พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, ผู้ทำการแทนบริษัทต่างประเทศ, ภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย, การประเมินภาษี
โจทก์เป็นผู้ทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งให้ถือว่าบริษัท ม. ประกอบกิจการในประเทศไทย และบุคคลผู้เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นเป็นตัวแทนของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่กล่าวแล้ว ซึ่งการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในกรณีการจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ อยู่ในส่วนนี้ด้วย ดังนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย หากเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 70 ทวิ กำหนดไว้
บริษัท ม. เป็นนิติบุคคลต่างประเทศและไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย ส่วนโจทก์เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นนายหน้าทำหน้าที่ชี้ช่องให้บริษัท ม. และผู้ซื้อในประเทศไทยได้ซื้อขายสินค้ากันเท่านั้น โจทก์จะหาข้อมูลตามความต้องการของผู้ซื้อในประเทศไทยว่ามีผู้ซื้อรายใดที่ประสงค์จะซื้อสินค้าประเภทใด เมื่อโจทก์ทราบข้อมูลแล้วจะแจ้งให้บริษัท ม. ทราบ เพื่อให้บริษัท ม. ติดต่อกับผู้ซื้อและเจรจาซื้อขายในรายละเอียดกันเอง ผลตอบแทนที่โจทก์ได้รับมีเพียงค่านายหน้าจากบริษัท ม. เมื่อผู้ซื้อในประเทศไทยและบริษัท ม. ตกลงซื้อขายสินค้ากันแล้ว ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสินค้าให้แก่บริษัท ม. โดยตรงด้วยวิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัท ม. ในประเทศไทย อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัท ม. โจทก์จึงมิใช่เป็นเพียงตัวแทนธรรมดาทั่วไปที่หาลูกค้าให้บริษัท ม. เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างออกไปเองหรือให้ลูกค้าของบริษัท ม. ชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างทั้งหมดให้แก่บริษัท ม. ในต่างประเทศโดยตรงด้วยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ก็ถือได้ว่ามีผลทำให้บริษัท ม. ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยและเมื่อเงินที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยมีส่วนของกำไรหรือถือได้ว่าเป็นกำไรรวมอยู่ด้วย เนื่องจากในการกำหนดราคาขายสินค้าหรือให้บริการ ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการจะต้องคิดค่าสินค้าหรือค่าจ้างรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ด้วย เมื่อไม่ปรากฏปัจจัยอื่นที่จะมีผลทำให้กำไรที่คำนวณไว้โดยปกติธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะทำให้มีการขาดทุน จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ว่า ในกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการที่จะเรียกให้ผู้ทำการแทนรับผิดตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตามมาตรา 19 และ 20 ก่อน โจกท์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม.ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่างๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย ดังนั้น เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 54 โจทก์ย่อมเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงเช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
บริษัท ม. เป็นนิติบุคคลต่างประเทศและไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย ส่วนโจทก์เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นนายหน้าทำหน้าที่ชี้ช่องให้บริษัท ม. และผู้ซื้อในประเทศไทยได้ซื้อขายสินค้ากันเท่านั้น โจทก์จะหาข้อมูลตามความต้องการของผู้ซื้อในประเทศไทยว่ามีผู้ซื้อรายใดที่ประสงค์จะซื้อสินค้าประเภทใด เมื่อโจทก์ทราบข้อมูลแล้วจะแจ้งให้บริษัท ม. ทราบ เพื่อให้บริษัท ม. ติดต่อกับผู้ซื้อและเจรจาซื้อขายในรายละเอียดกันเอง ผลตอบแทนที่โจทก์ได้รับมีเพียงค่านายหน้าจากบริษัท ม. เมื่อผู้ซื้อในประเทศไทยและบริษัท ม. ตกลงซื้อขายสินค้ากันแล้ว ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสินค้าให้แก่บริษัท ม. โดยตรงด้วยวิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัท ม. ในประเทศไทย อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัท ม. โจทก์จึงมิใช่เป็นเพียงตัวแทนธรรมดาทั่วไปที่หาลูกค้าให้บริษัท ม. เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างออกไปเองหรือให้ลูกค้าของบริษัท ม. ชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างทั้งหมดให้แก่บริษัท ม. ในต่างประเทศโดยตรงด้วยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ก็ถือได้ว่ามีผลทำให้บริษัท ม. ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยและเมื่อเงินที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยมีส่วนของกำไรหรือถือได้ว่าเป็นกำไรรวมอยู่ด้วย เนื่องจากในการกำหนดราคาขายสินค้าหรือให้บริการ ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการจะต้องคิดค่าสินค้าหรือค่าจ้างรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ด้วย เมื่อไม่ปรากฏปัจจัยอื่นที่จะมีผลทำให้กำไรที่คำนวณไว้โดยปกติธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะทำให้มีการขาดทุน จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ว่า ในกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการที่จะเรียกให้ผู้ทำการแทนรับผิดตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตามมาตรา 19 และ 20 ก่อน โจกท์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม.ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่างๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย ดังนั้น เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 54 โจทก์ย่อมเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงเช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3906/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่มิได้ส่งตรงตามภูมิลำเนา แต่ผู้รับทราบและยื่นอุทธรณ์ได้ ชอบด้วยกฎหมาย
ป. รัษฎากร มาตรา 8 บัญญัติให้ส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น เจ้าพนักงานของจำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้แก่โจทก์โดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ที่จ่าหน้าซองจดหมายซึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ เป็นการปฏิบัติตามที่มาตรา 8 กำหนดไว้แล้ว แต่การที่เจ้าพนักงานไปรษณีย์นำหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไปส่งที่สำนักงานเทศบาลตำบลหัวสะพานซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการของโจกท์เคยทำงานเป็นนายกเทศมนตรี ไม่ตรงกับที่อยู่ที่จ่าหน้าซองจดหมายไว้ ถือได้ว่าเป็นการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไม่ตรงกับภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8 เป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีและเพื่อให้ถึงตัวผู้รับโดยถูกต้อง เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานไปรษณีย์นำหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไปส่งให้แก่โจทก์ที่สำนักงานเทศบาลตำบลหัวสะพานแล้ว มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเทศบาลลงลายมือชื่อรับไว้แทน และได้ฝากส่งต่อไปให้แก่หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์จนมีการยื่นอุทธรณ์การประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว แสดงว่าโจทก์ได้รับทราบข้อความในหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรดังกล่าวและได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว แม้การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีจะส่งไม่ตรงกับสถานที่ที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 8 ก็หาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนอสังหาริมทรัพย์โดยยังมิได้จดทะเบียนถือเป็นการขายทางภาษี หากมีไว้ในกิจการ
เมื่อคำนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) หมายความรวมถึงสัญญาจะขายด้วย ทำให้เห็นได้ชัดว่าเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเท่านั้น แม้ไม่ได้ไปทำสัญญาซื้อขายกันตามแบบพิธี คือ ไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ก็ถือได้ว่าเป็นการขายตามคำนิยามดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ได้ส่งมอบโอนการครอบครองที่ดิน อาคารและส่วนปรับปรุงอาคารให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยยอมรับไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการจดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็ต้องถือว่าเป็นการขายตาม ป. รัษฎากรแล้ว เมื่อ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ซึ่งใช้บังคับในขณะมีกรณีพิพาท ตามมาตรา 3 บัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มีดังต่อไปนี้ (5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม การที่โจทก์โอนการครอบครองที่ดิน อาคารและส่วนปรับปรุงอาคารให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ย่อมเข้าลักษณะการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการแล้ว จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และการหักรายจ่าย กรณีการตรวจสอบภาษีและการแก้ไขการประเมิน
ขณะที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 แต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหมายเรียกโจทก์ในขณะที่โจทก์ยังไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวภายหลัง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่โจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 24
บริษัท ส. จำกัด เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ส่วนโจทก์เป็นบริษัทรับจ้างตกแต่งภายในห้องชุดโครงการอาคารชุดของบริษัท ส. จำกัด ดังกล่าว และจะเริ่มดำเนินการต่อเมื่อบริษัท ส. จำกัด ก่อสร้างอาคารชุดแล้ว โดยบริษัททั้งสองไม่มีการถือหุ้นระหว่างกัน โจทก์รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือลูกค้าจะชำระเป็นงวดโดยบริษัท ส. จำกัด เป็นผู้รับแทนโจทก์ บริษัท ส. จำกัด ไม่ได้ส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าบริษัท ส. จำกัด และโจทก์ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาต่างตอบแทนกันว่า โจทก์ยอมให้สิทธิแก่บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดที่ลูกค้าชำระแก่โจทก์โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยแล้วบริษัท ส. จะเสนอผลประโยชน์ใด ๆ ตอบแทนแก่โจทก์ และไม่ปรากฏว่าบริษัท ส. จำกัด ได้เรียกร้องให้โจทก์ต้องปฏิบัติเช่นนั้น หากบริษัท ส. จำกัด ประสงค์จะได้หลักประกันว่าโจทก์จะไม่ทิ้งงาน โจทก์ย่อมติดต่อขอหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นหลักประกันก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่บริษัทในเครือเดียวกันกับบริษัท ส. จำกัด ทั้งไม่มีหนี้สินต่อกัน โจทก์มีทุนจดทะเบียนเพียง 1,000,000 บาท แต่จำนวนเงินที่โจทก์มอบให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือไว้มีจำนวนนับร้อยล้านบาท ย่อมไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินดังกล่าวโดยไม่คิดดอกเบี้ย แม้ว่าโจทก์จะไม่มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตกแต่งและไม่มีภาระหนี้สินที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในขณะนั้นก็ตาม การที่โจทก์ยินยอมให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดล่วงหน้าที่ลูกค้าชำระให้แก่โจทก์โดยไม่มีดอกเบี้ยนั้นถือได้ว่าเป็นกรณีไม่มีเหตุอันสมควร ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้
การที่โจทก์ให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดล่วงหน้าเข้าลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน และโจทก์ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากอีกทั้งทำเป็นปกติธุระทุกเดือนในช่วงปี 2534 ถึง 2536 เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่เป็นปัญหาที่จะต้องรอให้มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรวินิจฉัยว่ากิจการใดเป็นกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม่ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/2 วรรคท้าย เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยกับบริษัท ส. จำกัด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/15 (2) และ 91/16 (6) ที่จะประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะโดยกำหนดดอกเบี้ยรับแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การที่จำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2535 และเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2536 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 มายังโจทก์ ดังนั้น ภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นมิใช่รายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 เพราะต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (1) ประกอบมาตรา 65 ตรี (9)
เอกสารที่โจทก์นำมาอ้างอิงในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเอกสารปลอม พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับการประเมินภาษีทุกประเภท
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน 4 ฉบับ คือ หนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และปี 2536 หนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2535 และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2536 ซึ่งหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนภาษี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม และภาษีส่วนท้องถิ่นแตกต่างกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน แม้ว่าการแจ้งการประเมินภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินทั้ง 4 ฉบับ จะมีที่มาจากการออกหมายเรียกและตรวจสอบภาษีโจทก์เพียงครั้งเดียว แต่เมื่อพิจารณาสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นได้ชัดว่าคำฟ้องของโจทก์มีข้อหาแต่ละข้อหาไม่เกี่ยวข้องกันแยกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 4 ข้อหา
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้อื่นนอกจากรายได้ดอกเบี้ยรับ เนื่องจากงานในส่วนของโจทก์ที่เกี่ยวกับการตกแต่งภายในห้องชุดยังไม่เริ่ม ดังนั้น โจทก์จึงไม่สามารถนำยอดเงินที่โจทก์อ้างว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์นำมาลงบัญชีไว้ในหมวดสินทรัพย์อื่นในงบดุลซึ่งมิได้ระบุเป็นรายจ่าย จึงไม่อาจทราบได้ว่าเป็นรายจ่ายในกรณีใดมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 ได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
บริษัท ส. จำกัด เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ส่วนโจทก์เป็นบริษัทรับจ้างตกแต่งภายในห้องชุดโครงการอาคารชุดของบริษัท ส. จำกัด ดังกล่าว และจะเริ่มดำเนินการต่อเมื่อบริษัท ส. จำกัด ก่อสร้างอาคารชุดแล้ว โดยบริษัททั้งสองไม่มีการถือหุ้นระหว่างกัน โจทก์รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือลูกค้าจะชำระเป็นงวดโดยบริษัท ส. จำกัด เป็นผู้รับแทนโจทก์ บริษัท ส. จำกัด ไม่ได้ส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าบริษัท ส. จำกัด และโจทก์ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาต่างตอบแทนกันว่า โจทก์ยอมให้สิทธิแก่บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดที่ลูกค้าชำระแก่โจทก์โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยแล้วบริษัท ส. จะเสนอผลประโยชน์ใด ๆ ตอบแทนแก่โจทก์ และไม่ปรากฏว่าบริษัท ส. จำกัด ได้เรียกร้องให้โจทก์ต้องปฏิบัติเช่นนั้น หากบริษัท ส. จำกัด ประสงค์จะได้หลักประกันว่าโจทก์จะไม่ทิ้งงาน โจทก์ย่อมติดต่อขอหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นหลักประกันก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่บริษัทในเครือเดียวกันกับบริษัท ส. จำกัด ทั้งไม่มีหนี้สินต่อกัน โจทก์มีทุนจดทะเบียนเพียง 1,000,000 บาท แต่จำนวนเงินที่โจทก์มอบให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือไว้มีจำนวนนับร้อยล้านบาท ย่อมไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินดังกล่าวโดยไม่คิดดอกเบี้ย แม้ว่าโจทก์จะไม่มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตกแต่งและไม่มีภาระหนี้สินที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในขณะนั้นก็ตาม การที่โจทก์ยินยอมให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดล่วงหน้าที่ลูกค้าชำระให้แก่โจทก์โดยไม่มีดอกเบี้ยนั้นถือได้ว่าเป็นกรณีไม่มีเหตุอันสมควร ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้
