พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9746/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยกเลิกและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุละเมิด
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างคู่กรณีมีผลให้ระงับสิทธิเรียกร้องของคู่กรณีเดิมและก่อให้เกิดสิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หลังจากทำแล้วคู่กรณีย่อมจะแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นหรือยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ได้ตามสมัครใจเมื่อต่อมาคู่กรณีได้แสดงเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว จึงไม่จำต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศสิทธิหน้าท่าและการยกเลิกสัญญา การกระทำของจำเลยสุจริตเพื่อแก้ไขปัญหาความเสียหายทางเศรษฐกิจ
ก่อนปี 2530 จำเลยที่ 1 ไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าหรือที่เรียกว่าสิทธิหน้าท่า เรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ในขณะนั้น หากมีปั้นจั่นประจำเรือก็จะใช้ปั้นจั่นของตนยกตู้สินค้า หากเรือลำใดไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ ก็จะใช้ปั้นจั่นของจำเลยที่ 1 หรือของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เข้าไปรับจ้างยกตู้สินค้าโดยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าออกด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 มีนโยบายที่จะริเริ่มประกาศสิทธิหน้าท่า จึงได้สั่งซื้อปั้นจั่นเคลื่อนที่ชนิดเดินบนรางจำนวน 6 คัน จากประเทศยูโกสลาเวีย กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 520 วัน ได้มีบริษัทเอกชนมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอขอเข้าทำการรับจ้างขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าในช่วงเวลาที่รอการติดตั้งปั้นจั่นของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงส่งเรื่องให้จำเลยที่ 1 พิจารณา จำเลยที่ 1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียแล้ว เห็นชอบให้มีการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยให้เอกชนเข้ามารับจ้างเหมาขนถ่ายตู้สินค้า ครั้นวันที่26 พฤศจิกายน 2530 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมายกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือ ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ โดยใช้ปั้นจั่นเคลื่อนที่เริ่มลงมือทำงานภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา เมื่อโจทก์เริ่มปฏิบัติงานก็มีสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯได้ร้องเรียนต่อจำเลยที่ 1 รัฐบาล และคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนว่า การที่จำเลยที่ 1 ประกาศสิทธิหน้าท่าและจ้างเหมาให้โจทก์ยกตู้สินค้านั้นทำให้ตู้สินค้าแออัดที่หน้าท่า ความสามารถในการยกตู้สินค้าของโจทก์ไม่เพียงพอชมรมเดินเรือต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมความคับคั่งที่ท่าเรือกรุงเทพฯอันจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศชาติ กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือสั่งการให้จำเลยที่ 1 พิจารณาหาทางยกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์ และให้จำเลยที่ 1พิจารณาอนุญาตให้เรือบรรทุกสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงได้ ต่อมาวันที่31 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ประกาศสิทธิการยกตู้สินค้าหน้าท่าอนุญาตให้เรือสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงในบริเวณหน้าท่าเรือกรุงเทพฯ ได้เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 25 ของค่าธรรมเนียมการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าของจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้สิทธิหน้าท่าที่จำเลยที่ 1 ประกาศไว้แต่แรก โดยพื้นฐานของสิทธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทรงเอกสิทธิดังกล่าวย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอ และต้องสันนิษฐานไว้ก่อนตามป.พ.พ.มาตรา 6 ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริต มีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างเช่นนั้น แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า การประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดข้อท้วงติงและร้องเรียนจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะก่อปัญหาให้เกิดผลเสียหายเป็นการล่วงหน้าแล้ว ที่โจทก์อ้างว่าเป็นพฤติการณ์วางแผนต่อต้านเพื่อล้มการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยไม่สุจริต แต่จากเอกสารหมาย ล.60 ซึ่งเป็นหนังสือของบรรดาเจ้าของเรือขออนุญาตจำเลยที่ 2 ใช้ปั้นจั่นของเรือทำการขนถ่ายสินค้าเองรวม105 ฉบับ ด้วยเหตุขัดข้องล่าช้าอันเกิดจากการทำงานของโจทก์ที่สืบเนื่องจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น และยังปรากฏตามเอกสารหมายล.26 ถึง ล.51 อันเป็นใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของโจทก์จากจำเลย และบันทึกรายงานการตรวจการจ้างของบริษัทโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.20ข้อ 16, 17 และ 18 ต้องถูกหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาคือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2531 ตลอดมาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2532 เป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ชัดว่า การประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1และความล่าช้าในการทำงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความแออัดคับคั่งที่หน้าท่าเป็นผลเสียหายดังที่ได้มีการร้องเรียนก่อนหน้านั้นจริง การร้องเรียนต่อต้านล่วงหน้าของบรรดาผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว จึงเป็นการคาดการณ์โดยสุจริตและถูกต้องตามความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องให้แก้ไขซึ่งปรากฏรายละเอียดตามบันทึกรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2531มีการแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผล ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดแก่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทุกแง่มุมโดยละเอียดจากผู้แทนของหน่วยราชการต่าง ๆ ตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ความชัดว่า หากไม่มีการแก้ไขจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวมรุนแรงต่อไปด้วย ดังนี้ การประกาศยกเลิกสิทธิหน้าท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ และอนุญาตให้เรือสินค้าที่มีปั้นจั่นบนเรือยกตู้สินค้าขึ้นลงได้เองนั้น จำเลยที่ 1 ได้กระทำสืบเนื่องจากผลการประชุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการรับฟังพิเคราะห์ความเห็นและเหตุผลของทุกฝ่ายโดยรอบคอบแล้ว เป็นการใช้อำนาจในการบริหารตามเอกสิทธิของตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริงและเหตุผลเพื่อระงับและป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องตลอดจนความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวมโดยสุจริตและเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์มีส่วนก่อขึ้นโดยตรงด้วย จึงหาใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและสร้างบ้านยกเลิก ผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยปลูกสร้างตึกแถวพิพาทในที่ดินโจทก์ทั้งสอง โดยอาศัยข้อสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย กับโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างตึกแถวต่อไปตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายที่ดิน เมื่อโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงยกเลิกสัญญาการสร้างบ้าน และบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 391วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาใช้บังคับ โดยจำเลยต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองต่อไป และโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทอันเป็นการงานที่จำเลยได้กระทำไปให้แก่จำเลย
จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด
จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การยกเลิกสัญญาต้องทำกับคู่สัญญาโดยตรง การโต้แย้งสิทธิของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์ จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2531ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะขายที่ดินให้ผู้อื่นในราคาสูงกว่าโจทก์จึงแจ้งให้จำเลยไปทำการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในวันที่ 10มิถุนายน 2531 แต่จำเลยหลบหน้าไม่ยอมโอนที่ดินให้โจทก์วันที่13 มิถุนายน 2531 โจทก์จึงฟ้องจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรับเงินที่เหลือและโอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยให้การว่า ได้มีการยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายกันแล้ว จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แสดงว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้นแล้ว เงื่อนเวลาจึงไม่เป็นข้อที่จำเลยจะอ้างเป็นประโยชน์ได้อีกต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น แม้มีสัญญายกเลิกทาง แต่ไม่จดทะเบียนเป็นหนังสือ สัญญาไม่มีผลผูกพัน
เดิมที่ดินของโจทก์ เป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีจำเลยเป็นเจ้าของ อยู่ติดถนนสาธารณะ ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลังก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอนจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์ทั้งสองเดินออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ต่อมาจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ปิดกั้นด้านหน้าทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ หากจะออกสู่ทางสาธารณะด้านหลังจะต้องอาศัยทางในที่ดินของผู้อื่น และโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมจึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านดังกล่าวเป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วยปากเปล่าจึงไม่มีผลผูกพัน และเมื่อเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียน โจทก์มีสิทธิเดินผ่านที่ดินของจำเลยได้เมื่อจำเลยปิดทางเดินทำให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้เปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดิน, เงินมัดจำ, การยกเลิกสัญญา, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยานคือเอกสารในคดีอื่นซึ่งโจทก์จำเลยส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับสำนวนคดีนี้ และเมื่อเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล โดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญา ซึ่งต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงินมัดจำคืนดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญาตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล โดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญา ซึ่งต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงินมัดจำคืนดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญาตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างกำหนดผลงานขั้นต่ำ แม้ไม่ทำตามก็ยังต้องจ่ายเงินเดือน หากไม่ได้ยกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างข้อ 5 กำหนดเงินเดือนโจทก์ไว้เป็นจำนวนแน่นอนข้อ 6 กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องทำผลงานขั้นต่ำขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้ได้ 5 เครื่องต่อเดือน และข้อ 9 กำหนดว่าถ้าไม่สามารถทำผลงานได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้างถือเป็นการยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนี้แม้สัญญาข้อ 6 จะมีเงื่อนไขการทำผลงานไว้แต่ก็มิได้กำหนดว่าหากเดือนใดโจทก์ทำไม่ได้ตามเงื่อนไข จำเลยจะไม่จ่ายเงินเดือนสำหรับเดือนนั้นแก่โจทก์ส่วนความในข้อ 9 นั้น มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ฉะนั้นแม้โจทก์ทำผลงานไม่ได้ตามสัญญา จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความและการสิ้นสุดความผูกพันตามสัญญา
โจทก์เช่าสถานที่จากจำเลยโดยจำเลยเรียกเงินกินเปล่าจำนวน 220,000 บาท โจทก์ชำระให้ไปก่อน 110,000 บาท ต่อมาเจ้าของที่ดินที่แท้จริงให้โจทก์ออกจากที่เช่า โจทก์จึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยและไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจกล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงเงินจำนวน 110,000 บาท จำเลยจึงตกลงจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นงวด หากผิดสัญญาจำเลยยินดีให้โจทก์ฟ้องบังคับคดีได้ พนักงานสอบสวนได้ทำบันทึกและให้โจทก์จำเลยลงชื่อไว้ บันทึกนี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในทางแพ่ง ต่อมาถึงวันที่จำเลยต้องชำระเงินงวดแรก โจทก์จำเลยไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจแต่ตกลงกันไม่ได้ โจทก์แจ้งให้ดำเนินคดีกับจำเลยและขอถอนข้อตกลงทั้งหมดโดยพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ส่วนจำเลยก็ขอให้บันทึกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นกันตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า คู่กรณีมีเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชัดแจ้งแล้ว แม้โจทก์จำเลยต่างลงลายมือชื่อเฉพาะในบันทึกของตนแยกจากกันก็ตาม ความผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นอันสิ้นสุดเมื่อคู่กรณีตกลงยกเลิกโดยชัดแจ้ง แม้ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรใหม่
โจทก์เช่าสถานที่จากจำเลยโดยจำเลยเรียกเงินกินเปล่าจำนวน220,000 บาท โจทก์ชำระให้ไปก่อน 110,000 บาท ต่อมาเจ้าของที่ดินที่แท้จริงให้โจทก์ออกจากที่เช่า โจทก์จึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยและไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจกล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงเงินจำนวน 110,000 บาทจำเลยจึงตกลงจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นงวด หากผิดสัญญาจำเลยยินดีให้โจทก์ฟ้องบังคับคดีได้ พนักงานสอบสวนได้ทำบันทึกและให้โจทก์จำเลยลงชื่อไว้ บันทึกนี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในทางแพ่ง ต่อมาถึงวันที่จำเลยต้องชำระเงินงวดแรก โจทก์จำเลยไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจแต่ตกลงกันไม่ได้ โจทก์แจ้งให้ดำเนินคดีกับจำเลยและขอถอนข้อตกลงทั้งหมดโดยพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ส่วนจำเลยก็ขอให้บันทึกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นกันตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า คู่กรณีมีเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชัดแจ้งแล้ว แม้โจทก์จำเลยต่างลงลายมือชื่อเฉพาะในบันทึกของตนแยกจากกันก็ตาม ความผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิเช่าเป็นอันยกเลิกโดยปริยาย เมื่อฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และอีกฝ่ายไม่เรียกร้องสิทธิ
โจทก์ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้จำเลยภายในกำหนดตามบันทึกข้อตกลงการโอนสิทธิการเช่า จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต่อมาบริษัท ช. ตกลงซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวที่โจทก์ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยได้เป็นกรรมสิทธิ์เสียเอง เป็นข้อตกลงที่แสดงว่าฝ่ายจำเลยมิได้ใส่ใจที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่ว่าด้วยการโอนสิทธิการเช่า หรือชำระค่าเสียหาย ส่วนทางโจทก์เมื่อไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าได้และถูกบอกเลิกสัญญาเช่าแล้วก็เงียบหายไป มิได้ติตด่อกับจำเลยอีก พฤติการณ์ที่เป็นดังนี้ ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงการโอนสิทธิการเช่าเป็นอันยกเลิกโดยปริยาย โจทก์จะอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องจำเลยหาได้ไม่