คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีบำรุงท้องที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีบำรุงท้องที่หลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระแทนลูกหนี้ แม้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังพิทักษ์ทรัพย์
บริษัทลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้น ย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ กำหนดไว้ การเกิดหนี้ขึ้นโดยผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีบำรุงท้องที่หลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระหนี้ตามกฎหมาย
บริษัท ฉ.ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดวันที่ 27 กุมภาพันธ์2530 ประกาศหนังสือพิมพ์ลงวันที่ 24 มีนาคม 2530ประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 7 เมษายน 2530 บริษัท ฉ. เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังบริษัท ฉ.ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดแล้ว โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ไม่ทัน แต่ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 7กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด มีหน้าที่สำหรับปีนั้นแสดงว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีที่ดินทุกปีเมื่อบริษัท ฉ. ยังเป็นเจ้าของที่ดินก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีกรณีนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าดำเนินการชำระหนี้ภาษี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้รับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ต้องใช้ผลการใช้ที่ดินในปีที่เรียกเก็บภาษี มิใช่ปีที่ล่วงมาแล้ว การประเมินผิดที่ดินให้เพิกถอนได้
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใด เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นตามอัตราของราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกด้วยตนเองแล้วให้เสียภาษีอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท มิใช่ให้ถือเอาผลของการใช้ที่ดินในปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปีใด ก็ต้องถือเอาการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดินในปีนั้นเป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ต้องใช้ผลการใช้ที่ดินในปีที่เรียกเก็บภาษี ไม่ใช่ปีที่ล่วงมาแล้ว และการประเมินผิดที่ดินเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนได้
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใดเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นตามอัตราของราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกด้วยตนเองแล้วให้เสียภาษีอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท มิใช่ให้ถือเอาผลของการใช้ที่ดินในปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปีใด ก็ต้องถือเอาการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดินในปีนั้นเป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอสั่งแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ต้องมีฐานตามกฎหมาย หากไม่มีคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 24 มิได้บัญญัติให้อำนาจนายอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่แต่อย่างใด การที่นายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานสำรวจสำหรับเขตหมู่บ้าน และแต่งตั้งให้มีเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในหมู่บ้านที่ตนปกครองรับผิดชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลให้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ แม้ต่อมาจำเลยได้จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่จากราษฎร แล้วเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตจำเลยก็ไม่มีหลักฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ - การทุจริตต่อหน้าที่
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 24 มิได้บัญญัติให้อำนาจนายอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่แต่อย่างใด การที่นายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานสำรวจสำหรับเขตหมู่บ้านและแต่งตั้งให้มีเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในหมู่บ้านที่ตนปกครองรับผิดชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลให้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ แม้ต่อมาจำเลยได้จัดเก็บเงินภาษีบำรุงท้องที่จากราษฎร แล้วเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีบำรุงท้องที่โดยลบชื่อผู้ยื่นเดิมและใส่ชื่อใหม่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเอกสารใหม่แสดงข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับลายพิมพ์นิ้วมือ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.6)ไว้ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับมอบหมายให้รับแจ้งแบบสำรวจเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันแก้ไขแบบ ภ.บ.ท.6 นี้ โดยลบชื่อโจทก์ในช่องผู้ชี้เขตออก แล้วจำเลยที่ 2 เขียนชื่อจำเลยที่ 1 ลงแทนชื่อโจทก์ และลบลายมือชื่อโจทก์ที่ลงไว้ในช่องผู้ชี้เขต ผู้ยื่น ออก แล้วจำเลยที่ 1พิมพ์ลายนิ้วมือของตนลงแทน เมื่อดูเอกสารที่ถูกแก้ไขนี้แล้ว ย่อมเห็นได้ว่า เอกสารฉบับนี้ได้เปลี่ยนสภาพเป็น ภ.บ.ท.6 ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่น ซึ่งตรงกับลายพิมพ์นิ้วมือที่แท้จริงที่จำเลยที่ 1 ได้ลงเป็นผู้ยื่นไว้ ไม่มีทางให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อในเรื่องชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1 เป็นอย่างอื่นไปได้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3-5/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการกสิกรรมด้วยตนเองตาม พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ การมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลและจ้างทำนาถือไม่ได้ว่าทำเอง
คำว่า "ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมด้วยตนเอง" ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 นั้น มุ่งประสงค์ยกเว้นให้แก่ผู้ที่ประกอบการกสิกรรมด้วยตนเองจริงๆ แม้ลงมือทำด้วยตนเองไม่ไหวต้องจ้างคนอื่นมาช่วยทำบ้าง ก็ต้องอยู่ในความดูแลโดยใกล้ชิดของตนเอง และเสี่ยงต่อการขาดทุน
กรณีที่เจ้าของที่ดินมิได้มีอาชีพในการทำนาโดยตรง และมีภูมิลำเนาอยู่คนละจังหวัดกับที่ดิน ได้มอบให้ผู้อื่นปกครองดูแลแทน ผู้ปกครองดูแลแทนทำสัญญาจ้างบุคคลอื่นทำนาของโจทก์อีกต่อหนึ่ง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลน ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลนมิใช่การครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้ เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่ โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้
of 3