การที่โจทก์ให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดล่วงหน้าเข้าลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน และโจทก์ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากอีกทั้งทำเป็นปกติธุระทุกเดือนในช่วงปี 2534 ถึง 2536 เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่เป็นปัญหาที่จะต้องรอให้มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรวินิจฉัยว่ากิจการใดเป็นกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม่ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/2 วรรคท้าย เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยกับบริษัท ส. จำกัด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/15 (2) และ 91/16 (6) ที่จะประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะโดยกำหนดดอกเบี้ยรับแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การที่จำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2535 และเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2536 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 มายังโจทก์ ดังนั้น ภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นมิใช่รายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 เพราะต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (1) ประกอบมาตรา 65 ตรี (9)
เอกสารที่โจทก์นำมาอ้างอิงในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเอกสารปลอม พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับการประเมินภาษีทุกประเภท
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน 4 ฉบับ คือ หนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และปี 2536 หนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2535 และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2536 ซึ่งหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนภาษี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม และภาษีส่วนท้องถิ่นแตกต่างกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน แม้ว่าการแจ้งการประเมินภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินทั้ง 4 ฉบับ จะมีที่มาจากการออกหมายเรียกและตรวจสอบภาษีโจทก์เพียงครั้งเดียว แต่เมื่อพิจารณาสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นได้ชัดว่าคำฟ้องของโจทก์มีข้อหาแต่ละข้อหาไม่เกี่ยวข้องกันแยกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 4 ข้อหา
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้อื่นนอกจากรายได้ดอกเบี้ยรับ เนื่องจากงานในส่วนของโจทก์ที่เกี่ยวกับการตกแต่งภายในห้องชุดยังไม่เริ่ม ดังนั้น โจทก์จึงไม่สามารถนำยอดเงินที่โจทก์อ้างว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์นำมาลงบัญชีไว้ในหมวดสินทรัพย์อื่นในงบดุลซึ่งมิได้ระบุเป็นรายจ่าย จึงไม่อาจทราบได้ว่าเป็นรายจ่ายในกรณีใดมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 ได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีเมื่อมีการฟ้องคัดค้านการประเมินภาษีแล้ว หนี้ภาษีจึงไม่แน่นอน
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง อันเป็นการดำเนินการตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (2) แล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าว จึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ ดังนั้น หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่โจทก์นำมาฟ้อง จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องภาษี: การชำระหนี้ด้วยเช็คยังไม่ถือเป็นการชำระหนี้จนกว่าเช็คจะใช้ได้เงิน
ที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 บัญญัติว่า "...ห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ... หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล" นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้ตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวในวรรคท้าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 และโจทก์สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้ซึ่งจะถึงกำหนดชำระหลังจากวันฟ้อง หนี้ค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 จึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระดังที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับข้อหาเกี่ยวกับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2537 ถึง 2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: ต้องชำระภาษีที่ถึงกำหนดก่อนฟ้องคดี มิเช่นนั้นขาดอำนาจฟ้อง
ที่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 บัญญัติว่า "?ห้ามให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งกำหนดต้องชำระ?หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล?" นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้ตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวในวรรคท้าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินไปแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 และโจทก์สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้ซึ่งจะถึงกำหนดชำระหลังจากวันฟ้อง หนี้ค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 จึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระดังที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับข้อหาเกี่ยวกับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2537 ถึง 2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษีและการฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบปีบัญชี 2539 จำนวน 18,779 บาท ซึ่งต่ำกว่าการประเมินของพนักงานโจทก์ถึง 8,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 1 ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมไม่รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินจำนวน 2,817,028.21 บาท จำนวนเงินได้และเงินค่าภาษีที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ต่ำกว่าเป็นจริงโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีหมายเรียกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2532 ให้จำเลยที่ 1 ไปให้ถ้อยคำพร้อมส่งมอบบัญชีและเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อการไต่สวนตรวจสอบ จำเลยที่ 1 จึงต้องทราบแล้วว่าเจ้าพนักงานจะต้องประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องใหม่ และจำเลยที่ 1 ต้องมีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ภายหลังจากทราบว่ามีหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องถูกประเมินใหม่ชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้หนี้ดังกล่าวจะยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนจากการประเมินของเจ้าพนักงาน ก็ชี้ให้เห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงให้ที่ดินดังกล่าวพ้นจากการถูกยึดบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์ อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีให้จำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบอยู่ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกตรวจสอบภาษีจากโจทก์ โดยได้ซื้อขายที่ดินในราคาเพียง 2,990,000 บาท ทั้งๆ ที่ที่ดินมีราคาประเมินรวม 7,960,000 บาท ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อ น. นิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อ น. นิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลหลีกเลี่ยงภาษี การโอนทรัพย์สินเพื่อพ้นจากการบังคับชำระหนี้ และอายุความฟ้องคดี
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบปีบัญชี 2539 จำนวน 18,779 บาท ซึ่งต่ำกว่าการประเมินของพนักงานโจทก์ถึง 8,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 1 ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมไม่รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน 2,817,028.21 บาท เมื่อโจทก์มีหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 ไปให้ถ้อยคำเพื่อการไต่สวนตรวจสอบจำเลยที่ 1 จึงต้องทราบแล้วว่าเจ้าพนักงานจะต้องประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ใหม่ และจำเลยที่ 1 ต้องมีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้หนี้ดังกล่าวจะยังไม่ทราบจำนวนแน่นอนจากการประเมินของเจ้าพนักงาน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงให้ที่ดินดังกล่าวพ้นจากการถูกยึดบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 ได้ทราบถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้
กรมสรรพากรโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อนิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน จึงไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อนิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุน แม้ไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือเป็นธุรกิจเฉพาะที่ต้องเสียภาษี
คำว่า ขาย อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 244 มีความหมายกว้างกว่าคำว่า ซื้อขาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 เพราะยังหมายความรวมถึงการจำหน่าย จ่าย โอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ด้วย การที่โจทก์ทำสัญญาต่างตอบแทนเพื่อลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของ พ. โดย พ.โอนกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินบางส่วนให้โจทก์ก่อนทำการก่อสร้าง ต่อมาโจทก์กับ พ. ยกเลิกสัญญาการร่วมลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ดังกล่าว โจทก์จึงโอนที่ดินดังกล่าวคืนให้ พ. โดยไม่มีค่าตอบแทนก็ถือเป็นการขายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) แล้ว และเมื่อที่ดินที่ขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้โดยวัตถุประสงค์ที่จะประกอบกิจการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือ หากำไร ตามมาตรา 91/2 (6) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 244 มาตรา 3 (5) โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