คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยกทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์ระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิต ไม่ถือเป็นพินัยกรรมบังคับใช้หลังเสียชีวิต จำเลยมีสิทธิปฏิเสธได้
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้นการที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้ว จะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยานและเจตนาในการยกทรัพย์
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คนส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่าผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมด ในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า" ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า"เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรมเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน และเจตนายกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คน ส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมดในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า "ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า "เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรม เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์ให้มีผลทันที ไม่ใช่พินัยกรรมที่บังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
เอกสารที่ผู้ตายทำไว้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพินัยกรรมหรือแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการ กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินว่า ให้เกิดผลบังคับเมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วเลยแม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่า 'เวลาทำหนังสือฉบับนี้มีสติสัมปชัญญะดีเป็นปกติดี' ก็ดี หรือ 'ขอเจตนาครั้งสุดท้าย' ก็ดีก็หาทำให้แปลความได้ว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์ของตนให้เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ ข้อความในตอนท้ายของเอกสารที่ว่า 'ข้าพเจ้าขอยกให้ (ระบุชื่อผู้รับ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป'กลับแสดงแจ้งชัดว่าผู้ตายเจตนาที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับทันทีในระหว่างที่ตนยังมีชีวิต เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่พินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมยกทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสหกรณ์ เป็นโมฆะ ไม่เกิดผลทางกฎหมาย
จำเลยทำหนังสือจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ ส. โดยมิได้ตั้งใจยกให้โดยเสน่หา แต่กระทำไปเพื่อ ส. จะได้นำไปจำนองไว้กับสหกรณ์แล้วเอาเงินมาให้จำเลยใช้สอย นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ เป็นผลให้ที่ดินพิพาทไม่เคยตกทอดเป็นของ ส. แต่ยังคงเป็นของจำเลยตลอดมาฉะนั้นเมื่อ ส. ตายไปเสียก่อนที่จะนำที่ดินพิพาทไปจำนองสหกรณ์ที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดก ส. ทายาท ส. ไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน ถือเป็นการยกทรัพย์สินให้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทายาทอื่นไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรมมีว่า 'ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี) อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ ฯลฯ' นั้นประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า'ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ฯลฯ' ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายกทรัพย์เมื่อตายแล้ว คำว่า 'พินัยกรรม' แสดงเจตนาชัดเจน เอกสารเข้าลักษณะพินัยกรรมตามกฎหมาย
การที่เจ้ามรดกใช้คำว่า 'ขอทำพินัยกรรม' ตามความเข้าใจของสามัญชนทั่วไปย่อมเข้าใจว่าเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วการยกทรัพย์ให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ สามัญชนทั่วไปย่อมไม่ใช้คำว่า พินัยกรรม ทั้งเอกสารก็ไม่มีข้อความที่มุ่งแสดงไปในทางอื่นเช่น ตั้งใจยกทรัพย์ให้ตั้งแต่เจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ ข้อความในเอกสารจึงแสดงเจตนาของเจ้ามรดกไปในทางเดียวว่า ให้ยกทรัพย์ให้แก่ผู้มีชื่อตามเอกสารเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเอกสารดังกล่าวจึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะบุตรคนเดียว การกำหนดการเผื่อตายชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ตายทำพินัยกรรมแสดงเจตนายกทรัพย์ที่มีอยู่และทรัพย์ที่จะเกิดมีในภายหน้าให้บุตรผู้รับพินัยกรรมแต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายตายไปแล้วไม่ให้บุตรคนอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก คำสั่งนี้เป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ทั้งผู้ตายได้ทำคำสั่งของตนลงไว้ในเอกสารซึ่งทำเป็นพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมของผู้ตายโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนข้อกำหนดอย่างอื่นที่ให้ผู้รับพินัยกรรมทำเลี้ยงผู้ตายจนตลอดชีวิต หรือให้ใช้หนี้แทนแม้จะเป็นภาระให้กระทำก่อนตายไว้ด้วย เมื่อมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินไว้แล้ว ก็หาทำให้กลับกลายเป็นการยกให้ใน ระหว่างมีชีวิตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์มรดกให้บุคคลไม่มีสิทธิ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
ทายาทโดยธรรมทำสัญญายกทรัพย์มรดกที่ดินที่ตนมีสิทธิรับมรดกให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิรับมรดก แต่สัญญายกให้นั้นไม่มีข้อความแสดงว่าทั้งสองฝ่ายทำสัญญาเพื่อระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งเพื่อให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันแต่อย่างใดสัญญายกให้นั้นย่อมไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่เจ้าของร่วม ผลบังเกิดใช้กับส่วนของผู้ตายเท่านั้น
การที่เจ้าของร่วมได้ทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์ให้แก่ใคร แม้จะระบุว่า ถ้าเขาทั้งสองตายไปแล้ว ให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้นั้นก็ดี เมื่อผู้ทำพินัยกรรมคนหนึ่งตาย แม้อีกคนยังอยู่ ก็ยอมเกิดผลตามพินัยกรรมเฉพาะทรัพย์ส่วนของผู้ที่ตายไปนั้นแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมบิดาโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท เมื่อบิดาตาย โจทก์ก็ได้รับมรดกมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยกับสามี จำเลยกับสามีเพียงแต่ได้ทำพินัยกรรมยกให้บิดาโจทก์ แต่บัดนี้ไม่ประสงค์จะยกให้แล้ว เพราะบิดาโจทก์ตายไปก่อนจำเลย พินัยกรรมจึงไม่บังเกิดผล ดังนี้ เรื่องพินัยกรรมที่จำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ใช้ดุลพินิจให้รวมค่าธรรมเนียมแล้วให้โจทก์จำเลยเสียฝ่ายละครึ่งได้
การที่เจ้าของร่วมในที่พิพาทเข้าทำในที่ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หาเป้นการละเมิดไม่ เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะฟ้องขอให้ห้ามหรือเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดไม่ได้ (ที่พิพาทยังไม่ได้แบ่งแยก และเข้าทำเต็มทั้งแปลง).
of 5