พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่สมบูรณ์เมื่อจำเลยบางส่วนไม่มีทนาย และการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีทนาย แต่จำเลยที่ 1ไม่มีทนาย ฎีกาทำเป็นฉบับเดียว ลงชื่อทนายของจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีทนายไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาด้วย ฉะนั้น แม้ฎีกาฉบับนี้จะได้ระบุชื่อของจำเลยที่ 1 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้หนึ่งที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่1 ด้วย ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งห้า ซึ่งหมายรวมถึงจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น จึงคลาดเคลื่อน ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 เท่านั้น ฎีกา
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) นั้นต้องเป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ แต่ตามฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 1 ใช้กุญแจผิดกฎหมายไขตู้โชว์แล้วลักเอาทรัพย์ไป ฉะนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไป ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) นั้นต้องเป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ แต่ตามฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 1 ใช้กุญแจผิดกฎหมายไขตู้โชว์แล้วลักเอาทรัพย์ไป ฉะนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไป ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้เขื่อนกันดินไม่ใช่ทรัพย์สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(10)
ไม้เขื่อนกันดินเพื่อถมดินวางรางของการรถไฟถือเป็นเพียงเครื่องก่อสร้างสำหรับทำทางเพื่อวางรางรถไฟ. ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(10).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่จอดรถสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(9) หมายถึงที่ให้จอดรถได้จริง ไม่ใช่ที่รอรับส่งผู้โดยสาร
ที่จอดรถสาธารณะตามมาตรา 335(9) แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น เป็นที่จอดรถซึ่งสาธารณชนมีสิทธิจะนำรถของตนไปจอดได้ ดังนั้น ที่ซึ่งมีป้ายให้รถประจำทางหยุดรับส่งคนโดยสารเป็นระยะ ๆ ไป จึงไม่ใช่ที่จอดรถสาธารณะตามความมุ่งหมายของกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความหมาย 'ที่จอดรถสาธารณะ' ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(9) และการวินิจฉัยความผิดฐานลักทรัพย์
ที่จอดรถสาธารณะตามมาตรา 335(9) แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นที่จอดรถซึ่งสาธารณชนมีสิทธิจะนำรถของตนไปจอดได้ ดังนั้น ที่ซึ่งมีป้ายให้รถประจำทางหยุดรับส่งคนโดยสารเป็นระยะๆ ไป จึงไม่ใช่ที่จอดรถสาธารณะตามความมุ่งหมายของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่ที่เข้าข่ายทั้งสถานที่บริการสาธารณะและสาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า ศาลพิจารณาโทษตามมาตรา 335(9) ที่เฉพาะเจาะจงกว่า
จำเลยบังอาจลอบเข้าไปลักทรัพย์ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อบริการสาธารณะ มาตรา 335(8) หรือลักทรัพย์ในสาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า มาตรา 335(9)
อนุมาตรา 8 เป็นสถานที่บริการสาธารณะทั่วๆไป ส่วนอนุมาตรา 9 จำกัดสถานที่บางแห่งไว้โดยเฉพาะ แต่การกระทำผิดของจำเลยนี้เข้าอนุมาตรา 9 ตรงกว่าจำเลยมีผิดตาม มาตรา 335(9) อนุมาตราเดียวจึงต้องลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ตอน 1 ไม่ใช่ ตอน 2
อนุมาตรา 8 เป็นสถานที่บริการสาธารณะทั่วๆไป ส่วนอนุมาตรา 9 จำกัดสถานที่บางแห่งไว้โดยเฉพาะ แต่การกระทำผิดของจำเลยนี้เข้าอนุมาตรา 9 ตรงกว่าจำเลยมีผิดตาม มาตรา 335(9) อนุมาตราเดียวจึงต้องลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ตอน 1 ไม่ใช่ ตอน 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดฐานลักทรัพย์ – การใช้บทมาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง แทนมาตรา 334 เมื่อมีการใช้ยานพาหนะและอาวุธ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตโดยใช้อาวุธปืนและใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมซึ่งเกิดเหตุในเวลากลางคืน เป็นการบรรยายฟ้องซึ่งรวมถึงการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83, 336 ทวิ เข้าไว้ด้วย เมื่อคดีฟังได้ว่าเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันมีอาวุธปืนกับใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำความผิดเพื่อพาทรัพย์นั้นไปซึ่งชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ประกอบ มาตรา 83 อันเป็นการปรับบทความผิดไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงพิพากษาแก้ไขปรับบทความผิดให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย กรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องและไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ต้องรับโทษสูงขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7815/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรมต้องระบุทรัพย์สินเฉพาะเจาะจงตาม ป.อ. มาตรา 335(12) ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งมีอาชีพกสิกรรม โดยมิได้บรรยายว่า ทรัพย์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการทำกสิกรรมนั้น ตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 (12) เพราะลำพังการลักทรัพย์อื่นของผู้มีอาชีพกสิกรรมย่อมไม่เป็นความผิดตามอนุมาตรานี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8993/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้น: การตัดโซ่ที่ยึดทรัพย์ถือเป็นอันตรายสิ่งกีดกั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายคำว่า "กีดกั้น" ว่า ขัดขวางไว้ การที่ผู้เสียหายใช้โซ่คล้องยึดกล้องวิดีโอของกลางกับตู้โชว์ จึงเป็นการขัดขวางไม่ให้มีการนำกล้องวิดีโอของกลางไปอันมีลักษณะเป็นสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองกล้องวิดีโอของกลางเหมือนเช่นรั้ว หรือลูกกรงหน้าต่าง ประตูบ้าน การที่จำเลยตัดโซ่คล้องที่ยึดกล้องวิดีโอของกลางกับตู้โชว์จนขาดออกแล้วลักกล้องวิดีโอของกลางไปจึงเป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตรา 335 ป.อ. กรณีลักทรัพย์โดยทำลายสิ่งกีดกั้น – การพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงเวลากลางวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทำอันตรายกุญแจประตูบ้านพักซึ่งเป็นสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ แล้วผ่านประตูดังกล่าวเข้าไปลักทรัพย์ภายในบ้านพักอันเป็นเคหสถาน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (3) อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225