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6385/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาคดีอาญา การฟ้องล้มละลาย และการเรียกดอกเบี้ย
คำพิพากษาในคดีอาญาที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 34,922 บาท จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับแรกคือส่งมอบทรัพย์คืนให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ส่งมอบทรัพย์และโจทก์ไม่สามารถบังคับคดีให้จำเลยทั้งสองร่วมส่งมอบทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยทั้งสองใช้ราคาทรัพย์จำนวน 34,922 บาท หนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์ ส่วนหนี้เงินจำนวน 34,922 บาท ตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวนั้นเป็นหนี้ซึ่งกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน อีกทั้งคำพิพากษาในคดีอาญานั้นก็มิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดในกรณีที่ใช้ราคาทรัพย์ แม้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 แต่การเรียกดอกเบี้ยตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้ต้องเสียหายที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้เมื่อฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิดังกล่าว มิใช่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวน 34,922 บาท จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและการบังคับคดีทำให้สะดุดหยุดลง แต่มีกรอบเวลา 10 ปี
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่า เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี จึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความ จึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. โดยอนุโลมจึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์มี คำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เป็นเพียง ขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น ไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี ไม่ทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. โดยอนุโลมจึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์มี คำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เป็นเพียง ขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น ไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี ไม่ทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและผลของการแจ้งการประเมินภาษี การอายัดทรัพย์สิน และการฟ้องล้มละลาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความจึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้