คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบรรยายฟ้องคดีแพ่ง: ไม่ต้องละเอียดเท่าคดีอาญา เน้นสภาพแห่งข้อหาและคำขอ
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่าฟ้องจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้นหาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง แม้โจทก์ไม่แนบบัญชีกระแสรายวันมาท้ายฟ้องและมิได้บรรยายโดยละเอียดตั้งแต่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หรือบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน และทำใบนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันในแต่ละเดือนเท่าใดอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องคำให้การสั่งงดชี้สองสถานแล้ว พิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยฎีกาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมดังนี้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามตาราง1(2)(ข) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1440/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่: การบรรยายลักษณะข้อหาและคำขอในฟ้องแพ่งเพียงพอหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีที่ดินสองโฉนด คือโฉนดเลขที่2695 และ 2696 อยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 2716ของจำเลยเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 2695 มีต้นตาลปลูกอยู่บนคันนาของโจทก์เป็นแนวเขตจำเลยได้บุกรุกเข้ามาตัดต้นตาลของโจทก์ 5 ต้น ทำให้โจทก์เสียหายขอให้ห้ามจำเลยไม่ให้เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้วโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดกรณีพิพาทในฟ้องดังเช่นการบรรยายฟ้องในคดีอาญาแต่อย่างใดฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: ผู้เสียหาย (นิติบุคคล) รู้ตัวผู้ต้องชดใช้ค่าเสียหายเมื่อใดเป็นสำคัญ ไม่ใช่วันที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานอื่น
ข้อเท็จจริงที่จำเลยละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นความประมาทเลินเล่อในขณะเกิดเหตุได้ปรากฏในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แม้คณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่ควรให้จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งกรมทางหลวงโจทก์เห็นพ้องด้วย จึงแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบ แสดงว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันบันทึกแสดงข้อความที่เห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการ หาใช่ถือเอาวันที่ได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังว่าจำเลยต้องรับผิดเป็นวันที่โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ เพราะโจทก์เป็นผู้เสียหายและเป็นนิติบุคคลมีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้เอง ไม่ต้องรอฟังคำสั่งจากกระทรวงการคลังแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล, อายุความฟ้องแพ่งใช้อายุความอาญาเมื่อไม่มีการฟ้องคดีอาญา
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาแทนเด็กจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)(เดิม) เมื่อบิดาโจทก์ทำสัญญาแทนโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรก บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา จึงต้องนำอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับ หากการกระทำของจำเลยเป็นความผิดก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความผิดอาญา: ผู้แทนจำหน่ายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์เป็นเพียงผู้แทนให้จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า บี.เอ็ม.ดับบลิว ของบริษัท ม. โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความผิดทางอาญาดังนั้นโจทก์จะอาศัยสิทธิตามกำหนดอายุความตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คืออายุความ 10 ปี) มาเป็นกำหนดอายุความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้คืนทรัพย์ในคดีอาญา สิ้นสุดเมื่อไม่มีความผิดฐานยักยอก ผู้เสียหายต้องฟ้องทางแพ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ประกอบกับมาตรา 44 วรรค 2 อำนาจของพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สิน หรือราคาแทนผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ย่อมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคดีอาญา และอำนาจการพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งคดีอาญา เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกดังที่โจทก์ฟ้อง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 ย่อมสิ้นไป ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะพิพากษาให้คืน หรือใช้ราคาทรัพย์ได้
(ถูก 1039/2516 ประชุมใหญ่ ทับเสียแล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแพ่งหลังคดีอาญา: ผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้แม้เกิน 1 ปี
ขับรถยนต์ชนรถยนต์เขาโดยประมาทจนถูกผู้ว่าคดีฟ้องคดีอาญาศาลพิพากษาลงโทษแล้ว เจ้าของรถที่ถูกชนย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตร 51 วรรค 2 มีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายแม้เกิน 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแพ่งกรณีทรัพย์สินถูกยักยอก - การพิพากษาเฉพาะบางส่วน
โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่ายักยอกทรัพย์รายพิพาท และทรัพย์รายอื่นแต่ศาลคงพิพากษาว่า จำเลยยักยอกเฉพาะทรัพย์รายอื่น มิได้ยักยอกทรัพย์รายพิพาท ดังนี้ อายุความที่จะฟ้องในทางแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์รายพิพาทมิได้สะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 174 จึงต้องฟ้องเสียภายใน 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จตามมาตรา 158 ต้องเป็นการฟ้องในคดีอาญาเท่านั้น การฟ้องแพ่งไม่ถือว่าเป็นการฟ้องเท็จ
การฟ้องเท็จตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 158 นั้น เป็นเรื่องแกล้งเอาความที่รู้อยู่ว่าเป็นความเท็จไปร้องเรียน หรือฟ้องกล่าวโทษผู้อื่นการร้องเรียนหรือฟ้องกล่าวโทษนี้มุ่งหมายถึงการร้องเรียนหรือฟ้องกล่าวโทษในทางอาญา(อ้างฎีกาที่ 434-435/2472 และ38/2491) ถ้าเป็นฟ้องเท็จในทางแพ่ง ยังไม่เป็นผิดตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งทั้งจากละเมิดและผิดสัญญา ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่จำกัดว่าโจทก์ต้องเลือกว่าจะฟ้องทางใด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินไป 1,140 บาทโดยเอาโฉนดปลอมมาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน จนถึงกับฟ้องคดีอาญา ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยและให้จำเลยใช้เงิน 1,140 บาทแก่โจทก์ จำเลยได้นำเงิน 1,140 บาทไปชำระกองหมายตามหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายอย่างอื่นจากจำเลยอีก ดังนี้ ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 1,140 บาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตามอำนาจที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ให้ไว้และโจทก์ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการด้วย โจทก์ยังไม่ได้เรียกค่าเสียหาย จึงฟ้องคดีนี้ได้อนึ่งฟ้องดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นฟ้องทางลักษณะสัญญาโดยตรงในอันที่ศาลจะยกฟ้องเสียได้ โดยเห็นว่าสัญญากู้เป็นโมฆะแล้ว
ในทางแพ่ง กฎหมายไม่บังคับว่าการฟ้องคดีที่เป็นได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญานั้นโจทก์จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง โจทก์จะฟ้องโดยบรรยายข้อเท็จจริงและเรียกค่าเสียหายมาเฉยๆ ก็ได้ ศาลมีหน้าที่ต้องเอาตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีนั้นว่า ตามฟ้องโจทก์นั้นมีกฎหมายให้โจทก์ได้ค่าเสียหายหรือไม่
of 3