พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจช่วงกับการไม่ถือเป็นผู้เข้าร่วมขนส่ง
การที่จำเลยได้ ดำเนินการติดต่อ กรมเจ้าท่า และ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อการนำร่องเรือ น. ซึ่ง บรรทุกสินค้ารายพิพาทเข้าสู่ท่าและขอที่จอดเทียบเรือ กับติดต่อ กรมศุลกากร เพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจ สินค้าในเรือ รวมทั้งแจ้งเวลาเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่เจ้าของเรือ น. และบริษัท ฟ. ผู้ขนส่งจะต้อง กระทำโดย ตนเองซึ่ง ได้ มอบอำนาจให้บริษัท ซ. เป็นผู้กระทำการแทนแต่บริษัท ซ.มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงได้ มอบอำนาจช่วงให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเหล่านั้นแทน การที่จำเลยกระทำไปดังกล่าวยังไม่พอให้ถือได้ว่าจำเลยได้ ทำหน้าที่เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับเรือ น. และบริษัท ฟ. และเพียงแต่ จำเลยได้ ร่วมตรวจสอบสินค้ารายพิพาทกับพนักงานตรวจสอบสินค้าของ การท่าเรือแห่งประเทศไทยรับมอบใบตราส่งคืนมาแล้วออกใบรับของให้แก่ผู้รับตราส่งกับแจ้งไปยังผู้อำนวยการกองตรวจสอบสินค้าขอเข้า กรมศุลกากร ขอแก้บัญชีสินค้าเพื่อให้ผู้รับตราส่งไปดำเนินพิธีการศุลกากร ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะ เป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงและการสมบูรณ์ของใบมอบอำนาจ แม้มีการมอบอำนาจเพิ่มเติมภายหลัง
ย. มอบอำนาจช่วงให้ ส.ฟ้องคดีแทนโจทก์ ต่อมา ย.ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์โดยมีอำนาจดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ หลังจากนั้น ย.และ ส.ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขใบมอบอำนาจเดิมหรือทำใบมอบอำนาจขึ้นใหม่ ดังนี้แสดงว่า ย.และส.มีเจตนาให้ใช้ใบมอบอำนาจเดิมนั่นเอง ใบมอบอำนาจเดิมระหว่างย.และ ส.จึงสมบูรณ์ ส.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่โจทก์มอบอำนาจให้ ย.ดำเนินคดีดังกล่าว
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยถูกต้องตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายใดหรือเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีประเด็น แต่ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยถูกต้องตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายใดหรือเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีประเด็น แต่ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจากการมอบอำนาจช่วงและการมอบอำนาจต่อเนื่อง: ความสมบูรณ์ของอำนาจฟ้อง
ย.มอบอำนาจช่วงให้ส.ฟ้องคดีแทนโจทก์ต่อมาย.ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์โดยมีอำนาจดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ หลังจากนั้น ย.และส.ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขใบมอบอำนาจเดิมหรือทำใบมอบอำนาจขึ้นใหม่ ดังนี้แสดงว่า ย.และส.มีเจตนาให้ใช้ใบมอบอำนาจเดิมนั่นเอง ใบมอบอำนาจเดิมระหว่างย.และส.จึงสมบูรณ์ส.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่โจทก์มอบอำนาจให้ ย.ดำเนินคดีดังกล่าว
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยถูกต้องตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายใดหรือเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีประเด็น แต่ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้.
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยถูกต้องตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายใดหรือเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีประเด็น แต่ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะในหนังสือมอบอำนาจช่วง การขอเรียกจำเลยร่วมเกินขอบเขต
หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า 'องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยนายยรรยง คุโรวาท รองผู้อำนวยการ (บริหาร) ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติ สุจริตพงศ์ ฟ้องนายจำลอง รุธิระวุฒิ บริษัทขอนแก่นยนต์ จำกัด บริษัทธนกิจประกันภัย จำกัด ต่อศาลแพ่ง ในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหาย ทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาล......ฯลฯ...'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการ มิใช่มอบอำนาจทั่วไป และระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้น แม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้อง แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย และที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้น ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116-1117/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจช่วง: การมอบอำนาจเกินขอบเขตเดิม
ทำใบมอบอำนาจให้เขามีอำนาจแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ฟ้องความได้ ดังนี้ เมื่อผู้รับมอบอำนาจได้แต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจช่วง เพื่อฟ้องคดีแล้ว ผู้รับมอบอำนาจช่วงจะมอบอำนาจช่วงให้แก่บุคคลอื่นต่อไปในการฟ้องคดียังโรงศาลอีกต่อหนึ่งนั้นย่อมอยู่นอกเขตในใบมอบอำนาจดังกล่าวแล้ว ผู้รับมอบอำนาจช่วงคนหลังนี้ จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจช่วง และข้อยกเว้น พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า กรณีให้เช่าเพื่อทำโรงเรือน
ในหนังสือมอบอำนาจข้อ 5 มีว่าให้นายบานเย็นมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้รับมอบอำนาจคนอื่นที่ได้แต่งตั้งไว้เพื่อการให้เช่าทรัพย์สินของตัวการ และข้อ 6 มีว่าให้นายบานเย็นมีอำนาจอีกหลายประการ เช่นประนีประนอมยอมความและยื่นฟ้องต่อศาลด้วย ดังนี้ เมื่ออ่านรวมกันทั้งหมดต้องแปลว่าผู้มอบอำนาจประสงค์ให้นายบานเย็นมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้
การเช่าที่ดินมาโดยประสงค์จะปลูกสร้างโรงเรือนให้คนอื่นเช่า มิใช่เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเอง ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า พ.ศ.2489
