คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นโทษจำคุกตาม ม.40 ไม่ต้องมีการลดโทษมาก่อน
การจะยกอาชญาจำคุก ตาม ม. 40 จำเลยไม่จำต้องได้ลดโทษมาก่อน (เทียบฎีกาที่ 546/62,21/2473)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษและการยกโทษจำคุก: ศาลอุทธรณ์ต้องกำหนดโทษก่อนจึงจะยกโทษได้
ไม่จำเปนต้องได้ลดโทษมาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายได้เองตามกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 42 ทวิ เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ผู้มีเงินได้พึงประเมินในการหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) โดยมิได้กำหนดหลักเกณฑ์บังคับว่าต้องหักค่าใช้จ่ายอย่างไร โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เพียงอนุมาตราเดียว เป็นเงิน 60,000 บาท โดยไม่จำต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่าย
การหักค่าใช้จ่ายต้องถือเอาเงินได้ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) เป็นหลัก เมื่อโจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เต็มจำนวน 60,000 บาทแล้ว โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ของโจทก์ที่ 2 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) หรือ (6) ต้องพิจารณาจากลักษณะงานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
เงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) เป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ส่วนมาตรา 40 (6) เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระรวมถึงการบัญชี ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้ประเภทต่าง ๆ กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายไม่เหมือนกัน เมื่อเงินได้เกี่ยวกับการรับทำงานให้ของผู้ประกอบวิชาชีพล้วนเป็นการรับจ้างบริการในลักษณะเดียวกัน การจะพิจารณาว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด นอกจากจะต้องพิจารณาถึงลักษณะของงานที่ทำว่าเป็นการประกอบวิชาชีพโดยตนเองอาศัยความรู้ความชำนาญและได้รับเงินตามปริมาณผลงานที่ทำหรือไม่แล้ว ยังต้องพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ของผู้ประกอบวิชาชีพประกอบกันด้วย เพราะหากไม่พิจารณาจากค่าใช้จ่ายด้วยแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีเงินได้จากลักษณะงานที่มีค่าใช้จ่ายน้อยก็จะอ้างว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) เพื่อหักค่าใช้จ่ายมากเกินกว่าค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดเงินได้จริง เมื่อเงินได้พึงประเมินที่บริษัท ห. จ่ายให้แก่โจทก์เป็นค่าที่ปรึกษาวางระบบบัญชี มาจากการรับทำงานให้ที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนโดยไม่เกี่ยวกับปริมาณงาน และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีค่าใช้จ่าย เงินได้ดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) หาใช่เงินได้ตามมาตรา 40 (6) ไม่
of 2