พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานศึกษาเอกชนที่แสวงหากำไร การประเมินภาษีที่ถูกต้อง
ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน มหาวิทยาลัยโจทก์มีกำไรจากการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2545 ที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการ โจทก์มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นกิจการสาธารณะ ทั้งโจทก์ยังนำเอาอาคารเรียนไปให้บุคคลภายนอกเช่าทำเป็นศูนย์การค้า มีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านแว่นตา ร้านถ่ายรูป ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งเห็นได้ว่าอาคารของโจทก์มิได้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินใช้เกษตรกรรมภายใน 5 ปี: การพิจารณาการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย
โจทก์ขายที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมให้แก่ พ. ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับโอนมาจากบิดาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3 กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มีดังต่อไปนี้...(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เนื้อความในกฎหมายแสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่า การขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากได้ความว่าเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ถือเป็นการขายที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการ แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ขายภายใน 5 ปีหลังได้มา
การขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่าการขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ดังนั้น เมื่อที่ดินแปลงที่โจทก์ขายเป็นที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมซึ่งเป็นที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามความใน (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ ก่อนอายุ 55 ปี และระยะเวลาสมาชิกภาพ
โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 พ้นจากการเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 ขณะที่มีอายุ 56 ปีเศษ มีอายุงาน 18 ปีเศษ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทนายจ้าง จึงถือเป็นการเกษียณอายุตามข้อตกลงแล้ว โจทก์ได้รับเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยชีพ โดยขณะที่เกษียณอายุโจทก์มีอายุครบ 55 ปีขึ้นไป แม้โจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538 และพ้นจากการเป็นพนักงานด้วยการเกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 ซึ่งโจทก์ยังเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ครบ 5 ปี แต่ได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระหว่างวันที่ 13 กันยนยน 2537 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2538 และได้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2543 ซึ่งมีระยะเวลาทำงานกับนายจ้างก่อนเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงเข้าหลักเกณฑ์สามประการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวีธีการสำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 80) ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ ต้องเข้าหลักเกณฑ์อายุและระยะเวลาสมาชิกภาพ
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 52) กำหนดให้เงินได้ที่ลูกจ้างได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเข้าหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ ประการแรก เงินได้นั้นลูกจ้างต้องได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ ประการที่สอง ลูกจ้างมีอายุขณะเกษียณอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ประการที่สาม ลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2537 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2538 และได้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2543 ซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้แก่นายจ้างก่อนเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคู่มือพนักงานซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุเกี่ยวกับการเกษียณอายุของพนักงานไว้ 2 กรณี กรณีแรก พนักงานจะเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กรณีที่สอง บริษัทอาจอนุญาตให้พนักงานเกษียณอายุก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์ได้ โดยมีเงื่อนไข คือ บริษัทกับพนักงานต้องมีข้อตกลงเป็นข้อตกลงเป็นหนังสือ พนักงานที่ขอเกษียณต้องมีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และพนักงานผู้ขอเกษียณอายุต้องมีอายุการทำงานอย่างน้อย 15 ปี เมื่อโจทก์ทำหนังสือขอเกษียณอายุและบริษัทอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนด ถือได้ว่าโจทก์กับบริษัทมีข้อตกลงเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์เข้าทำงานมาแล้วมีอายุการทำงาน 18 ปีเศษ อีกทั้งโจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเข้าหลักเกณฑ์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: ผลของประกาศกระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิต, ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าน้ำผลไม้ขายให้แก่บริษัท ส. และ บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
กิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง สินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่สินค้าของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต เนื่องจากมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 กำหนดไว้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวระบุให้ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตแก่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ (รวมถึงเกรปมัสต์)และน้ำผักที่ไม่ได้หมักและไม่เติมสุราไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน ต่อมามีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษีและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้ที่โจทก์นำออกจากโรง
อุตสาหกรรมก่อนวันที่โจทก์ได้รับการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีได้
กิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง สินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่สินค้าของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต เนื่องจากมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 กำหนดไว้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวระบุให้ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตแก่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ (รวมถึงเกรปมัสต์)และน้ำผักที่ไม่ได้หมักและไม่เติมสุราไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน ต่อมามีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษีและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้ที่โจทก์นำออกจากโรง
อุตสาหกรรมก่อนวันที่โจทก์ได้รับการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: การขายส่งและการได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศ
