พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่เป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ตกลงว่า จำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และคดีอื่นๆ อีก 7 คดี เป็นต้นเงินรวม 15,677,063.59 บาท โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป หากผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้นอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิ์ในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันที จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การกำจัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การกำจัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความหลังเกิดเหตุทำให้สิทธิฟ้องอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ระงับ
กระจกบานเกล็ดหน้าต่างที่จำเลยทำแตกเสียหายเป็นทรัพย์สินของ อ. เจ้าของหอพัก ซึ่งหลังเกิดเหตุจำเลยได้นำกระจกบานเกล็ดมาเปลี่ยนแทนบานเกล็ดที่แตก โดยความรับรู้ของ ส. สามีของ อ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลหอพัก และจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ส. เป็นเงิน 500 บาท แล้ว แสดงว่า จำเลยกับเจ้าของหอพักซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เสียหายได้ยอมความกันโดยชอบมาแต่แรกหลังเกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จึงระงับไปตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ซึ่งบัญญัติไว้เป็นสาระสำคัญว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชำระหนี้ไม่ใช่การยอมความ ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่จำเลยตกลงยินยอมผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทกับหนี้ในคดีอื่นอีกพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกครบถ้วนโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นทั้งหมด หากจำเลยผิดเงื่อนไขยินยอมให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาต่อไปตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองจะชดใช้เงินของโจทก์ที่ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลง เลิกหรือระงับการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกที่จะชดใช้ค่าเสียหายกันในทางแพ่ง มิใช่เป็นการยอมความอันมีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ต้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คดีจึงยังไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินเพื่อแลกอิสรภาพไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่า ผู้เสียหายได้รับเงินคืนจากจำเลยแล้ว แต่ยังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงยังไม่ระงับ
ฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างผู้เสียหายและจำเลยในคดีฉ้อโกง ทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งระงับ
ผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการโจทก์ที่ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ยอมความได้เฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง แต่ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจำนวน103,478 บาท จากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และการพิจารณาโทษฐานปลอมแปลงเอกสาร
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษา ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6729/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญา: คำมั่นต่อศาล vs. การสนองรับคำเสนอ
การที่จำเลยแถลงต่อศาลในคดีอาญา ขอให้สัญญาแก่ผู้เสียหายว่าจะนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้เสียหายภายใน 3 เดือนโดยขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป และผู้เสียหายก็แถลงรับต่อศาลว่า หากจำเลยสามารถปฏิบัติได้ตามที่ให้สัญญา ผู้เสียหายก็จะถอนคำร้องทุกข์และไม่เรียกร้องหนี้จำนวนใดอีก ดังนี้คำแถลงของผู้เสียหายเป็นเพียงการให้คำมั่นต่อศาลมิได้สนองรับคำเสนอของจำเลยแต่อย่างใดและเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการเลื่อนคดีออกไปตามที่จำเลยแถลง คำแถลงของจำเลยและผู้เสียหายในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย แม้ต่อมาผู้เสียหายจะได้นำเอาข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาไปอ้างในการยื่นฟ้องคดีแพ่งและได้ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องคดีแพ่งไปโดยอ้างเหตุผลว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยในมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับหนี้ตามเช็คในคดีนี้เพื่อแสดงว่าสิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายยังไม่ขาดอายุความก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยย่อมฟังได้แต่เพียงว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแพ่งเท่านั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงยังหาได้ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. จัดหางานผิดกฎหมาย: การยอมความเฉพาะความผิดส่วนตัว
ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว และความผิดฐานดังกล่าวซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง