คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: การเปลี่ยนแปลงชื่อโฉนดหลังมรณะ ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่พิพาทมาเป็นของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของป. เจ้าของที่แท้จริงจึงนำอายุความคดีมรดกมาใช้บังคับไม่ได้แม้ป.ถึงแก่ความตายนับถึงวันฟ้องในเวลา7ปีฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างหลังมรณะ: กำหนดเวลา 10 ปีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 มิใช่อายุความฟ้องร้อง
กรมสรรพากรผู้ร้องได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไปยังผู้จัดการมรดกของจำเลยเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2535 ผู้จัดการมรดกของจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้วไม่นำเงินภาษีอากรชำระให้ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมสามารถใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ได้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 อันเป็นเวลาภายในกำหนดสิบปีที่ผู้ร้องได้ใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร วิธีการดังกล่าวเป็นกรณีของการบังคับชำระหนี้ซึ่งผู้ร้องอาจบังคับได้ภายในสิบปีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271 มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดี จึงไม่อาจอ้างอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้ได้ คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องขอเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลต้องดำเนินการให้ถูกต้องก่อน
จำเลยถึงแก่กรรมระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ให้ก. ฟังโดยระบุว่าเป็นทนายจำเลยโดยไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องของก. ที่ขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะดังนั้นศาลอุทธรณ์ภาค3จะพิพากษาคดีไปโดยที่ยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ทายาทของจำเลยผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยผู้มรณะเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะหาได้ไม่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3จึงไม่ชอบยังถือไม่ได้ว่าก. ทายาทได้เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยโดยชอบแต่ประการใดก. จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะเกินกำหนด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ที่ 1มรณะ หลังจากโจทก์ที่ 1 มรณะเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 ต่อมาบ.จึงยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 1 แต่การเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะนั้น แม้จะร้องขอเข้ามาเมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะก็ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ประกอบด้วยมาตรา 132(3) ก็ให้อยู่ในอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้แล้วแต่จะพิจารณาเห็นสมควรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ บ.เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 1 ผู้มรณะ โดยไม่จำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทขอพิจารณาใหม่หลังศาลพิพากษาคดีขาดนัด และการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยการขาดนัดหากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามมาตรา 42 และ 43 นั้น หากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณา ในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาสผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังมรณะและเจตนาโกงเจ้าหนี้: เหตุผลสมควรในการใช้ทุนประกอบการและชำระหนี้
ป. กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ร่วม โดยจำนองที่ดิน 7 แปลงเป็นประกันหนี้ และจำนำพืชไร่กับโจทก์ร่วมโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้ ต่อมา ป. ถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นภรรยา ป. จึงเข้าดำเนินกิจการค้าแทนและได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. โจทก์ร่วมทวงถามหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย ต่อมาจำเลยโอนขายที่ดินซึ่งจำนอง 2 แปลงให้บุคคลภายนอก และโอนทะเบียนรถยนต์จากชื่อ ป. เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนซึ่ง ป. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ดังนี้ การที่จำเลยขายที่ดิน 2 แปลง โดยอ้างว่าเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนทำธุรกิจการค้าเพื่อใช้หนี้ของ ป. และใช้เป็นทุนเลี้ยงดูบุตรของ ป.4 คน นับว่ามีเหตุผลสมควร ทั้งโจทก์ก็ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากที่ดินจำนอง จึงยังไม่แน่ชัดว่าไม่เพียงพอชำระหนี้หรือไม่ สำหรับรถยนต์แม้จะโอนทะเบียนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน โจทก์ร่วมก็สามารถบังคับคดีได้ตลอดเวลา นอกจากนี้จำเลยเคยติดต่อให้โจทก์ร่วมขายพืชไร่ที่ ป. จำนำและโอนขายหุ้นของ ป. เพื่อชำระหนี้ แสดงว่าจำเลยมีความสนใจและตั้งใจชำระหนี้ ดังนั้นพฤติการณ์ของจำเลยยังไม่พอฟังว่ามีเจตนาโอนทรัพย์ให้ผู้อื่นเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตให้เป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยหวังผลภายหลังมรณะ ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
โจทก์ทราบเรื่องที่ป.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่ตนและรู้ด้วยว่าที่ดินพิพาทจะตกเป็นของตนเมื่อป.ตายแล้วการเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโจทก์ก็ต้องมีเจตนามุ่งหวังว่าจะได้ที่ดินนั้นเมื่อป.ตายแล้วเช่นกันดังนี้ขณะป.ยังไม่ตายจะถือว่าโจทก์ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของหรือครอบครองปรปักษ์เพื่อแย่งเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ได้ต้องฟังเป็นเรื่องครอบครองแทนป.เท่านั้นและในกรณีเช่นนี้โจทก์จะครอบครองเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่ทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงหากความผิดเกิดขึ้นก่อนมรณะ
จำเลยกระทำความผิดต่อ ช.เจ้ามรดกในขณะที่ช.ยังมีชีวิตอยู่ ช.จึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อช.ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมของช.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนช. เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 4,5 และ 6 ไม่ได้ให้อำนาจโจทก์ไว้ ทั้งสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ตกทอดมายังโจทก์ แม้จะพิจารณาได้ความตามฟ้องว่าทรัพย์มรดกของ ช.ตกได้แก่โจทก์ก็ตามแต่ทรัพย์มรดกนั้นก็เพิ่งตกมาเป็นของโจทก์ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์หลังมรณะ: ผู้ครอบครองหลังตายยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ ต้องพิสูจน์ความเป็นทายาทก่อน
เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งต่างก็เป็นทายาทของ ร.อ้างว่าครอบครองทรัพย์พิพาทเพื่อเป็นของตนภายหลัง ร.ตายเพียง 4 ปี แม้จะฟังเป็นความจริงข้างฝ่ายใด ก็ยังไม่มีฝ่ายใดได้กรรมสิทธิ์ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงข้อโต้เถียงในการเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทของผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายครอบครอง
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินคดีโดยตั้งประเด็นว่าทรัพย์พิพาทเป็นมรดกและผู้ร้องเป็นทายาท แต่ตั้งประเด็นผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความแล้วเมื่อผู้ร้องนำสืบฟังไม่ได้ ก็ชอบที่จะต้องยกฟ้อง และยังไม่สมควรที่จะแบ่งมรดกให้ในคดีนี้
of 5