คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพยายามขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักร และการโยงมาตรากฎหมายเพื่อกำหนดโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังอาจพยายามขนสินค้าผ่านเขตแดนทางบกออกนอกราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประเทศกัมพูชานอกทางอนุมัติแต่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ขัดขวางจับกุมเสียก่อน ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 5อันมีบทลงโทษตามมาตรา 10 มาตรา 10 นี้ บัญญัติว่าผู้ฝ่าฝืนมาตรา 5 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 จึงเห็นได้ว่ามาตรา 10ดังกล่าวนั้นโยงไปให้เอาโทษในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยกระทำผิดโดยฝ่าฝืนมาตรา 5, 10แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) ซึ่งการพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 5 ก็มีโทษเช่นเดียวกับการกระทำผิดสำเร็จ ศาลก็ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้เต็มตามที่ มาตรา 10ให้โยงมาใช้ แม้โจทก์จะได้อ้างมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาด้วยก็จะถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเพียงฐานพยายาม คือสองในสามของโทษสำหรับความผิดสำเร็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาตามกระทงความผิดที่เข้าเกณฑ์ แม้ขอเพิ่มโทษตามมาตราที่เบากว่าก็ทำได้
เมื่อศาลพิพากษาเรียงกระทงลงโทษและความผิดแต่ละกระทงที่ลงโทษเข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษได้ ย่อมเพิ่มโทษได้ทุกกระทงความผิดที่ลงโทษนั้น
โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93เมื่อไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษตามมาตรา 93 แต่เข้าเกณฑ์เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้ ศาลย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเช็คด้วยการลงลายมือชื่อด้านหลัง และข้อยกเว้นการปฏิบัติตามมาตราที่เกี่ยวข้อง
การลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็ค ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตาม มาตรา 920 ไม่ต้องทำการโอนกันตามมาตรา 306 อีก และไม่ต้องปฏิบัติตาม มาตรา 939 วรรค 2,3 เพราะมาตรา 921 บัญญัติให้เป็นพิเศษแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626-628/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเจ้าหนี้ต่างประเทศตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: ม.91 vs. ม.178 และการพิสูจน์หนี้
เจ้าหนี้ตาม ม.91 นั้น หมายถึงเจ้าหนี้ที่เป็นคนไทยหรือต่างประเทศที่อยู่นอกราชอาณาจักร แต่ ม.178 นั้น บัญญัติ ถึงเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรโดยเฉพาะ มิได้หมายความถึงคนไทยด้วย และหนี้ที่เกิดนั้นมิได้กำหนดว่าจะต้องเกิดขึ้นที่ไหน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้โจทก์อ้างมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษตามมาตราที่ถูกต้องได้
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้น โจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองเกินกว่า 0.20 เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ม. 48,71 ไม่ได้อ้าง ม.73 มาดังนี้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์อ้างมาตราผิดไป ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ม. 73 อันเป็นฐานความผิดที่ถูกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้โจทก์ฟ้องผิดมาตรา
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้น โจทก์สืบสมแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองเกินกว่า 0.20เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตแต่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48,71 ไม่ได้อ้าง มาตรา 73 มาดังนี้เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์อ้างมาตราผิดไป ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม มาตรา73 อันเป็นฐานความผิดที่ถูกได้(เนื้อฎีกาที่ 1285/92)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการเพิ่มลดโทษ: ลดโทษตาม 58 ทวิ ก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษตาม 72
มาตรา 58 ทวิ เป็นเรื่องวางกำหนดโทษ ไม่ใช่เรื่องลดโทษจะหักกลบลบกับโทษที่เพิ่มตาม มาตรา 39 ไม่ได้ ต้องลดมาตราส่วนโทษลงก่อนแล้วจึงเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องไม่ตรงตามมาตราที่ใช้ลงโทษ
ฟ้องใช้ถ้อยคำว่า 'จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 อีกฝ่ายหนึ่ง ต่างสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกาย ซึ่งกันและกันโดยจำเลยที่ 1-2 สมคบกันใช้เหล็กแหลมแทงทำร้ายจำเลยที่ 3 บาดเจ็บสาหัสจำเลยที่ 3-4 สมคบกันใช้กำลังชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ 1-2ถึงบาดเจ็บทุพพลภาพ' ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา254,256 นั้น ย่อมถือได้ว่า มีข้อหาว่าจำเลยทำผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 258 ด้วย แม้ท้ายฟ้องไม่ระบุมาตรา 258 ถ้าทางพิจารณาได้ความจริง ก็ใช้มาตรา 258 ลงแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน: การพิจารณาความผิดตามมาตราที่ถูกต้อง
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั้นตรี รับราชการอยู่ในแผนกเงินและรายได้ กองผลประโยชน์สำนักงานท่าเรือกรุงเทพ ฯ กรมการขนส่งกระทรวงคมนาคมมีหน้าที่เก็บเงินลูกหนี้ของสำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯ แล้วต้องนำส่งต่อเจ้าหน้าที่กองผลประโยชน์ แต่จำเลยเก็บเงินมาแล้วบังอาจยักยอกเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย มิได้ส่งให้ทั้งหมดตามหน้าที่ ดังนี้ ย่อมเป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 131 ไม่ใช่มาตรา 319 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีอาญาต้องระบุเหตุแห่งการกระทำความผิดตามมาตราที่อ้างถึง มิฉะนั้นถือว่าฟ้องไม่ครบองค์
ฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา319(3) นั้นต้องบรรยายว่าเข้ามาตรา 319(3) เพราะเหตุใด
มิฉะนั้นถือว่า ฟ้องบรรยายไม่ครบองค์ความผิดตามมาตรานี้
ฎีกาของโจทก์ที่ขอเฉพาะให้ลงโทษจำเลยตามมาตราใดมาตราหนึ่งนั้นเมื่อลงโทษตามบทมาตราที่โจทก์ขอไม่ได้แล้วจะลงโทษตามมาตราอื่นที่ไม่ได้ขอมาได้หรือไม่ ไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย ศาลต้องยกฟ้อง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2493)
of 3