คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานได้
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. โจทก์นำมาถือเป็นรายจ่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าการจ่ายเงินจำนวนนี้ โจทก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้พิจารณาลดเงินเพิ่มให้เหลือเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะงดเงินเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายเพื่อบริการต่างประเทศ และการเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์มิได้จ่ายเงินให้บริษัทต่างประเทศเพื่อเป็นค่าบริการสำหรับกิจการของโจทก์ จึงมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์และมิใช่การจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่โจทก์ถูกหักไว้ตามมาตรา 69 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์มีสิทธิเอาไปเครดิตภาษีได้เฉพาะในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้ด้วยรวมเป็นเงินภาษีมากกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายมิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่การประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าสิทธิที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศจากการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค
บริษัท ฮ. ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการผลิตกระดาษตามสัญญาที่บริษัท ฮ. ทำไว้กับโจทก์ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญ 15 คนเข้ามาประจำอยู่ ณ โรงงานโจทก์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2522 บริษัท ฮ. ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการช่วยเหลือดังกล่าวดังนี้ การที่บริษัท ฮ. ให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ มิได้เป็นการประกอบกิจการของบริษัท ฮ. ในประเทศไทย แต่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง จึงไม่อาจถือได้ว่าบริษัท ฮ. ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ แต่บริษัท ฮ. ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ที่จ่ายจากประเทศไทย เพราะเงินดังกล่าวเป็นค่าสิทธิตามความหมายของอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ข้อ 8 (2) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 (2) ประกอบอนุสัญญาดังกล่าวข้อ 8 (1) และ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรณีบริษัทต่างชาติส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในไทย
บริษัท ฮ. ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการผลิตกระดาษตามสัญญาที่บริษัท ฮ. ทำไว้กับโจทก์ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญ 15 คนเข้ามาประจำอยู่ณ โรงงานโจทก์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2522 บริษัท ฮ. ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการช่วยเหลือดังกล่าว ดังนี้ การที่บริษัท ฮ.ให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์มิได้เป็นการประกอบกิจการของบริษัท ฮ.ในประเทศไทย แต่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง จึงไม่อาจถือได้ว่าบริษัท ฮ. ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ แต่บริษัท ฮ.ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ที่จ่ายจากประเทศไทยเพราะเงินดังกล่าวเป็นค่าสิทธิตามความหมายของอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ข้อ 8(2) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70(2) ประกอบอนุสัญญาดังกล่าวข้อ 8(1) และ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย: จำเป็นต้องตรวจสอบสถานะผู้มีเงินได้ก่อนวินิจฉัย
โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างโดยมิได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่าย แม้โจทก์จะเคยยินยอมชำระภาษี ณ ที่จ่าย เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 3 ของค่าแรงงานที่จ่ายแต่ก็จะต้องให้ได้ความว่า ผู้มีเงินได้ที่รับเงินค่าแรงงานไปจากโจทก์นั้นมีเงินได้อยู่ในเกณฑ์จะต้องเสียภาษีเงินได้ด้วยอันจะทำให้โจทก์ต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้สำหรับจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดีได้ ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยยังมิได้สืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้อันเป็นสาระสำคัญในประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดีศาลฎีกาย่อมเห็นเป็นการสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานและพิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนแล้วจึงวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการซื้อขายที่ดิน: ใช้กฎหมาย ณ วันที่ซื้อขาย ไม่ใช่กฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลัง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ซื้อ และชำระราคาค่าที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาล เจ้าของที่ดิน ผู้ได้รับเงินค่าที่ดินได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระภาษีเงินได้เนื่องจากการขายที่ดิน แม้ต่อมาจะมีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2525 บัญญัติให้ผู้รับเงินได้จากการขายที่ดินต้องเสียภาษีเงินได้ และให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ก็หมายความว่า ผู้รับเงินได้จากการขายที่ดินตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับเป็นต้นไปเท่านั้นที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ เมื่อผู้รับเงินได้ไม่จำต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่ได้รับจาก การขายที่ดิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ไว้เพื่อนำมาชำระ แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์ขอจดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังนั้น จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้หักณ ที่จ่ายในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับ อยู่ในขณะนั้นมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องหักภาษีเงินได้ไว้จากผู้รับเงินได้ โดยจำเลยจะอาศัยกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายหลังการเพิกถอนการขายทอดตลาด และดอกเบี้ยนับแต่วันทวงถาม
โจทก์ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อที่ดินอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แก่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) และภาษีที่คำนวณหักไว้ให้นำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดิน เงินภาษีจำนวน 5,486,200 บาท ที่โจทก์ขอคืนในคดีนี้ เป็นเงินที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อต่อมาศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2551 แจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์และให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม อันมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด และไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การฟ้องขอคืนเงินภาษีจากจำเลยในคดีนี้จึงไม่ใช่การขอคืนเงินภาษีและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียที่อยู่ภายใต้บังคับที่จะต้องยื่นคำร้องขอภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินภาษี 5,486,200 บาท จากจำเลย
ก่อนที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย และจำเลยรับเงินภาษีที่มีการนำส่งดังกล่าวโดยมีสิทธิตามกฎหมาย การที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังและมิใช่เหตุที่จะโทษจำเลยได้ จำเลยจึงยังไม่มีความรับผิดใด ๆ ที่จะต้องคืนเงินภาษีและดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่เมื่อต่อมามีการเพิกถอนการขายทอดตลาด และโจทก์ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ทวงถามให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว กรณีเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้และต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 มกราคม 2552 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ป.รัษฎากร ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วออกจากภาษีที่ต้องชำระ
มาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้ว แต่กรณี เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายในช่วงหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 ที่จะนำมาหักได้ ประกอบกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) ของจำเลย ในช่องการคำนวณภาษีรายการที่ 4 ก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้ว จึงนำมาถือเป็นเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือชำระเกินในรายการที่ 5 เช่นนี้ โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในรายการที่ 4 มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ โดยไม่ต้องรอเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ถึงจะนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาเครดิตภาษี โจทก์จึงไม่มีภาษีที่ชำระขาดที่จะต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำหลักเกณฑ์ตามหนังสือที่ กต.0723/ว.3956 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ที่ให้คำนวณเงินเพิ่มจากภาษีที่ชำระขาดโดยไม่คำนึงถึงภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จึงเป็นการแปลความตามมาตรา 67 ตรี ในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีและเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของหลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีของผู้เสียภาษี การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อ vs. ภาระภาษีของผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้ออยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้น เงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก ไม่ใช่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่างๆ" ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินจึงไม่หมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้พึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนแล้ว ย่อมมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในกำหนดตามที่ระบุไว้ และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และสิทธิเรียกเงินคืนกรณีวางเงินเกินจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้นำเงินสมทบและผลประโยชน์มาวางศาลเพื่อจ่ายให้แก่จำเลย โจทก์จึงเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร บริษัท ส. เป็นเพียงผู้กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์เท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลยมิใช่โจทก์ แต่บริษัท ส. เป็นผู้จ่าย บริษัท ส. จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จ่ายเกินไปคืน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์วางเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบต่อศาลแรงงานกลางเกินไปโดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ผู้วางเงินดังกล่าวและมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่วางเกินไปคืน ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยด้วยว่า บริษัท ส. กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์ เป็นการวินิจฉัยในรายละเอียด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าบริษัท ส. กระทำการแทนโจทก์ คำวินิจฉัยส่วนนี้ก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากโจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่เกินจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แม้โจทก์จะหลงลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่จำเลยไป แต่เมื่อโจทก์นำส่งเงินภาษีที่ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์นำส่งให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจากจำเลยได้ จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
of 3