พบผลลัพธ์ทั้งหมด 754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง สัญญาค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ทำให้มีสิทธิฟ้องแทน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีฟ้องแย้ง ศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียวได้ และการห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและได้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วยเมื่อโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย หาใช่ต้องจำหน่ายคดีสำหรับฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, ขาดนัดพิจารณา, การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว, ฟ้องแย้ง, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่ามีค่าเช่าเดือนละ 24,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าค่าเช่ามีเพียงเดือนละ 2,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท และในส่วนฟ้องแย้งนั้นจำเลยมีคำขอบังคับให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 50,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งค่าเสียหายจากการรื้อถอนอาคาร ถือเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอนอาคารที่จำเลยได้ก่อสร้างบนที่ดินตามฟ้องจากโจทก์เป็นฟ้องแย้งที่ขึ้นอยู่กับข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การ จำเลยก็ไม่ต้องรื้อถอนอาคารออกไป ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่เกิดขึ้น และศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ หากข้อต่อสู้ตามคำให้การฟังไม่ได้ ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารออกไป เมื่อนั้นค่าเสียหายที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจจะเกิดมีขึ้นได้ข้ออ้างตามฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฟังผลของคดีเป็นสำคัญมิได้มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าเป็นฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และการฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ผู้ซื้อสัญญาว่า ถ้าเลิกกิจการเลื่อยไม้ หรือโอนกิจการให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือผู้ซื้อไม่ทำประโยชน์กับที่ดินผืนนี้แล้ว ผู้ซื้อยินยอมขายคืนให้แก่ผู้ขายในราคาตามข้อ 1 นอกจากผู้ขายตกลงไม่ซื้อเป็นลายลักษณ์อักษร" จึงเป็นคำมั่นของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกกิจการโรงเลื่อยหรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น หรือไม่ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท คำมั่นดังกล่าวเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบังคับว่า ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วน จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง กฎหมายหาได้บังคับว่าคำมั่นเช่นว่านี้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่อย่างใดไม่ เมื่อคำมั่นดังกล่าวทำเป็นหนังสือและจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับประทับตราจำเลยที่ 1 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขายที่ดินพิพาทคืนและรับชำระราคาจากโจทก์โดยอ้างสิทธิตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการฟ้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายทำถนนในที่ดินพิพาทและโจทก์ปิดกั้นที่ดินพิพาททำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ข้ออ้างและคำขอบังคับตามฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองไว้ ก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขายที่ดินพิพาทคืนและรับชำระราคาจากโจทก์โดยอ้างสิทธิตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการฟ้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายทำถนนในที่ดินพิพาทและโจทก์ปิดกั้นที่ดินพิพาททำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ข้ออ้างและคำขอบังคับตามฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองไว้ ก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องทรัพย์มรดกที่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับพิจารณา แม้จะไม่ได้ฟ้องมาพร้อมกัน
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของ ท. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 1 และ ส. ผู้วายชนม์ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินดังกล่าวร่วมกัน ขอให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งปันที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 มิได้มีสิทธิทางแพ่งโต้แย้งกับโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งในส่วนนี้ การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการจ่ายเงินเดือนเกินจริง และอายุความฟ้องแย้ง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ในปี 2539 โจทก์มีตำแหน่งเป็นช่างอิเล็กทรอนิคการบินสอง โจทก์ถูกลงโทษทางวินัยให้ตัดเงินเดือนร้อยละ 10 เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2540 แต่เนื่องจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานภายในของจำเลย จำเลยได้มีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนให้แก่โจทก์ในปี 2540 และส่งผลให้ฐานเงินเดือนในการเลื่อนเงินเดือนในปีงบประมาณ 2541 คลาดเคลื่อนคำสั่งเลื่อนเงินเดือนให้แก่โจทก์จึงคลาดเคลื่อนไปด้วย เงินที่โจทก์ได้รับมาจากจำเลยโดยคำสั่งที่ไม่ชอบ จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคแรก โจทก์ต้องคืนให้แก่จำเลย แต่จำเลยทราบถึงความบกพร่องในการเลื่อนเงินเดือนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 จำเลยฟ้องแย้งวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาที่จำเลยรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนตามมาตรา 419 ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508-7528/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งคดีแรงงานต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยวเนื่อง ศาลไม่รับฟ้อง
ตามคำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีวัตถุดิบซึ่งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่โจทก์ไม่ได้ทำงานด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่มีงานให้โจทก์ทำและค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ คำฟ้องเดิมจึงเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 วรรคสาม อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลยที่ 1 กรณีโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นเท็จ ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีสัญญากู้เงินปลอม: จำเลยไม่ต้องฟ้องแย้งขอชำระหนี้/ทำลายสัญญา
ข้อที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่าไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้อง เนื่องจากจำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินเพียง 100,000 บาท แต่โจทก์กรอกจำนวนเงินในสัญญากู้เงินเป็นจำนวน 275,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองไม่ยินยอมสัญญากู้เงินจึงเป็นเอกสารปลอมนั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองอ้างก็ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้รับการบังคับให้ตามกฎหมาย และศาลย่อมนำมาเป็นเหตุยกฟ้องได้อยู่แล้ว จำเลยทั้งสองหาจำต้องฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์รับชำระหนี้ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้โจทก์ส่งมอบสัญญากู้เงินปลอมแก่จำเลยทั้งสองเพื่อนำไปทำลายประการใดไม่ ทั้งคำขอตามฟ้องแย้งดังกล่าว ศาลก็ไม่อาจบังคับให้ได้ เพราะหากสัญญากู้เงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม ก็เท่ากับการกู้ยืมเงินรายนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจนำมาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินปลอม: ศาลไม่รับฟ้องแย้ง เนื่องจากจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้งเพื่อต่อสู้คดี
จำเลยให้การว่าไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินที่โจทก์ฟ้องเนื่องจากจำเลยกู้ยืมเงินเพียง 100,000 บาท แต่โจทก์กรอกจำนวนเงินเป็น 275,000 บาท โดยจำเลยไม่ยินยอม สัญญากู้เงินจึงเป็นเอกสารปลอม หากฟังได้ตามที่จำเลยอ้างก็ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้รับการบังคับให้ตามกฎหมายและศาลย่อมนำมาเป็นเหตุยกฟ้องได้อยู่แล้ว จำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้ง ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์รับชำระหนี้ตามจำนวนที่กู้ยืมกันตามที่จำเลยกล่าวอ้าง และไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบสัญญากู้เงินปลอมแก่จำเลยเพื่อนำไปทำลายได้ตามฟ้องแย้งเช่นกัน เพราะสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นเอกสารของโจทก์และโจทก์ก็ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องส่งมอบให้แก่จำเลยเพื่อนำไปทำลาย การที่โจทก์อาจนำสัญญากู้เงินดังกล่าวไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกโดยที่บุคคลภายนอกไม่ทราบข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การ ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้รับการดูถูกว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวจำเลยจึงต้องเรียกสัญญากู้มาทำลายเพื่อปกป้องสิทธิของจำเลยนั้น ก็มิใช่เหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อฟ้องแย้งโจทก์ได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์อย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง