คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ทำสัญญาเช่าอาคารกับลูกหนี้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 มูลแห่งหนี้จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สำหรับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนตุลาคม 2544 จำนวน 85,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 2 นั้น เจ้าหนี้ยังเช่าอาคารอยู่โดยนำเงินค่าเช่าที่ต้องชำระให้ลูกหนี้ส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แสดงว่าลูกหนี้ได้ให้เจ้าหนี้ใช้ประโยชน์ในอาคารที่เช่าตามสัญญาซึ่งรวมถึงเดือนตุลาคม 2544 แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนดังกล่าวคืน จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ไม่ได้
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาจ้างอันเป็นการฟ้องในมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย และฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่มูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้างและการฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้าง ขอให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องระบุข้อตกลงครอบคลุมค่าเสียหายทั้งหมด จึงจะถือเป็นการระงับหนี้ได้
บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า "วันที่ 23 ธันวาคม 2539 ได้มี ป. ผู้ขับขี่รถยนต์เก๋ง และ ว. ผู้ขับขี่รถยนต์กระบะ มาพบเพื่อเจรจาค่าเสียหาย ที่ตกลงกันได้ คือ ป. ได้เรียกร้องให้ ว. ซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายให้อยู่ในสภาพเดิม และ ว. ยอมตกลงตามข้อเสนอทุกประการ" เอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความระบุถึงค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กาย รวมทั้งมิได้ระบุถึงค่าเสียหายอื่นๆ ที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับชดใช้จากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏข้อความให้เห็นด้วยว่าคู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น หรือข้อความว่าโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะฟ้องร้องจำเลยทั้งสองทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไป บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้มีเงื่อนไข หากมูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
บริษัท ส. ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัทต่อบุคคลอื่นมีข้อตกลงว่าหากเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลอื่นแล้ว บริษัท ส. จะชดใช้ให้เจ้าหนี้โดยมีจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัท ส. ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำไว้กับเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ที่มีเงื่อนไขดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, เช็คพิพาท, สัญญาจ้าง, มูลหนี้, เขตศาล: ศาลฎีกาวินิจฉัยยืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำสัญญาจ้าแรงงานเพื่อว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร โดยทำสัญญาและก่อสร้างอาคารดังกล่าวที่จังหวัดเชียงใหม่ และจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ตามมูลหนี้ค่าก่อสร้างเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานถือว่ามูลหนี้ตามเช็คเกิดจากสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง มูลหนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลหนี้ตามเช็คเกิดจากสัญญาจ้างก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีอำนาจพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารโดยทำสัญญาที่จังหวัดเชียงใหม่ และจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ตามมูลหนี้ค่าก่อสร้างเกี่ยวกับสัญญาจ้างดังกล่าว ถือว่ามูลหนี้ตามเช็คเกิดจากสัญญาจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง มูลหนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7738/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-มูลหนี้ไม่ระงับ: แม้มีคำพิพากษาคดีจำนองแล้ว ศาลยังบังคับตามเช็คพิพาทได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญากู้ยืมเงินและจำนองขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 974,629 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากไม่ชำระให้นำที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งจะเห็นว่าตามสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ มูลฟ้อง และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแตกต่างกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องเรื่องเดียวกัน แม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากการกู้ยืมและสัญญาจำนองเช่นเดียวกัน ฟ้องคดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระให้เสร็จสิ้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญา ยักยอกทรัพย์
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย แม้การขอให้คืนหรือใช้เงินจะเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีข้อตกลงกับโจทก์ว่าในระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดและยอมเสียค่าปรับให้โจทก์อีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่โดยยักยอกเงินของโจทก์ด้วยวิธีการต่างๆ หลายครั้งรวมเป็นเงิน 1,222,095 บาท อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวและค่าปรับตามสัญญาให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกพร้อมค่าปรับ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งของคดีอาญาคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแพ่งจากสัญญาจ้างแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาเรื่องยักยอกเงิน แม้มีคำขอให้คืนเงินเหมือนกัน
คดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อันเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงิน เก็บรักษาเงิน อนุมัติและเบิกจ่ายเงิน ตกลงว่าระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดพร้อมค่าปรับอีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหาย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินโจทก์ไปหลายครั้ง อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้เงินที่ยักยอกและค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ซึ่งเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีมูลจากสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน มิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาเรื่องก่อน
of 31