การเช่าที่ดินมาโดยประสงค์จะปลูกสร้างโรงเรือนให้คนอื่นเช่า มิใช่เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเอง ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า พ.ศ.2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะคู่สัญญาในหนังสือมอบอำนาจช่วง การฟ้องนอกเหนือจากนั้นเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้รวมทั้งให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ และ ร. มอบอำนาจช่วงให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทน ซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจ มีข้อความว่า บริษัท น. โดย ร. ผู้จัดการทั่วไป ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินคดีใด ๆ ต่อบริษัท ช. โดยให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้ง หรือเป็นจำเลยเข้าต่อสู้คดีในการดำเนินคดีแพ่ง ฯลฯ ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการ ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจดำเนินคดีเฉพาะกับบริษัท ช. เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจทั่วไป และไม่ได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองด้วย การที่ ก. แต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการฟ้องบุคคลนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วง ทั้งข้อความที่ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับบริษัท ช. ตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจนั้นเท่านั้น ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง
โจทก์ทราบมาตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้วว่าบริษัท ช. และบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นคนละบริษัทกัน ทั้งไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาแต่ต้น แม้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจช่วง ซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวไว้และได้
โจทก์ทราบมาตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้วว่าบริษัท ช. และบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นคนละบริษัทกัน ทั้งไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาแต่ต้น แม้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจช่วง ซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวไว้และได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15116/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจช่วงฟ้องคดี: อำนาจของผู้รับมอบอำนาจช่วงต้องชัดเจนตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยผู้อำนวยการได้มอบอำนาจให้ ธ. รองผู้อำนวยการ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในบรรดากิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งด้วย โดยความตอนท้ายระบุว่า "ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างคดีหรือมอบอำนาจให้ตัวแทนช่วงดำเนินการแทนได้ในทุกกรณีแห่งกิจการที่มอบอำนาจ" ธ. จึงมอบอำนาจช่วงให้ ร. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายมีอำนาจกระทำการแทนรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งได้ เพราะเป็นการมอบอำนาจช่วงที่มีการให้อำนาจไว้ แต่การที่ ร. มอบอำนาจช่วงต่อให้ อ. ฟ้องจำเลยทั้งห้าแทนโจทก์อีกต่อหนึ่งนั้น เป็นการกระทำนอกขอบเขตของหนังสือมอบอำนาจเพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว มิได้ระบุให้อำนาจผู้ที่ได้รับมอบอำนาจช่วงจาก ธ. มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นต่อไปอีกช่วงหนึ่งได้ด้วย อ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116 - 1117/2495 (ประชุมใหญ่) แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่คำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้คำวินิจฉัยในปัญหานี้มีผลไปถึงจำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความในคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10222/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแสดงอำนาจฟ้องได้
ใบมอบอำนาจนั้น บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากร กำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความระบุชัดแจ้งว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง ให้เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแก่ลูกหนี้รายจำเลยและ อ. หรือ จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาตามฟ้องแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจช่วงนี้จึงมีลักษณะเป็นตราสารใบมอบอำนาจซึ่งต้องปฏิบัติตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจช่วงว่า โจทก์โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการฟ้องคดี ต่อสู้คดี ดำเนินกระบวนพิจารณา จำหน่ายสิทธิในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีปกครอง คดีล้มละลาย คดีภาษีอากร คดีคุ้มครองผู้บริโภค และให้มีอำนาจดำเนินการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ด้วย ดังนี้ การมอบอำนาจช่วงดังกล่าวของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องร้องคดีนี้และคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยได้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการได้มากกว่าครั้งเดียวโดยให้ผู้รับมอบอำนาจช่วง 2 คน ซึ่งต่างคนต่างกระทำการฟ้องคดีและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ กรณี ต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจช่วงคนละ 30 บาท รวม 60 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจช่วงมาเพียง 30 บาท ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์จึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจช่วง: การมอบอำนาจช่วงต่อเกินขอบเขตทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามหนังสือมอบอำนาจ โจทก์มอบอำนาจให้ อ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยระบุให้ อ. มีอำนาจทำการแทนโจทก์ในกิจการต่างๆ รวม 10 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 10 ระบุว่า ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจช่วง และให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้รับมอบอำนาจตามข้อ 1 ถึงข้อ 9 ทุกประการ อ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจแต่งตั้ง พ. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงเพื่อกระทำกิจการตามข้อ 1 ถึงข้อ 9 แทนโจทก์ได้ แต่ไม่มีอำนาจที่จะมอบอำนาจช่วงต่อได้ พ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้ง ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ การที่ พ. แต่งตั้ง ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงต่อเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนาของโจทก์ที่แสดงไว้ การมอบอำนาจช่วงต่อให้ฟ้องคดีจึงเป็นการกระทำที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงกระทำนอกเหนือขอบอำนาจ ป. ผู้รับมอบอำนาจช่วงต่อไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้