พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าหลังมติคณะกรรมการฯ และการรับมรดกความในคดีเช่า - การไม่จำเป็นต้องสอบสวนผู้เช่า
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าตลอดจนกฎกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกตามความแห่ง พ.ร.บ.นี้มิได้บังคับให้ต้องสอบสวนผู้เช่าในกรณีที่ผู้ให้เช่าขอเข้าอยู่ในห้องเช่าการสอบสวนในที่นี้ก็คือสอบสวนความจำเป็นของผู้ให้เช่าที่จะต้องเข้าอยู่ในห้องของตนที่ให้เช่า โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับความจำเป็นของผู้เช่าฉนั้นเมื่อคณะกรรมการสอบสวนผู้ให้เช่าแล้วลงมติไปโดยมิได้สอบสวนผู้เช่าเลยเช่นนี้จึงเป็นการชอบด้วย ก.ม. แล้ว
ผู้ให้เช่าจะร้องเท็จหรือปิดบังคณะกรรมการ ฯ เกี่ยวกับเรื่องขอเข้าอยู่ในห้องเช่าอย่างใดนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับกรรมการฯอย่างใด เมื่อคณะกรรมการได้ลงมติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วย ก.ม.แล้ว ผู้เช่าจะอ้างเรื่องร้องเท็จนั้นมาทำลายมติของคณะกรรมการ ฯ ไม่ได้
ผู้ให้เช่าจะเข้าอยู่ในห้องเช่าต้องขอมติคณะกรรมการเมื่อคณะกรรมการฯลงมติให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าแล้ว ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ ต่อไป (พอได้รับมติผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิความมติผู้เช่าไม่ยอมออก ผู้ให้เช่า จึงฟ้องขับไล่ จำเลยโดยอ้างมติคณะกรรมการ ฯ ผู้ให้เช่าตายลงระหว่างพิจารณาก่อนได้เข้าอยู่ในห้องเช่า) แม้ผู้ให้เช่าจะยังอยู่หรือตายไปก็ตาม ผู้เช่าจะอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ ต่อไปไม่ได้ ภรรยาของผู้ให้เช่าจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องร้องขอความยินยอมจากคณะกรรมการฯใหม่ มติของคณะกรรมการฯ ในกรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า
ผู้ใดมีส่วนได้เสียตาม ก.ม. ในผลแห่งคดีใด อาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดโดยยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ให้เช่าจะร้องเท็จหรือปิดบังคณะกรรมการ ฯ เกี่ยวกับเรื่องขอเข้าอยู่ในห้องเช่าอย่างใดนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับกรรมการฯอย่างใด เมื่อคณะกรรมการได้ลงมติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วย ก.ม.แล้ว ผู้เช่าจะอ้างเรื่องร้องเท็จนั้นมาทำลายมติของคณะกรรมการ ฯ ไม่ได้
ผู้ให้เช่าจะเข้าอยู่ในห้องเช่าต้องขอมติคณะกรรมการเมื่อคณะกรรมการฯลงมติให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าแล้ว ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ ต่อไป (พอได้รับมติผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิความมติผู้เช่าไม่ยอมออก ผู้ให้เช่า จึงฟ้องขับไล่ จำเลยโดยอ้างมติคณะกรรมการ ฯ ผู้ให้เช่าตายลงระหว่างพิจารณาก่อนได้เข้าอยู่ในห้องเช่า) แม้ผู้ให้เช่าจะยังอยู่หรือตายไปก็ตาม ผู้เช่าจะอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ ต่อไปไม่ได้ ภรรยาของผู้ให้เช่าจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องร้องขอความยินยอมจากคณะกรรมการฯใหม่ มติของคณะกรรมการฯ ในกรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า
ผู้ใดมีส่วนได้เสียตาม ก.ม. ในผลแห่งคดีใด อาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดโดยยื่นคำร้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ให้เช่าและการสิ้นสุดความคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมค่าเช่าเมื่อมีการอนุมัติให้เข้าอยู่
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าตลอดจนกฎกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกตามความแห่งพระราชบัญญัตินี้มิได้บังคับให้ต้องสอบสวนผู้เช่าในกรณีที่ผู้ให้เช่าขอเข้าอยู่ในห้องเช่าการสอบสวนในที่นี้ก็คือสอบสวนความจำเป็นของผู้ให้เช่าที่จะต้องเข้าอยู่ในห้องของตนที่ให้เช่าโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับความจำเป็นของผู้เช่าฉะนั้นเมื่อคณะกรรมการสอบสวนผู้ให้เช่าแล้วลงมติไปโดยมิได้สอบสวนผู้เช่าเลยเช่นนี้จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้ให้เช่าจะร้องเท็จหรือปิดบังคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับเรื่องขอเข้าอยู่ในห้องเช่าอย่างใดนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับกรรมการฯ อย่างใดเมื่อคณะกรรมการได้ลงมติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้เช่าจะอ้างเรื่องร้องเท็จนั้นมาทำลายมติของคณะกรรมการฯ ไม่ได้
ผู้ให้เช่าจะเข้าอยู่ในห้องเช่าต้องขอมติคณะกรรมการเมื่อคณะกรรมการฯ ลงมติให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าแล้วผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯต่อไป (พอได้รับมติผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิตามมติผู้เช่าไม่ยอมออก ผู้ให้เช่า จึงฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างมติคณะกรรมการฯ ผู้ให้เช่าตายลงระหว่างพิจารณาก่อนได้เข้าอยู่ในห้องเช่า) แม้ผู้ให้เช่าจะยังอยู่หรือตามไปก็ตามผู้เช่าจะอ้างความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ต่อไปไม่ได้ภรรยาของผู้ให้เช่าจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องร้องขอความยินยอมจากคณะกรรมการฯ ใหม่มติของคณะกรรมการฯ ในกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า
ผู้ใดมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีใด อาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
ผู้ให้เช่าจะร้องเท็จหรือปิดบังคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับเรื่องขอเข้าอยู่ในห้องเช่าอย่างใดนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับกรรมการฯ อย่างใดเมื่อคณะกรรมการได้ลงมติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้เช่าจะอ้างเรื่องร้องเท็จนั้นมาทำลายมติของคณะกรรมการฯ ไม่ได้
ผู้ให้เช่าจะเข้าอยู่ในห้องเช่าต้องขอมติคณะกรรมการเมื่อคณะกรรมการฯ ลงมติให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าแล้วผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯต่อไป (พอได้รับมติผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิตามมติผู้เช่าไม่ยอมออก ผู้ให้เช่า จึงฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างมติคณะกรรมการฯ ผู้ให้เช่าตายลงระหว่างพิจารณาก่อนได้เข้าอยู่ในห้องเช่า) แม้ผู้ให้เช่าจะยังอยู่หรือตามไปก็ตามผู้เช่าจะอ้างความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ต่อไปไม่ได้ภรรยาของผู้ให้เช่าจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องร้องขอความยินยอมจากคณะกรรมการฯ ใหม่มติของคณะกรรมการฯ ในกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า
ผู้ใดมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีใด อาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ แม้มติคณะกรรมการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ก็ไม่ลบล้างความยินยอมที่ได้ทำไปแล้ว
ผู้ให้เช่ายื่นคำร้องขอเข้าอยู่ในห้องเช่าเอง ต่อคณะอนุกรรมการควบคุมค่าเช่าประจำจังหวัด อนุกรรมการได้เชิญให้ผู้ให้เช่าและผู้เช่ามาเพื่อแจ้งมติคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าให้ทราบ ผู้ให้เช่าและผู้เช่าจึงตกลงยินยอมตามกำหนดที่คณะกรรมการกำหนด คือให้ผู้เช่าออกจากห้องเช่าภายใน 8 เดือนและมีความว่าผู้เช่าตกลงยินยอมจะออกจากห้องเช่าของผู้ให้เช่าตามมติของคณะกรรมการควบคุมเช่าภายในกำหนด 8 เดือน ฯลฯ ดังนี้ข้อตกลงเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นความยินยอมของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ มาตรา 16 (5) แล้ว ฉะนั้นภายหลังอนุกรรมการควบคุมค่าเช่า ประจำจังหวัด จะเสนอเรื่องนี้ขึ้นไปยังคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าสั่งตามอำนาจ คณะกรรมการได้ลงมติไม่ให้ผู้เช่าเข้าอยู่ห้องเช่าของผู้ให้เช่าตามคำร้องก็ตามมติกรรมการก็ไม่ลบล้างความยินยอมดังกล่าวแล้ว ผู้เช่าไม่ออกจากห้องเช่า โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาทเพิกถอนมติคณะกรรมการสมาคม ต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอคดีเป็นคำร้องขอ อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งการร้องขอในลักษณะเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคม คงมีแต่บัญญัติให้สมาชิกหรือพนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคมตามที่บัญญัติในมาตรา 100 ได้เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นการร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคม มิใช่ขอเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคม กรณีจึงไม่มีบทบัญญัติใดรับรองให้สมาชิกสมาคมหรือผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิโดยคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท แม้ภายหลังมีผู้คัดค้านเข้ามาก็ไม่ทำให้อำนาจการยื่นคำร้องขอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้นเป็นคำร้องขอที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินสายส่งไฟฟ้า: มติคณะกรรมการไม่ใช่คำสั่งทางปกครองผูกพัน กฟผ. มีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม
พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิต พ.ศ.2511 มาตรา 30 บัญญัติให้จำเลยเท่านั้นเป็นผู้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นในที่ดินที่ถูกสายส่งไฟฟ้าพาดผ่าน การที่จำเลยมีหนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย ขอให้มีคำสั่งไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อตั้งคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินฯ ให้แก่ราษฎรเจ้าของที่ดินที่ถูกแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าของจำเลยพาดผ่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ออกคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 1476/2536 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินฯ ได้มีมติในการประชุมกำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และราษฎรที่ถูกแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านเรื่อยมานั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงการขอความร่วมมือจากส่วนราชการในพื้นที่ที่จำเลยประกาศกำหนดแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินของราษฎร เพื่อขอให้ช่วยพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้เป็นธรรมเท่านั้น มติของที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สิน ฯ จึงมิใช่คำสั่งทางปกครองอันจะมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ตามมติดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นเพียงความเห็นที่เสนอเพื่อให้จำเลยใช้พิจารณาประกอบดุลพินิจในการจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นในที่ดินที่ถูกเขตเดินสายส่งไฟฟ้าของจำเลยพาดผ่านให้เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 เท่านั้น หากจำเลยเห็นว่ามติของคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินฯ ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมย่อมมีอำนาจไม่เห็นชอบกับมติที่ประชุมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724-8191/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการปรับเพิ่มเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างก่อนวันมีมติปรับเพิ่ม
การที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเสนอขอปรับเพิ่มเงินเดือนถือว่าเป็นการยื่นข้อเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องค่าจ้าง แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไม่ได้ส่งสำเนาข้อเรียกร้องให้นายทะเบียนทราบ ไม่มีการระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นผู้แทนในการเจรจาของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่มีการแจ้งชื่อผู้แทนจำเลยในการเจรจาแก่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเมื่อตกลงกันได้ตามรายงานการประชุมก็ไม่มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้แทนในการเจรจาทั้งสองฝ่ายแล้วประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน อันเป็นกระบวนการที่กำหนดไว้ในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 25, 26, 27 คงมีแต่รายงานการประชุมซึ่งลงชื่อผู้จดรายงานเพียงผู้เดียว การประชุมระหว่างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับจำเลยจึงเป็นเพียงการตกลงร่วมกันเพื่อให้จำเลยพิจารณาปรับเพิ่มเงินเดือน ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6, 28 เมื่อคณะกรรมการของจำเลยเห็นชอบด้วยในการปรับเพิ่มเงินเดือน จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเห็นสมควรปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจ มาตรา 13 วรรคสาม
การพิจารณาว่ามติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีในการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานของจำเลยมีผลครอบคลุมถึงพนักงานกลุ่มใดต้องพิจารณาจากฐานการคิด เหตุผล และข้อมูลที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติโดยใช้ข้อมูลเดียวกับการพิจารณาของคณะกรรมการของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้หลักการที่จำเลยตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้เฉพาะพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน โจทก์ทั้งสี่ร้อยหกสิบแปดซึ่งออกจากงานไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนและเป็นวันที่จำเลยระบุไว้ในคำสั่งปรับเงินเดือนย่อมไม่มีสภาพเป็นพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
การที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนถือเป็นการให้ความเห็นชอบในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 วรรคสาม
การพิจารณาว่ามติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีในการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานของจำเลยมีผลครอบคลุมถึงพนักงานกลุ่มใดต้องพิจารณาจากฐานการคิด เหตุผล และข้อมูลที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติโดยใช้ข้อมูลเดียวกับการพิจารณาของคณะกรรมการของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้หลักการที่จำเลยตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้เฉพาะพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน โจทก์ทั้งสี่ร้อยหกสิบแปดซึ่งออกจากงานไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนและเป็นวันที่จำเลยระบุไว้ในคำสั่งปรับเงินเดือนย่อมไม่มีสภาพเป็นพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
การที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนถือเป็นการให้ความเห็นชอบในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 วรรคสาม