พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้การยกให้, การหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานบุคคล
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้ ศ. แต่เป็นการขายที่พิพาทให้ ช. โดยให้ ศ. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมอำพรางต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพราง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 155 วรรคสอง นิติกรรมยกให้เป็นการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการยกให้และครอบครองปรปักษ์ โดยมีการโต้แย้งสิทธิเจ้าของตลอดเวลา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยบิดามารดาโจทก์ยกให้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทนั้น เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยชัดแจ้งแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองและการยกให้ก่อนสมรส ไม่เป็นสินสมรส ทำพินัยกรรมยกได้
ท. ครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของ ฮ. จนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วแต่ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมา ท. ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ข. กับ ห. โดย ข. กับ ห. ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของต่อมา ข. กับ ห. จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับการยกให้โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ข. หลังจาก ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ข. ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์ที่ ข. ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์การที่ ข. กับ ห. ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลและได้ทำสัญญาประนีประนอมกับ ฮ. ก็เป็นการกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนและเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันหามีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ ข. จึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินยกให้ก่อนสมรส ไม่ใช่สินสมรส จำเลยสำคัญผิดในนิติกรรม
เมื่อจำเลยและนาง ต.มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินพิพาทที่นาง ต.ได้รับการยกให้จากพี่ชายในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันกับจำเลย จึงบังคับตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ และที่ดินพิพาทดังกล่าวนาง ต.ได้รับการยกให้ฝ่ายเดียว จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันกับจำเลย อันจะแบ่งในฐานะหุ้นส่วนครึ่งหนึ่งดังที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเลยการที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หลังการยกให้และซื้อขายที่ดินโดยไม่จดทะเบียน
เดิมโจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายย.นางว.ต่อมานายย.ตาย เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับยกให้และซื้อที่ดินพิพาทจากนางว.โดยนางว.ทำการส่งมอบการครอบครองด้วยการแสดงเจตนา โจทก์ทั้งสองไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังนางว.การครอบครองของนางว.จึงเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์ทั้งสองไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือแทนนางว.อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1379 และ 1381 เมื่อโจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินต่อมาโดยการทำสวน ทำนา โดยสงบ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยจำเลยก็รู้ว่าโจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดิน จำเลยไม่เคยเข้าไปเก็บมรรคผล เห็นได้ว่าจำเลยยอมรับสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จำเลยไปจดทะเบียนซื้อที่ดินจากนางว. จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามป.พ.พ. มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: ที่ดินรับยกจากบิดาในระหว่างสมรส หากมิได้ระบุเป็นสินสมรส ถือเป็นสินส่วนตัว
จำเลยได้ที่ดินมาโดยบิดาจำเลยยกให้ แม้จะเป็นการยกให้ในระหว่างสมรสแต่เมื่อการยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือระบุว่าให้เป็นสินสมรส ที่ดินจึงตกเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(3) ส่วนที่มาตรา 1474 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสนั้น จะต้องเป็นกรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินเป็นสินส่วนตัวโดยแจ้งชัดปราศจากข้อสงสัยแล้ว จึงไม่อาจนำอ้างมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินที่ได้รับยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรสไม่เป็นสินสมรส
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471 (1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519
การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท
กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่
แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท
กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่
แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินสมรส แม้เป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
แม้จะเป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งผู้ให้ จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 3 ได้รับการยกให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 3 มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้อง เสียเปรียบ เพียงแต่จำเลยที่ 2 ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว ศาลก็เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองหลังการยกให้และเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
ห.คงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้นขณะที่ยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลย เมื่อ ห.ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าครอบครอง ถือได้ว่าสละเจตนาที่จะครอบครองที่ดินดังกล่าว และการยกให้มีผลสมบูรณ์ทันที ไม่ต้องไปจดทะเบียนทำนิติกรรมการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห.แม้ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5747/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากพฤติการณ์จงใจละทิ้งร้างและการแบ่งสินสมรสที่ดินที่ได้รับจากการยกให้
จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำให้จำเลยถูกบัตรสนเท่ห์ จึงทำร้ายโจทก์จนกระดูกซี่โครงร้าว แล้วออกจากบ้านไปอยู่กับภริยาเก่าโดยไม่กลับมาอยู่กับโจทก์อีกเลยแม้ปรากฏว่าจำเลยเคยช่วยออกค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ในบ้านโจทก์โดยฝากบุตรไปให้ แต่เมื่อพบกันก็ไม่พูดกัน ดังนี้ ถือว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ เมื่อเป็นระยะเวลาเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4) ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยมารดายกให้โดยเสน่หาและให้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่อีก 3 คน ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ เมื่อการยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินส่วนของโจทก์จึงตกเป็นสินสมรส แม้ต่อมาได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกไปเป็นส่วนของโจทก์เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ทำให้ที่ดินส่วนของโจทก์หลังแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่