คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, การโอนกรรมสิทธิ์, มัดจำ, สัญญาแลกเปลี่ยน, หน้าที่ชำระราคา
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยมิได้ระบุว่าหากโจทก์ยืมเงินจากธนาคารไม่ได้ ให้ถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน โจทก์จึงจะนำเหตุที่ตนกู้ยืมเงินไม่ได้มาบอกเลิกสัญญากับจำเลยหาได้ไม่ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่อาจชำระราคาค่าบ้านและที่ดินให้แก่จำเลยได้ ทั้งการที่จำเลยโอนบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตนก็เป็นการกระทำโดยชอบและสุจริตเพราะดำเนินการไปโดยได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาท ดังกล่าวได้ แม้สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยจะระบุว่าโจทก์มอบบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นค่ามัดจำในการ ซื้อบ้านและที่ดินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้ส่งมอบบ้าน ดังกล่าวให้แก่จำเลย บ้านและที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่มัดจำ ดังนี้แม้โจทก์จะผิดสัญญาจำเลยก็ไม่อาจริบบ้านและที่ดินพิพาทได้ อย่างไรก็ตามการที่โจทก์และจำเลยต่างต้องโอนกรรมสิทธิ์ ในบ้านและที่ดินให้แก่กันนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาแลกเปลี่ยน ทรัพย์สิน ซึ่งต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 518-520 โดยจำเลยอยู่ใน ฐานะผู้ซื้อบ้านและที่ดินพิพาทส่วนโจทก์เป็นผู้ขายเมื่อจำเลย โอนบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของตนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้อง ชำระราคาค่าบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับมัดจำคืน
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ 6 งวด เริ่มงวดแรกวันที่ 15 มีนาคม 2533 งวดสุดท้ายวันที่ 15สิงหาคม 2533 ส่วนที่เหลือ 358,800 บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 388 การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ 5 ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตาม มาตรา 387 การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัท ท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว แม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การข่มขู่, มัดจำ, และการบอกล้างสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อไม่ได้วางมัดจำเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน 389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว
แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9678/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สิทธิในการฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวางมัดจำแล้ว
จำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ โดยจำเลยได้รับเงินมัดจำของโจทก์ไปแล้วจำนวน 15,000 บาทและจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือเมื่อจำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ดังนั้น ถึงแม้ตามสัญญาซื้อขายจะมิได้ระบุรายละเอียดว่า สัญญาทำขึ้นระหว่างใครกับใคร ที่ดินโฉนดเลขที่เท่าใด เนื้อที่และราคาเท่าใด ชำระราคาหรือวางมัดจำกันแล้วหรือไม่เพียงใด ส่วนที่เหลือจะชำระกันอย่างไร ไม่มีรายละเอียดที่จะบังคับกันได้ตามเอกสารดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ได้วางมัดจำให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ยินยอมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9678/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน สัญญาจะซื้อจะขาย การบังคับคดีตามสัญญา
จำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์และได้มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้โดยจำเลยได้รับเงินมัดจำของโจทก์ไปแล้วจำนวน15,000บาทและจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมทั้งรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือเมื่อจำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้วข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังนั้นถึงแม้ตามสัญญาซื้อขายจะมิได้ระบุรายละเอียดว่าสัญญาทำขึ้นระหว่างใครกับใครที่ดินโฉนดเลขที่เท่าใดเนื้อที่และราคาเท่าใดชำระราคาหรือวางมัดจำกันแล้วหรือไม่เพียงใดส่วนที่เหลือจะชำระกันอย่างไรไม่มีรายละเอียดที่จะบังคับกันได้ตามเอกสารดังกล่าวก็ตามแต่เมื่อจำเลยตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ได้วางมัดจำให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ยินยอมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำและการชำระหนี้ค่าจ้างก่อสร้างเมื่อผิดสัญญา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(1)มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเงินมัดจำที่ริบจะจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องกันตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1ซึ่งเป็นฝ่ายว่าจ้างผิดสัญญาและมีการเลิกสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาเงินมัดจำที่โจทก์ริบไว้จึงไม่อาจจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนสำหรับหนี้ค่าจ้างก่อสร้างที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องชำระหนี้ค่าจ้างก่อสร้างงวดแรกให้แก่โจทก์เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำและการชำระหนี้ค่าจ้างก่อสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาและเลิกสัญญา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(1)มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเงินมัดจำที่ริบจะจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องกันตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมีการเลิกสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาเงินมัดจำที่ริบจึงไม่อาจจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนสำหรับหนี้ค่าจ้างก่อสร้างที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำซื้อขายรถยนต์ เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดส่งมอบ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน 2535 จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้ การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้วคือเริ่มนับในวันที่ 1 ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงมัดจำและการคืนเงินกรณีไม่ชำระราคาที่ดินตามสัญญา
โจทก์และ น.กับจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันว่า ในวันทำสัญญาโจทก์มอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท และ น.ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 5,000,000 บาท ให้จำเลยเป็นมัดจำ และมีข้อตกลงข้อ 4 ว่า หากธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยยินดีคืนเงินจำนวน1,000,000 บาท ตามข้อ 1 ให้แก่โจทก์ และสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำขึ้นตามข้อ 3 เป็นอันยกเลิก แต่เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยก็ไม่ได้คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาทแก่โจทก์ และกลับมีการเพิ่มข้อตกลงเป็นข้อ 6 ว่า จำเลยได้รับเงินจำนวน 500,000 บาท จากโจทก์เพื่อเป็นการวางเงินเพิ่มตามข้อ 1 และตกลงขยายระยะเวลาตามข้อ 5 ออกไปเป็นวันที่ 27 กันยายน 2534 แสดงว่าโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงเปลี่ยนแปลงเฉพาะเรื่องเพิ่มวงเงินที่โจทก์ได้วางตามข้อ 1 จาก 1,000,000 บาท เป็น1,500,000 บาท และขยายระยะเวลาจ่ายเงินร้อยละ 50 ของราคาที่ดินออกไปเป็นวันที่ 27 กันยายน 2534 เท่านั้น ส่วนข้อความอื่น ๆ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันตามเดิม เมื่อถึงวันที่ 27 กันยายน 2534 โจทก์ไม่นำเงินอีกร้อยละ 50 ของราคาที่ดินที่ยังขาดอยู่มาชำระให้จำเลย จำเลยก็จะต้องคืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่ะบุไว้ในข้อ 4 และกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกทรัพย์คืนตามข้อตกลง มิใช่โจทก์เรียกให้จำเลยคืนทรัพย์ในลักษณะลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัย โจทก์มีสิทธิเรียกคืนมัดจำ
จำเลยทำสัญญาขายไม้ฟืนที่ตัดจากพื้นที่ที่จำเลยได้รับสัมปทานทำไม้ส่งมอบให้โจทก์โดยโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยต่อมามีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลง ทำให้การส่งไม้ฟืนเป็นไปไม่ได้ การชำระหนี้จึงตกเป็น พ้นวิสัยเพราะเหตุอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้และสัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย
of 9