พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436-1439/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิและประโยชน์โดยชอบธรรมเป็นเหตุยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งมีนายโซวิชัยเป็นผู้รับมอบอำนาจได้ร่วมกันนำข้อความไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ว่า มีบริษัทหลายบริษัทได้ผลิตรองเท้ายางปลอมใช้ตราดาวของจำเลย ตรานี้จำเลยได้จดทะเบียนไว้ เมื่อเป็นดังนี้จึงจำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ไปจับผู้ทำการดังกล่าวมาดำเนินคดี แล้วออกชื่อโจทก์ทั้ง 4 (ซึ่งความจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยนำเจ้าพนักงานไปจับมาดำเนินคดีฐานจำหน่ายรองเท้ามีตราดาวปลอมจริง) ทั้งนี้เพื่อให้ข่าวแพร่หลายไป โดยประสงค์เพื่อกันมิให้ผู้อื่นที่จะกระทำการเลียนหรือปลอม มิได้เจตนาอย่างอื่น เช่นนี้ ถือว่า จำเลยเจตนาต่อสู้ป้องกันตนหรือเพื่อป้องกันประโยชน์ของตน แม้ข้อความจะทำให้โจทก์เสียหาย หรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ กรณีก็ต้องตามกฏหมายลักษณะอาญา มาตรา 283(1) จำเลยจึงไม่มีโทษฐานหมิ่นประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท: การกล่าวโดยสุจริตเป็นเหตุยกเว้นความผิด
พระภิกษุเมาสุราไปด่าท้าทายจำเลย ๆ ไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้าน ๆ แนะนำให้ไปแจ้งต่อเจ้าคณะหมวด เพราะผู้ด่าท้าทายเป็นสงฆ์ จำเลยจึงไปร้องต่อเจ้าคณะหมวด ๆ เรียกพระภิกษุนั้นมาแจ้งข้อหาให้ทราบ พระภิกษุปฏิเสธ จำเลยยืนยันต่อหน้าบุคคลหลายคนว่าพระภิกษุนั้นเมาสุราไปด่าท้าทายจริง ๆ จนในที่สุดเจ้าคณะหมวดไกล่เกลี่ยยอมเลิกแล้วแต่กันดังนี้ถือได้ว่าจำเลยกล่าวโดยสุจริตตามกฎหมายลักษณะ อาญามาตรา 283(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-หมิ่นประมาท: การกล่าวอ้างโดยสุจริตต่อเจ้าคณะสงฆ์ ถือเป็นเหตุยกเว้นความผิด
พระภิกษุเมาสุราไปด่าท้าทายจำเลย จำเลยไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านแนะนำให้ไปแจ้งต่อเจ้าคณะหมวดเพราะผู้ด่าท้าทายเป็นสงฆ์ จำเลยจึงไปร้องต่อเจ้าคณะหมวด เจ้าคณะหมวดเรียกพระภิกษุนั้นมาแจ้งข้อหาให้ทราบ พระภิกษุปฏิเสธ จำเลยยืนยันต่อหน้าบุคคลหลายคนว่าพระภิกษุนั้นเมาสุราไปด่าท้าทายจริงๆ จนในที่สุดเจ้าคณะหมวดไกล่เกลี่ยยอมเลิกแล้วต่อกัน ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยกล่าวโดยสุจริตตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 283(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเป็นเหตุยกเว้นความผิดฐานวิวาท การต่อสู้ตอบโต้เพื่อป้องกันตัวไม่ใช่การวิวาท
ฟ้องว่าจำเลยสมัครใจวิวาทกัน แต่ได้ความว่าจำเลยฝ่ายหนึ่งเข้าไปทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ถูกทำร้ายได้ทำการป้องกันโดยต่อยเพียงหนึ่งที และอีกคนหนึ่งใช้ไม้ตีไปหนึ่งที ดังนี้ไม่ใช่สมัครใจวิวาท ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: ความเชื่อในสิทธิของตนเองเป็นเหตุยกเว้นความผิด
แจ้งความว่าเขาเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์โดยมีเหตุทำให้เข้าใจว่าตนมีสิทธิในทรัพย์นั้น ยังไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12557/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การยกเว้นความผิดเนื่องจากกฎหมายใหม่
ความรับผิดในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยโดยรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 ไปตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงราย ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย และคดีในส่วนอาญาสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุด ดังที่ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย ดังนี้ ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมในการหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์
ในระหว่างคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป บัญญัติในมาตรา 3 ว่าให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ย่อมมีผลให้ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ไม่อาจบังคับใช้ได้อีกต่อไป และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดเป็นตัวการในความผิดอันเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์อีก ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเดิมเป็นความผิดเพราะมีฐานะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งบัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
ในระหว่างคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป บัญญัติในมาตรา 3 ว่าให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ย่อมมีผลให้ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ไม่อาจบังคับใช้ได้อีกต่อไป และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดเป็นตัวการในความผิดอันเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์อีก ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเดิมเป็นความผิดเพราะมีฐานะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งบัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง