พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การจดทะเบียนภารจำยอมไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสิ้นสุดสิทธิ
โจทก์และผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินในซอยได้ใช้ซอยดังกล่าวเป็นทางสัญจรไปตามแนวเสาไฟฟ้า ซึ่งผ่านไปตามที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทางภารจำยอม ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป ภารจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397หรือ 1399 มาตรา 1299 ที่บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้นมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกันกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยอ้างการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ จึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกันจำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมสัญจร: การใช้รถยนต์บรรทุกของไม่ถือเป็นการเพิ่มภาระแก่ภารยทรัพย์
การใช้รถยนต์บรรทุกของผ่านทางภารจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเดิน ใช้เกวียนและรถสาลี่บรรทุกของผ่านนั้น เป็นการใช้ทางภารจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารยทรัพย์: เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่ใช่เจ้าของรวมในภารยทรัพย์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลายหรือทำให้ภารยทรัพย์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ต่อภารยทรัพย์ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของร่วม
เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่ใช่เจ้าของรวมในภารยทรัพย์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องในคดีอาญาขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลายหรือทำให้ภารยทรัพย์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินได้ หากไม่ขัดต่อประโยชน์สามายทรัพย์
แม้ที่ดินของจำเลยเป็นภารยทรัพย์ตกอยู่ในภารจำยอมเป็นทางสัญจร เพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์อันเป็นสามายทรัพย์ก็ตาม จำเลยก็ยัง มีอำนาจใช้สิทธิในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์ได้ เมื่อไม่เป็นการขัดต่อประโยชน์แห่งภาระจำยอม
คานพิพาทมี่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่า สิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุกจึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้ และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก
คานพิพาทมี่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่า สิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุกจึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้ และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการปรับปรุงภารยทรัพย์: การราดซีเมนต์ไม่เพิ่มภาระ
การที่โจทก์ราดซีเมนต์หรือเทคอนกรีตบนทางภารจำยอม เป็นการตกแต่งให้ทางภารจำยอมสวยงามและคงทนถาวรยิ่งขึ้น และเพียงแต่ใช้ทางนั้นเดินหรือรถแล่นเข้าออกเท่านั้น มิได้ใช้เพื่อกิจการอื่นใดที่ไม่เหมาะสม ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำให้เสียหายแก่ที่ดินหรือกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ จึงไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การเปลี่ยนแปลงภาระในภารยทรัพย์ต้องได้รับความยินยอมและค่าทดแทนจากเจ้าของที่ดิน
ที่ดินตกอยู่ในภารจำยอมเพียงให้เป็นทางคนเดินผ่านที่ดินนั้นไปออกทางสาธารณะเท่านั้น. การปักเสาไฟฟ้า วางสายไฟฟ้า วางท่อประปาบนทางภารจำยอมนั้นย่อมเป็นการทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์. ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้.
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายสายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกันผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อก็ตาม. แต่มาตรานี้ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า. เจ้าของที่ดินต้องยอมต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควร และเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะวางต้องบอกกล่าวเสนอจำนวนค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินทราบก่อน. หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินเป็นผู้เสนอไม่. เมื่อผู้ที่จะวางไม่ได้เสนอค่าทดแทน. เจ้าของที่ดินมีสิทธิคัดค้านได้. เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบที่จะทำได้ตามกฎหมาย.
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายสายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกันผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อก็ตาม. แต่มาตรานี้ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า. เจ้าของที่ดินต้องยอมต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควร และเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะวางต้องบอกกล่าวเสนอจำนวนค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินทราบก่อน. หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินเป็นผู้เสนอไม่. เมื่อผู้ที่จะวางไม่ได้เสนอค่าทดแทน. เจ้าของที่ดินมีสิทธิคัดค้านได้. เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบที่จะทำได้ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมเกิดจากการใช้สิทธิเดิมโดยอายุความ แม้สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่ติดกันก็เป็นได้
เมื่อคดีฟังได้ว่าทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมซึ่งโจทก์ได้มาโดยอายุความ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ทางพิพาทตั้งอยู่ก็ไม่มีอำนาจจะปิดทางพิพาท ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินมาจากผู้อื่น ก็ไม่มีสิทธิล้อมรั้วกินทางพิพาทนั้นเข้าไปได้ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์อยู่ในตัว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ระหว่างหรือจะต้องข้ามทางสาธารณะไปก็ดี ก็อาจเป็นภารจำยอมได้
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ระหว่างหรือจะต้องข้ามทางสาธารณะไปก็ดี ก็อาจเป็นภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังคงอยู่และมีการใช้ต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397, 1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า "ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่า ทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใด ๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังอยู่และมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)