คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีสรรพสามิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงด/ลดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มภาษีสรรพสามิต ต้องชำระภาษีครบตามกฎกระทรวง และไม่สละสิทธิคัดค้าน
หลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 29(พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งให้ทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระภาษีให้ครบจำนวนภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6 มิใช่เพียงแต่ยื่นคำร้องเป็นหนังสือตกลงยินยอมชำระภาษีและของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อลูกหนี้ยังมิได้ชำระภาษีให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม นอกจากนั้นเมื่อลูกหนี้ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าหนี้แล้วลูกหนี้มิได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจึงเป็นการสละการใช้สิทธิคัดค้านต่ออธิบดี สละสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และสละสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 86,89 และ96 หนี้ภาษีของลูกหนี้ย่อมถึงที่สุด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้กรมสรรพสามิตเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยไม่งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตน้ำมัน: นับจากสิ้นสุดการสูบจ่ายรายวัน ไม่ใช่กระบวนการทั้งหมด
ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 10(1)(ก)ที่บัญญัติว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี กรณีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2(1) กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน จากข้อความในบทบัญญัติและประกาศดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมนั้น หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกาของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันนั้นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการสูบจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด
การที่โจทก์นำปริมาณน้ำมันตั้งแต่เริ่มต้นสูบจ่ายน้ำมันทางท่อพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมก่อนเวลา 24 นาฬิกาของวันหนึ่ง ไปรวมเพื่อชำระภาษีพร้อมกับปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการสูบจ่ายน้ำมันหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกา ไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะอ้างว่าปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงานเพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายออกไปทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์ไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีสรรพสามิตต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดค้านและอุทธรณ์ตามกฎหมายก่อน มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 96 ประกอบมาตรา 86 และ 89 กำหนดให้การฟ้องคดีเกี่ยวกับการประเมินภาษีสรรพสามิตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและต้องได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาด้วย แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าหลังจากโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีสรรพสามิตแล้วโจทก์ได้คัดค้านการประเมินหรือได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีสรรพสามิตต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดค้านและอุทธรณ์ตามกฎหมายก่อน
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 96ประกอบมาตรา 86 และ 89 กำหนดให้การฟ้องคดีเกี่ยวกับการประเมินภาษีสรรพสามิตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและต้องได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาด้วย แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าหลังจากโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีสรรพสามิตแล้วโจทก์ได้คัดค้านการประเมินหรือได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิต จำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ต้องพิจารณาสภาพรถ ณ เวลาจดทะเบียน ไม่ใช่การดัดแปลงภายหลัง
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ได้ระบุไว้ว่า รถยนต์นั่ง หมายความว่า รถยนต์เก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างและหรือด้านหลังคนขับมีประตู หรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด ส่วนรถยนต์กระบะ หมายความว่ารถยนต์ ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับ และตอนหลังเป็นกระบะบรรทุกซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา ถ้อยคำที่ปรากฏตามตัวอักษรดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยแจ้งชัดว่าการเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น ต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่ มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ
จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงาน ขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้องจึงอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวได้ จำเลยก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาล เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่งดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ลำพังแต่ การกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสองเสียภาษี สรรพสามิตตามฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การพิจารณาประเภทรถยนต์ตามสภาพและลักษณะการใช้งาน ไม่ใช่แค่แชสซีส์
การเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้นต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงานขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่ง ลำพังแต่การกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้ จำเลยทั้งสองเสียภาษีสรรพสามิตตามฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การตีความคำสั่งกรมสรรพสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ และความผิดฐานไม่ยื่นแบบภาษี
พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ตอนที่ 3 ประเภทที่ 03.01 กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม ที่มีขนาดทำความเย็นไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต และอธิบดีกรมสรรพสามิตได้วินิจฉัยให้สิ่งต่อไปนี้เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 03.01 คือ (1) COOLING UNIT หรือ FAN COIL UNIT หรือ INDOOR UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็น (EVAPORATOR) และพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ (2) CONDENSING UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน (CONDENSER) พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) ตามคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ยี่ห้อยูเนี่ยนแอร์ ชนิดแฟนคอยล์ ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และชนิดคอนเดนซิ่ง ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ จึงเป็นเครื่องปรับอากาศตามคำสั่งกรมสรรพสามิตดังกล่าว
ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแนบท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเห็นว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศและมีคำวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ดังกล่าว และ (3) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ดังนั้น คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว
เครื่องปรับอากาศที่ยึดจากสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าในการกระทำความผิดฐานนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมตามมาตรา 147 จึงต้องริบเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเป็นของกรมสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 168 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมนั้น เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19, 147 (1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161 (1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 162 (1) ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162 (1) ซึ่งเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การนำสินค้าออกจากโรงงานโดยไม่เสียภาษี, ครอบครองสินค้าผิดกฎหมาย, และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 5 ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตที่จะตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยให้ถือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเมื่อโจทก์ได้นำสืบถึงคำสั่งกรมสรรพสามิต ซึ่งได้อ้างอิงถึงประกาศกระทรวงการคลังเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้นำสืบถึงหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดว่ามีหลักการตีความอย่างไรและการตีความได้กระทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือไม่ จึงฟังไม่ขึ้น
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนสรรพสามิตต่อกรมสรรพสามิตเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนรามคำแหง โรงงานอยู่ที่ถนนลาดพร้าว โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลสาขาปิ่นเกล้า เริ่มทำงานในเดือนธันวาคม 2536 และในวันที่ 14 มกราคม2537 เจ้าพนักงานสรรพสามิตได้เข้าตรวจค้นที่สาขาปิ่นเกล้า ยึดได้เครื่องปรับอากาศที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตจำนวน 455 เครื่อง เมื่อตามทางพิจารณานำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีสรรพสามิตของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก็รับว่าลำพังเพียงการตรวจดูเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปจำหน่ายที่สาขาปิ่นเกล้าคนทั่วไปก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเสียภาษีแล้วหรือไม่ แม้จำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3เคยให้การรับสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับก็ตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีเหตุระแวงสงสัยว่าจำเลยที่ 3 รู้หรือไม่ว่าเครื่องปรับอากาศของกลางที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 19,147(1) แล้วกรรมหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาปิ่นเกล้าเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161(1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนเป็นความผิดตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง
เมื่อเครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าจำนวน 455 เครื่องเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯมาตรา 19 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายกำหนดการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 147(1) และตามมาตรา 168 วรรคสอง บัญญัติว่า สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงต้องริบเครื่องปรับอากาศจำนวนดังกล่าวตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ หาใช่เป็นการริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ไม่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษโดยสถานเบา ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 และที่ 2คนละ 2,665,400 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7925/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตล่าช้า ผู้ประกอบการต้องรับผิดตามกฎหมาย แม้จะอ้างระเบียบปฏิบัติ
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 10 (1) (ก) และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2 (1) กำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกา ของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา 24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันนั้น โดยไม่จำต้องคำนึงว่าการส่งจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด การที่โจทก์นำประมาณน้ำมันทั้งหมดตั้งแต่วันเริ่มต้นส่งจ่ายน้ำมันทางท่อจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง
ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 และฉบับที่ 2/2525 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2525 เป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่ส่งจ่ายออกไปทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์จึงไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสรรพสามิตสินค้าผลิตในราชอาณาจักร: คำนวณจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็คือ โจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีสรรพสามิตของเจ้าพนักงานสรรพสามิตไม่ชอบนั่นเอง ประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงมีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ในการพิจารณาปัญหานี้จำเป็นอยู่ที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายในเรื่องการเสียภาษีสรรพสามิตว่ามีอยู่อย่างไร คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางที่พิจารณาพิพากษาถึงภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเรื่องอยู่ในประเด็น หาใช่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกประเด็นดังโจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่
คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐานในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุป มาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น ส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการหาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้าและกรณีบริการ
โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกอีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่า ผลิต ที่ระบุไว้ในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8 (1) คือ ถือตามราคาขายณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่าต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้ โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
of 7