คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีว่าสัญญาไม่สมบูรณ์และหนี้ระงับแล้ว ศาลอนุญาตให้สืบพยานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ซึ่งจำเลยได้รับเงินไปแล้ว และจำเลยได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินที่กู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ความจริงเป็นเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์กันระหว่างสามีโจทก์กับสามีจำเลย สามีโจทก์เกรงจะไม่ได้เงินค่าเช่าซื้อจึงให้จำเลยนำที่ดินมาจำนองค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้น โดยให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองแทนเพราะสามีโจทก์เป็นคนต่างด้าว สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ และหนี้ตามสัญญาจำนองได้ระงับสิ้นไปเพราะสามีโจทก์ได้เรียกเอารถยนต์คืนไปแล้ว และในระหว่างที่รถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่ที่สามีจำเลย สามีจำเลยก็ได้ส่งเงินให้สามีโจทก์ และไม่เคยติดค้างดอกเบี้ยคำให้การจำเลยเช่นนี้เป็นคำให้การที่ต่อสู้คดีว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาที่พิพาทอยู่กับสามีโจทก์ แต่การที่ปรากฏมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยก็โดยมีเจตนาจะอำพรางตัวเจ้าหนี้ที่แท้จริงไว้ ทั้งจำเลยยังต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาที่พิพาทเป็นหนี้สืบเนื่องมาจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยอ้างด้วยว่าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไม่มีติดค้างอยู่ระหว่างสามีโจทก์และสามีจำเลย หากฟังได้สมจริงดังจำเลยต่อสู้หนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองตามที่โจทก์ฟ้องก็อาจจะไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าที่ดินขายฝากเป็นสิทธิแยกต่างหากจากสินไถ่ โจทก์มีสิทธิพิสูจน์ข้อตกลงได้โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94
ข้อตกลงของคู่สัญญาขายฝากเกี่ยวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ขายฝากถ้ามิได้จดแจ้งลงไว้ในสัญญาขายฝากเป็นอย่างอื่น คู่สัญญาย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงในเรื่องนี้ได้ เพราะค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเงินต่างก้อนกับสินไถ่ซึ่งเป็นราคาไถ่ถอนที่ดินขายฝาก การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเช่าระหว่างกำหนดเวลาขายฝาก จึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้เรื่องเลิกสัญญาสื้อซื้อขายและการนำสืบพยาน การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงใหม่หลังทำสัญญาซื้อขายเดิมไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อของและผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ครบ การที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยบอกคืนของที่ซื้อให้โจทก์ริบเงินมัดจำและโจทก์ยินยอมนั้น ย่อมเป็นข้อต่อสู้ว่าภายหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว คู่กรณีได้ทำความตกลงกันใหม่ โดยเลิกสัญญาเดิม ฉะนั้น จำเลยย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282-1288/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตมาตรา 94(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย: การรับชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้รู้ถึงสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว และการโอนหนี้
ความหมายของมาตรา 94 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น ไม่จำเป็นจะต้องปรากฏว่ามีการสมยอมกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการกระทำหนี้ขึ้น เพียงแต่ว่าในเวลาที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำหนี้ขึ้น เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ขอรับชำระหนี้นั้นไม่ได้
ถ้าหนี้เดิมยังเป็นของผู้โอน ผู้โอนก็ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อมีการโอนหนี้ดังกล่าวนี้แล้ว ผู้รับโอนย่อมขอรับชระหนี้นั้นได้ เพราะเป็นเพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ขอชำระหนี้ กรณีเช่นนี้ ไม่เข้าตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (2) เพราะเป็นหนี้เดิมที่โอนมา ไม่ใช่เป็นหนี้อันเจ้าหนี้ได้ยอมให้ลูกหนี้ (ผู้ล้มละลาย) กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลในคดีที่อ้างการมอบที่ดินแทนการชำระหนี้ ไม่ขัดมาตรา 94 ป.วิ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ห้ามไม่ให้ฟังพยานบุคคลแต่เฉพาะในกรณีที่กฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดง อย่างเรื่องที่ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีในการกู้ยืมเงิน ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้จำเลยทำต่างดอกเบี้ยเงินกู้นั้น โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายบทนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นมาตรา 94(ข) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: การนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างตัวการ-ตัวแทน แม้ขัดกับเอกสาร
กรณีที่จะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้น ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง ในกรณีเช่นว่านี้จะขอนำสืบเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้นไม่ได้
แต่การขอสืบความจริงสำหรับกรณีอื่น เช่น ระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวแก่การบังคับหรือไม่บังคับนิติกรรมนั้นอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะต้องแตกต่างไปจากที่ปรากฏในหนังสือก็ย่อมนำสืบได้
โจทก์ขอสืบความจริงว่าโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยไปจัดการแบ่งปันให้ทายาทตามเหตุผลในฟ้องเป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งเป็นลักษณะส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายนั้น เป็นการนำสืบในกรณีว่าส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ย่อมนำสืบได้(อ้างฎีกาที่ 838/2493) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานเพื่อทำลายเอกสารสัญญากู้: การสืบเพื่อโต้แย้งความสมบูรณ์ของหนี้ตามสัญญาเป็นสิทธิที่ทำได้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกู้เงินไปตามหนังสือสัญญากู้จำเลยสู้ว่าไม่ได้รับเงินตามเอกสารสัญญากู้เพราะเหตุโจทก์จะยอมให้จำเลยกู้เงินตามฟ้องได้ต่อเมื่อขายนาจำเลยจึงเซ็นนามไว้ในสัญญากู้ของโจทก์ก่อนแต่แล้วขายนาไม่ได้ถือว่าจำเลยต่อสู้และจะขอสืบว่าหนี้ตามเอกสารสัญญากู้ไม่สมบูรณ์หรือเพื่อทำลายเอกสารนั้นและการสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์นี้ถือว่าเป็นการสืบที่ทั้งแก้ไขและทำลายเอกสารเข้าอยู่ในวรรคท้ายแห่ง มาตรา 94 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยชัดเพราะการสืบทำลายนั้นย่อมต้องมีการแก้ไขอยู่ในตัว
of 2