คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ฟ้องเอง ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนทำได้หรือไม่
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ ผู้จัดการมรดกของ ป. ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแทนทายาทมรดกและการเพิกถอนการโอนมรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อบุคคลภายนอก
การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ดำเนินคดีแทน ห. กับพวกเพราะ ห. กับพวกต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นมารดาโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยโอนที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของนาย อ. ให้นาง อ. แต่เพียงผู้เดียวไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกของนาย อ. คืนให้กองมรดกนั้นเป็นการกล่าวอ้างว่านาง อ.มีส่วนร่วมกับจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของ ห. กับพวกด้วยโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยแทน ห. กับพวกได้และมีสิทธิฟ้องนาง อ.ซึ่งร่วมกับจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของ ห. กับพวกได้ด้วยเพราะ มูลคดีเกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องนาง อ.ผู้รับโอนที่ดินมาด้วยศาลจึงไม่อาจพิพากษาคดีให้มีผลไปถึงนาง อ.ผู้รับโอนที่ดินซึ่งเป็น บุคคลภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
เมื่อบริษัทจดทะเบียนแล้วถือว่าเป็น บุคคลมีสิทธิหน้าที่ต่างหากจาก ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้นโจทก์ซึ่งเป็นเพียง ผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงมิได้อยู่ในฐานะ เจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169วรรคแรกต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก. นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก. ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก. และต้องรับผิดต่อบริษัท ก. มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายหาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก. ไม่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก. จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา9ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหายดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้ - การฟ้องแทนโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่เป็นหนี้มารดาโจทก์ จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทำแทนมารดาโจทก์ โจทก์และจำเลยจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกันโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวโดยมิได้รับมอบอำนาจฟ้องจากมารดาโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการโอนหนี้: โจทก์ฟ้องแทนเจ้าหนี้เดิมโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้มีการอ้างการยกหนี้ในภายหลัง
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้มารดาโจทก์ โจทก์ทำหนังสือรับสภาพหนี้แทนมารดาโจทก์ให้จำเลยลงชื่อ โจทก์และจำเลยจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกันเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีในนามของตนเองโดยมิได้รับมอบอำนาจจากมารดาโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์นำสืบและอ้างในคำแก้ฎีกาว่า มารดาโจทก์ยกหนี้รายนี้ให้โจทก์โดยโจทก์มิได้ฟ้องตั้งประเด็นเช่นนั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัยศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวันอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีพินัยกรรมซ้ำโดยทายาทต่างคนกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องแทนกัน
คดีก่อน ท. ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับเดียวกันนี้เป็นโมฆะ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ในคดีนี้ได้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับ ท.ทั้งไม่ปรากฏว่าท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอันจะถือว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนทายาทรวมทั้งโจทก์ด้วย การที่ทายาทคนหนึ่งได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วจะถือว่าเป็นการฟ้องคดีแทนทายาทคนอื่น ๆ ด้วย หาได้ไม่ ฉะนั้นโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรรมการลูกจ้าง: การฟ้องแทนคณะกรรมการโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย โดยทำงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ลซึ่งเป็นของจำเลย โจทก์ทั้งสองได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบการโรงแรมโอเรียนเต็ลโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๓๑ โจทก์กับกรรมการลูกจ้างอื่นราว ๑๑ คน ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการลูกจ้างทั้งหมด ทำหนังสือถึงจำเลยขอให้จัดประชุมร่วมหารือระหว่างกรรมการลูกจ้างกับจำเลยตามกฎหมาย แต่จำเลยปฏิเสธที่จะจัดประชุม การกระทำของจำเลยมิชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธื พ.ศ. ๒๕๑๘ ทำให้โจทก์ทั้งสองในฐานะกรรมการลูกจ้างได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยจัดประชุมร่วมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
of 7