คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มิชอบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบ และการคำนวณภาษีจากรายรับเมื่อไม่ส่งเอกสาร ทำให้การประเมินเบี้ยปรับเป็นไปโดยมิชอบ
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบของกรมสรรพากรโจทก์ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจาก ยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท เมื่อนำภาษีจำนวน9,997,338.10 บาท มา คำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี ดังกล่าว จำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาทเมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่ จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ถือได้ว่าเป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้วและเมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด. 51) ระบุว่าไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดง ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงต้อง เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษี ที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี คิดเป็นเงินเพิ่ม 999,733.81 บาทส่วนเบี้ยปรับตามที่เจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 จำนวน 4,998,669.05 บาท นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรีได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อนประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้ว จึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22แห่งประมวลรัษฎากร อีก การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้านยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ แม้คดีนี้ จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาลจะ วินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มี อำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษา เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาตลาดปกติ ไม่ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลอันเนื่องมาจากการบังคับคดีต่างกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อทรัพย์ในการซื้อขายกันตามปกติราคาทรัพย์ในการซื้อขายทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวจึงอาจแตกต่างกันได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 อ้างเพียงว่า ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติมากจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทั้งเหตุที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลทราบดีว่าราคาประเมินในการจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสูงกว่าราคาขายทอดตลาดนั้น ก็มิใช่การกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำร้องของ จำเลยที่ 1 จึงมิได้อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันจะเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อและการโอนสิทธิโดยมิชอบ สิทธิเช่าซื้อยังคงอยู่กับผู้เช่าซื้อเดิม
โจทก์เช่าซื้ออาคารพิพาทจาก ก. และชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาต่อมามีการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจให้ไปโอนการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่อาจถือเอาสิทธิในการเช่าซื้ออาคารพิพาทได้ โจทก์คงเป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้ออาคารพิพาทที่แท้จริงและมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืนไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบตามมาตรา 71(1) และ 87 ทวิ(7) แห่งประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติตามมาตรา 87 ทวิ(7) เดิม แห่งประมวลรัษฎากรเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นแบบแสดงรายการค้าในเดือนที่ล่วงมาแล้วซึ่งหมายถึงในเดือนที่ถึงกำหนดชำระแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบภายหลัง จึงมีอำนาจกำหนดรายรับโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้าในเดือนที่ล่วงมาแล้วหรือที่ถึงกำหนด ชำระแล้วนั้นได้ หาใช่เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในเดือนที่ผู้ประกอบการค้ายังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการค้าไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า เจ้าพนักงานได้กำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ในวันที่ 29 มีนาคม 2526 โดยให้จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายรับไม่ต่ำกว่าเดือนละ 87,000 บาท ตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป จึงเป็นการกำหนดรายรับขั้นต่ำ ไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าให้จำเลยชำระเป็นการขัดต่อมาตรา 87 ทวิ(7) ประกอบกับในขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 25 ที่บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจ ยังไม่ใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 86 เบญจเป็นเรื่องให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้หาใช่เป็นเรื่องที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ การที่ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ประกอบการค้ามา ตรวจสอบไต่สวนได้ตามมาตรา 87 ตรี(เดิม)แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อผู้ประกอบการค้าไม่ปฎิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมิน ตามมาตรา 87(3) แต่เจ้าพนักงานประเมินต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) เมื่อปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยอาศัยยอดรายรับขั้นต่ำที่กำหนดล่วงหน้า โดยมิชอบดังกล่าว เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าที่จำเลยจะต้องชำระ จึงมิใช่เป็นการปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) การประเมินของเจ้าพนักงานจึงไม่ชอบ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้ว่าถูกต้องเนื่องจากการกำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่จำต้อง โต้แย้งคัดค้าน และอุทธรณ์การประเมินแต่อย่างใด ประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ซึ่งบัญญัติว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ยื่นรายการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้หรือมิได้ทำบัญชีหรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิหรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฎ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้ายอดในรอบระยะบัญชีก่อนไม่ปรากฎ ให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร" ซึ่งตามมาตราดังกล่าวหาได้กำหนดให้นำมาตรา 87 ทวิ(7) มาใช้บังคับด้วยไม่ ทั้งรายรับขั้นต่ำของจำเลยตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดไว้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือเอารายรับขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้สำหรับกิจการของจำเลยเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้ามาเป็นยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ นั้น ไม่ต้องด้วย มาตรา 71(1) จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7989/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อโดยมิชอบ การทำละเมิดต่อโจทก์ และการฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 9 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มาตรา 9ต่างก็บัญญัติว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน และตามระเบียบของทางราชการ กระทรวงการคลังมีอำนาจทำความเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดฐานละเมิดตามที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์เสนอความเห็นไปหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องตามความเห็นของกระทรงการคลังได้ แม้เลขาธิการของโจทก์เคยมีความเห็นว่าไม่มีผู้รับผิดชอบทางแพ่งก็ตาม และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง หนังสือพิพาทไม่มีความจำเป็นต้องจัดซื้อโดยเร่งด่วนเนื่องจากได้จัดซื้อตอนกลางปีการศึกษา และไม่ใช่หนังสือภาคบังคับ ไม่จำเป็นตามหลักสูตรเพราะครูสามารถสอนนักเรียนได้โดยใช้คู่มือ จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือ หากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอีกทั้งร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ แต่ไม่เป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด แม้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยทั้งสี่เคยมีหนังสือสั่งการไว้ว่าร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด เป็นหน่วยราชการให้สนับสนุนกิจการร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด ก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะความผิดพลาดและเข้าใจผิดทั้งหนังสือสั่งการดังกล่าวเป็นการแนะนำเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีกรณีพิเศษตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2522 ข้อ 16 จึงไม่ชอบ เป็นการผิดระเบียบและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือสอบถามไปยังผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรีว่าได้ซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือไม่โดยจังหวัดราชบุรีได้ตอบโจทก์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524ก็เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อหนังสือเท่านั้นยังไม่ทราบผู้ทำละเมิด ซึ่งจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีกชั้นหนึ่ง จึงนับอายุความจากวันที่จังหวัดราชบุรีแจ้งการจัดซื้อหนังสือดังกล่าวไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือจากกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 10 กันยายน 2533 ระบุชื่อผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28เดือนเดียวกัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการออกบัตรประชาชนโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น
จำเลยเป็นหัวหน้างานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาลเทศบาลเมือง มีหน้าที่สอบสวนให้ได้ความจริงกรณีมีประชาชนมาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในกรณีบัตรสูญหาย เพื่อตรวจสอบให้ได้ความจริงว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แต่จำเลยกลับสอบสวน ร.ผู้มาขอบัตรใหม่เพียงคนเดียว แล้วฟังว่า ร.กับจ.เป็นคนเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งนี้โดยจำเลยได้ทราบมาก่อนจากแล้วว่าร.กับ จ.เป็นคนละคนกัน เมื่อจำเลยสอบสวนแล้วก็ได้อนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ร.ในนาม จ.โดยปราศจากอำนาจ และจำเลยมิได้นำเสนอหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลหรือปลัดเทศบาลหรือรองปลัดเทศบาลผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนตามระเบียบของทางราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ จ.สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมือง และกรมการปกครอง จำเลยจึงมีความผิดตามป.อ.มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล การนำพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายมาใช้โดยมิชอบ
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) ที่บัญญัติให้เงินได้จากการขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิตหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 80 เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในการคำนวณเงินได้ของบุคคลธรรมดา ไม่ใช่กับการคำนวณเงินได้ของนิติบุคคล ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดในประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้นำมาใช้ในการคำนวณเงินได้ของนิติบุคคล และพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวก็เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณค่าใช้จ่ายที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพึงหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ มิใช่เพื่อกำหนดรายได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงนำมาใช้บังคับกับกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยอนุโลมไม่ได้ เพราะการคำนวณหาเงินได้ของนิติบุคคลจะต้องเป็นไปตามมาตรา 65,65 ทวิและ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในส่วนที่กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มีต้นทุนขายร้อยละ 80 โดยนำพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาตรา 8(25) มาใช้บังคับโดยอนุโลมจึงไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะต้องดำเนินการตรวจสอบตามเอกสารหลักฐานทางบัญชีที่โจทก์นำมามอบให้ตรวจสอบ หากไม่เป็นการเพียงพอที่จะตรวจสอบหาเงินได้ของโจทก์ได้ตามมาตรา 65,65 ทวิ และ 65 ตรี แล้วจึงจะใช้วิธีการประเมินตามมาตรา 71(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146-4147/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากผู้บริหารฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับทางการเงินและอนุมัติการเบิกจ่ายโดยมิชอบ
ระเบียบข้อบังคับเรื่องการอนุมัติค่าใช้จ่ายของจำเลยกำหนดว่าในการเบิกค่าใช้จ่ายระหว่างที่ทำงานให้บริษัทห้ามพนักงานอนุมัติค่าใช้จ่ายที่ตนเสนอเองเป็นอันขาดและบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นต้องให้ผู้ควบคุมดูแลงานที่ใกล้ชิดที่สุดของพนักงานนั้นพิจารณาตรวจสอบเสียก่อนและต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจให้อนุมัติรายงานค่าใช้จ่ายได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเงินหมายความว่าการอนุมัติค่าใช้จ่ายห้ามมิให้อนุมัติข้ามสายงานทั้งจำเลยไม่เคยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ในกิจการของจำเลยโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและไม่เคยมอบอำนาจให้โจทก์ที่1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ดังนั้นการที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2นำรถยนต์และวิทยุติดตามตัวซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ที่2ใช้ในกิจการของจำเลยและให้เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการสำหรับวิทยุติดตามตัวก่อให้เกิดความผูกพันต่อบุคคลภายนอกโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเมื่อโจทก์ที่2อยู่ในสายงานบังคับบัญชาของผู้อื่นที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการวิทยุติดตามตัวจึงเป็นการอนุมัตินอกสายงานเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่จำเลยได้วางไว้แม้โจทก์ที่2มาช่วยทำงานในสายงานของโจทก์ที่1ก็เป็นอำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานเท่านั้นส่วนอำนาจการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆโจทก์ที่2ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานการที่โจทก์ที่1มีตำแหน่งหน้าที่ระดับผู้บริหารเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินควรที่จะต้องเคร่งครัดระมัดระวังต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่โจทก์ที่1กลับฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเสียเองถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหายทั้งฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ที่1ได้จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการเบิกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ: การบังคับใช้กฎหมายและการตกเป็นของแผ่นดิน
การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะส่งเรื่องให้พนักงาน-อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่ 1 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ป. จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 เกษียณอายุราชการแล้วก็ตาม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้น มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 จัตวา เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลา มิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกสลากกินแบ่งรัฐบาล - การครอบครองสลากและการนำไปขึ้นเงินรางวัลโดยมิชอบ
จำเลยที่ 1 ขอสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกรางวัลจากโจทก์ไปตรวจกับผลการออกรางวัลที่จำเลยที่ 2 จดไว้แล้วไม่คืนให้โจทก์กลับนำไปมอบให้ธนาคารขอรับเงินรางวัลแทนและนำเงินมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และ ท. ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 และมารดาจำเลยที่ 1 ที่ธนาคารดังกล่าวอันเป็นการเบียดบังเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลและเงินรางวัลที่ได้รับมาเป็นของตนและของบุคคลอื่นโดยทุจริต การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานยักยอก
of 9