โจทก์ขายสินค้าน้ำมะพร้าวให้แก่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง ดังนั้นสินค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
สินค้าของโจทก์เป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน การที่ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษี และเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มมีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มที่โจทก์นำออกจากโรงอุตสาหกรรมก่อนวันดังกล่าวได้
สินค้าของโจทก์เป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน การที่ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษี และเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มมีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มที่โจทก์นำออกจากโรงอุตสาหกรรมก่อนวันดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสิทธิยกเว้นภาษี: การโอนทรัพย์สินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
การยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้และสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดตามมาตรา 6 ของพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ นั้น หมายถึง การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าต่ำกว่ายอดหนี้เท่านั้น แต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างโจทก์กับธนาคาร ท. มีแต่ข้อตกลงที่ธนาคารเจ้าหนี้ตกลงปลดหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงินค้างชำระส่วนที่เหลือให้แก่ลูกหนี้ โดยมิได้มีการตกลงให้โจทก์โอนห้องชุดที่จำนองหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่ธนาคาร ดังนั้น เมื่อธนาคารปลดหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับจำนวนเงินที่ค้างชำระและธนาคารปลดหนี้ให้ตามมาตรา 5แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอากรแสตมป์ และภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการโอนขายห้องชุดที่จำนองให้แก่ ก. ตามมาตรา 6 แต่อย่างใด เนื่องจากมิใช่เป็นการโอนให้แก่สถาบันการเงิน ทั้งไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 8 เพราะความในมาตรา 8 หมายถึง การยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินสำหรับเงินที่ได้รับการโอนทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้ซึ่งมิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้เจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ ก. มิใช่เจ้าหนี้ของโจทก์ ฉะนั้นการที่โจทก์โอนขายห้องชุดที่จดทะเบียนจำนองกับธนาคาร ท. ให้แก่ ก. จึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ส่วนพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373)ฯซึ่งให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวนั้น ก็มีผลใช้บังคับสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์โอนไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีอากรหลังเครื่องจักรเสียหายและได้รับการยกเว้นภาษีใหม่ โจทก์มีอำนาจเก็บภาษีจากเดิมได้
จำเลยนำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมมีความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีสำหรับของที่นำเข้าในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่จำเลยอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหากได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรภายใต้เงื่อนไขกฎหมายและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด เมื่อปรากฏว่าจำเลยนำเข้าเครื่องจักรโดยได้รับยกเว้นอากรและภาษีการค้าตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่เครื่องจักรดังกล่าวถูกเพลิงไหม้ขณะอยู่ในอารักขาของโจทก์ที่ 1 และสำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1 แจ้งว่าได้ยกเลิกหนังสือที่อนุมัติให้ยกเว้นอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้แล้ว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าอธิบดีกรมศุลกากรยกเว้นภาษีอากรในส่วนของสินค้าที่ถูกเพลิงไหม้ให้แก่จำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่และความรับผิดที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรจากผู้นำเข้า ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ที่จะยกเว้นภาษีอากรให้แก่ผู้นำเข้าตามเงื่อนไขของกฎหมายและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่จะจัดเก็บภาษีอากรและไม่มีหน้าที่สั่งให้โจทก์ที่ 1 เก็บภาษีอากร การที่สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1ล่วงไปสั่งให้โจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีอากรจากจำเลยย่อมไม่ชอบ ต่อมาสำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1 ว่า "สำนักงานจึงขอยกเลิกการแจ้งให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้ดังกล่าว" จึงเป็นเรื่องสำนักงานส่งเสริมการลงทุนเห็นว่าตัวเองไม่มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจึงทำหนังสือขอยกเลิกเรื่องการแจ้งให้โจทก์ที่ 1 เรียกเก็บภาษีสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้เท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องแจ้งยกเลิกการเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้ดังที่จำเลยเข้าใจไม่
โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรจากผู้นำเข้า ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ที่จะยกเว้นภาษีอากรให้แก่ผู้นำเข้าตามเงื่อนไขของกฎหมายและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่จะจัดเก็บภาษีอากรและไม่มีหน้าที่สั่งให้โจทก์ที่ 1 เก็บภาษีอากร การที่สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1ล่วงไปสั่งให้โจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีอากรจากจำเลยย่อมไม่ชอบ ต่อมาสำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1 ว่า "สำนักงานจึงขอยกเลิกการแจ้งให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้ดังกล่าว" จึงเป็นเรื่องสำนักงานส่งเสริมการลงทุนเห็นว่าตัวเองไม่มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจึงทำหนังสือขอยกเลิกเรื่องการแจ้งให้โจทก์ที่ 1 เรียกเก็บภาษีสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้เท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องแจ้งยกเลิกการเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้ดังที่จำเลยเข้าใจไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับพื้นที่อาคารที่ไม่ได้ใช้ในกิจการ แต่ให้ผู้แทนเฝ้ารักษา
นิติบุคคลโจทก์เป็นเจ้าของอาคาร 4 ชั้น ชั้นล่างบางส่วนเป็นสำนักงานของโจทก์และแบ่งให้เช่า ส่วนชั้น 2 และชั้น 3 โจทก์ให้ ว. กรรมการโจทก์อยู่อาศัยโดยมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม การที่ ว. กรรมการโจทก์อยู่อาศัยแม้จะได้รับความสะดวกจากการอยู่อาศัยติดต่อกับผู้เช่าอาคารชั้นล่าง แต่มิใช่เป็นการอยู่เพื่อดูแลผลประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์โดยแท้ เพราะโจทก์มีสำนักงานอยู่ที่ชั้นล่างบางส่วนอยู่แล้ว โจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับอาคารชั้น 2 และชั้น 3