พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และการยกปัญหาข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์
โจทก์เพิ่งยกปัญหาเรื่องการดำเนินการกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นได้ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ได้มีโอกาสคัดค้านตั้งประเด็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคสอง ในคดีเดิมผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องทำสัญญาต่างตอบแทนกับบ.หรือโจทก์ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วว่าไม่มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับโจทก์หรือระหว่างผู้ร้องกับ บ. การที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่ามีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับบ. ขึ้นมาอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อยกเว้นตามมาตรา 144 และขอบเขตการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 พิพากษายกฟ้อง การที่ศาลฎีกาได้ส่งคดีที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นคดีดังกล่าวเท่านั้นที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(4) ที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ ไม่ ใช่ คดีนี้ซึ่งไม่มีกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีประเด็นข้อพิพาทและคู่ความเดิม
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้งหมด 6 รายการ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ถอนการยึดทรัพย์เฉพาะบางรายการคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ขอให้ปล่อยทรัพย์รายเดียวกันกับทรัพย์ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้องไปแล้ว ดังนี้คำร้อง ของ ผู้ร้องในคดีก่อนกับคำร้อง ของ ผู้ร้องในคดีนี้ต่างก็ได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของผู้ร้อง ซึ่งเป็นทรัพย์รายเดียวกัน ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นอย่างเดียวกันคู่ความทั้งสองฝ่ายก็เป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้เคยมีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไปแล้ว คำร้อง ของผู้ร้องในคดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นทรัพย์สินที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา 144
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้งหมด6 รายการ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ถอนการยึดทรัพย์เฉพาะบางรายการคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ขอให้ปล่อยทรัพย์รายเดียวกันกับทรัพย์ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้องไปแล้ว ดังนี้คำร้อง ของ ผู้ร้องในคดีก่อนกับคำร้อง ของ ผู้ร้องในคดีนี้ต่างก็ได้ร้องขอให้ศาลมีคำสัปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นทรัพย์รายเดียวกัน ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นอย่างเดียวกันคู่ความทั้งสองฝ่ายก็เป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้เคยมีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไปแล้ว คำร้องของผู้ร้องในคดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีซ้ำ: ประเด็นต่างกัน ไม่ขัดมาตรา 144 ป.วิ.พ.
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 144 จะต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีครั้งแรกมีประเด็นว่า จำเลยผิดนัดเพราะมิได้ชำระเงินงวดเดือนธันวาคม 2525 หรือไม่ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในครั้งหลังมีประเด็นว่า จำเลยผิดนัดเพราะชำระเงินไม่ตรงกับวันที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ จึงเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าประเด็นต่างกัน ไม่ขัดมาตรา 144 ป.วิ.พ.
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของป.วิ.พ.มาตรา144จะต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดแล้วโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีครั้งแรกมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะมิได้ชำระเงินงวดเดือนธันวาคม2525หรือไม่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในครั้งหลังมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะชำระเงินไม่ตรงกับวันที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเป็นคนละประเด็นกันกรณีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา144.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชน ต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2788/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลชี้ขาดแล้ว ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
จำเลยได้ยื่นคำร้องใหม่ มีข้ออ้างและคำขอให้ศาลวินิจฉัยเช่นเดียวกับคำร้องของจำเลยที่ได้ยื่นไว้แต่เดิม ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในมูลคดีเดียวกัน แม้เปลี่ยนฝ่ายฟ้อง ศาลยกฟ้องตามมาตรา 144
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องสิบตำรวจโท ส. กับโจทก์ให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับรถของโจทก์ ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยในข้อที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในคดีนั้นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ ขณะคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากรถชนกันในกรณีรายเดียวกันนี้ ประเด็นแห่งคดีทั้งสองคดีจึงมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า เหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความผิดของฝ่ายใด ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบแล้ว หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลไม่รับคำร้องใหม่ตามมาตรา 144
ผู้ร้องร้องขอให้คืนของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว สั่งว่า พยานหลักฐานของผู้ร้องยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของของกลาง ให้ยกคำร้อง ดังนี้เท่ากับฟังว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของของกลางอันแท้จริงนั้นเอง ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนของกลางอีกจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 จะอ้างว่าคำสั่งตามคำร้องฉบับก่อนนั้นยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาด ว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของแท้จริงหาได้ไม่