คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยกเลิก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้ร้องในคดีล้มละลายและการบังคับคดีหลังยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของจำเลยแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจำนองและการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องกระทำในคดีล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งหลาย การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่กระทำการแทนจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้และการขอเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าเป็นกรณีพิพาทกันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเท่านั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ร้องจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อที่จะติดตามเอาทรัพย์สินที่เคยเป็นของจำเลยกลับคืนเข้ากองทรัพย์สินของจำเลย เพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้นั้น เมื่อศาลได้ยกเลิกการล้มละลาย ผู้ร้องก็หมดอำนาจที่จะเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อีกต่อไป แม้ว่าจำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้บังคับในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนและการจำนองให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทปฏิบัติตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนและการจำนองมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เมื่อการยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยแล้ว ก็มีผลทำให้ผู้ร้องไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้ หาใช่เป็นเรื่องการยกเลิกการล้มละลายจะเป็นการลบล้างคำพิพากษาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการชำระหนี้เพื่อยกเลิกการล้มละลายของผู้มีส่วนได้เสีย
แม้คำร้องที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้อายัดไว้มากกว่าหนี้ของเจ้าหนี้ที่เหลือหลายเท่าตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องถูกเพิกถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโอนกลับคืนเข้าไปเป็นกองทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องได้ขอวางเงินในจำนวนที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตแล้ว การที่ผู้ร้องซึ่งต้องเสียสิทธิในที่ดินที่ได้รับซื้อฝากเพราะศาลฎีกาได้พิพากษาให้เพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 116 ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ก็เพื่อให้ที่ดินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา124 หากเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยต่อไป ตลอดจนไม่ต้องเก็บรวบรวมที่ดินของผู้ร้องที่ถูกเพิกถอนนั้น ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้จึงชอบที่จะเข้าชำระหนี้นั้นได้แม้จะเป็นการเข้าชำระหนี้โดยขืนใจจำเลยก็ตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 314 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าชำระหนี้ของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135 (3) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากการประมูลซื้อสิทธิการเช่าที่ถูกยกเลิก และการคืนเงินมัดจำเมื่อไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวได้จากการขายทอดตลาดในราคา1,940,000บาทผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนในวันขายทอดตลาดและกรมบังคับได้มีหนังสือถึงศาลแพ่งให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องแล้วแสดงว่าการซื้อขายเสร็จสิ้นลงแล้วคงอยู่ในระหว่างดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าเท่านั้นแต่จำเลยที่1ร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงงดการบังคับคดีไว้เพื่อรอคำสั่งศาลและได้ให้ผู้ร้องรับเงินค่าซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวคืนไปบางส่วนโดยเหลือเงินไว้ร้อยละ5ของราคาที่ซื้อได้คิดเป็นเงิน97,000บาทปรากฏว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่มีบุคคลอื่นประมูลได้ในราคา2,320,000บาทซึ่งสูงกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลได้กรณีไม่มีความเสียหายใดๆที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา516กรณีไม่มีความเสียหายใดๆที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา516กรมบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินจำนวนนี้จึงต้องคืนเงินจำนวนนี้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากคดีปล่อยสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำเจ้าพระยา: ศาลฎีกายกเลิกค่าชดใช้ที่ไม่ชัดเจน
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษจำนวนเท่าใดทั้งมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้จำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวจำนวนเท่าใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้การที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมเจ้าท่าจึงไม่ถูกต้องแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามเนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964-4967/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายภาษีอากรเปลี่ยนแปลง การกระทำความผิดที่บัญญัติไว้แล้วแต่ถูกยกเลิกตามกฎหมายใหม่ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา83และมีบทลงโทษตามมาตรา92แห่งประมวลรัษฎากรปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534บัญญัติในมาตรา7ให้ยกเลิกความในหมวด4ภาษีการค้ามาตรา77ถึงมาตรา93เดิมและบัญญัติในมาตรา8ให้ใช้ความที่บัญญัติใหม่แทนซึ่งบทบัญญัติมาตรา8ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2535เป็นต้นไปแต่ความที่บัญญัติใหม่ในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534นั้นมิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดที่โจทก์ฟ้องไว้อีกจึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไปการกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364-365/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ฎีกาหมดประโยชน์ ศาลฎีกาไม่พิจารณาอีกต่อไป
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายย่อมมีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและเท่ากับว่าศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไปด้วยในตัวจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของจำเลยเกี่ยวกับคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งอนุญาตยื่นคำให้การล่าช้าและการยกเลิกวันนัดสืบพยานโดยปริยาย
วันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 27 ธันวาคม 2536 ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม2536 โดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องจำเลยในวันดังกล่าวว่า "สำเนาให้โจทก์ นัดไต่สวน ให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน ไม่พบหรือไม่มีผู้รับให้ปิด" กรณีดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อน ก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดวันนัดไต่สวนไว้ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการตัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ดังนั้น กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่27 ธันวาคม 2536 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การให้แก่โจทก์นั้น ย่อมถือว่ายกเลิกไปโดยปริยาย ที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 27 ธันวาคม 2536 ว่านัดสืบพยานโจทก์และนัดไต่สวนขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย จำเลยไม่มาศาลในวันดังกล่าว ถือว่าจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนคำร้องให้ฟังได้ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจและยกคำร้องนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เพราะศาลชั้นต้นมิได้นัดไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยในวันดังกล่าว และการที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน เพราะคดียังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอยื่นคำให้การแก่โจทก์และวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นอันยกเลิกไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งยกเลิกการล้มละลายมีผลทันที เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้อง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งนั้นมีผลทันที จำเลยย่อมหลุดพ้นการล้มละลาย หลุดพ้นคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกลับคืนสู่ฐานะเดิม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 124 ฎีกาของเจ้าหนี้ซึ่งโต้แย้งเกี่ยวกับการยื่นคำขอรับชำระหนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไปให้จำหน่ายคดีเจ้าหนี้เสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติใหม่ยกเลิกความผิดเดิม: การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คฉบับใหม่
การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จึงเป็นกรณีที่ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ดังนั้นแม้คดีนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้นและต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อความผิดเดิม: การยกฟ้องเนื่องจากกฎหมายโรงงานใหม่ยกเลิกข้อกำหนดเดิม
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 8,12,43 และ 44 แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมดปรากฏว่าโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานตัดหรือเย็บเครื่องนุ่งห่มมีคนงานไม่เกิน 50 คน จึงเป็นโรงงานจำพวกที่ 2 ตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกอบกับกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ระบุไว้ว่าการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตและไม่มีบทกำหนดโทษไว้เช่นพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่า ตามบทพระราชบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้น จากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิด
of 10